จะรู้ได้อย่างไร?… ว่าเป็นไทรอยด์

  • ไม่มีอาการ แต่ตรวจพบโดยแพทย์ หรือพบโดยบังเอิญด้วยการทำอัลตราซาวด์, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือ MRI
  • มีอาการคอโต โดยเพื่อนหรือญาติทักหรือคลำก้อนได้เอง
  • ก้อนโต กดเบียดกล่องเสียง หลอดลม หรือ หลอดอาหารทำให้มีอาการ เสียงแหบ จุกแน่นคอ กลืนลำบาก

ก้อนไทรอยด์ ใช่มะเร็งหรือไม่ ?
การจะแยกว่าก้อนไทรอยด์เป็นมะเร็งหรือไม่ มีความสำคัญมาก โดยสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานและการอักเสบของต่อมไทรอยด์
2. อัลตราซาวด์ต่อมไทรอยด์และคอ เพื่อดูว่ามีลักษณะของก้อนที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือมีต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วยหรือไม่
3. เจาะชิ้นเนื้อจากก้อนที่โตส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อดูลักษณะของเซลล์โดยใช้เข็มขนาดเล็ก

ไทรอยด์ รักษาอย่างไร?
1. รักษาด้วยยา ถ้าก้อนเนื้อมีขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร สามารถใช้ยารักษาเพื่อกดขนาดก้อนดูก่อนได้และดูการตอบสนองในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีข้อบ่งห้ามในการใช้ยา หากไม่ตอบสนองต่อยา อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออก​
2. รักษาด้วยการผ่าตัด ถ้าก้อนมีขนาดมากกว่า หรือเท่ากับ 3 เซนติเมตร มักจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและมักจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด


** กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการจุกคอ เสียงแหบ กลืนลำบาก เนื่องจากการกดเบียดของก้อนไทรอยด์ ต้องพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อนำต่อมไทรอยด์ออกไม่ว่าก้อนไทรอยด์จะมีขนาดเท่าใดก็ตาม

การผ่าตัดในปัจจุบันมีหลายวิธี การผ่าตัดที่น่าจะตอบโจทย์ผู้ป่วยมากที่สุด ทั้งในแง่ของความสวยงาม ควาปลอดภัย ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูง นั้นก็คือ “การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง ซ่อนแผล” ซึ่งตำแหน่งของแผล อาจจะหลบอยู่ บริเวณหลังหูและซ่อนเข้าไปในไรผม เหมือนการผ่าตัดดึงหน้า หรือการผ่าตัดผ่านทางช่องปาก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่มีแผลที่คอ สามารถสวมใส่เสื้อผ้าทุกประเภทได้ด้วยความมั่นใจ

อย่างไรก็ตามการผ่าตัดไทรอยด์ด้วยวิธีส่องกล้องนี้จำเป็นต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและพิจารณาผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อประเมินลักษณะขนาดและตำแหน่งของก้อนว่าเหมาะสำหรับการรักษาด้วยวิธีส่องกล้องนี้หรือไม่…

“ส่องกล้องผ่าตัดไทรอยด์ ไร้รอยแผลเป็น” http://bit.ly/2Kj4OQN
สายด่วนสุขภาพโทร 0-2743-9999 ต่อ 2999

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน