สาเหตุของการเป็นอัมพาตจากโรคหัวใจ
โรคหัวใจที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดสมองได้คือ โรคหัวใจเต้นผิดปกติชนิดที่เรียกว่า หัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า AF (Atrial Fibrillation) ขณะที่เป็น AF หัวใจห้องบนจะเต้นเร็วมากกว่า 350 ครั้งต่อนาที การที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วขนาดนี้ การบีบตัวจึงไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีเลือดตกค้างอยู่ในหัวใจห้องบน โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นถุงยื่นออกไปจากหัวใจห้องบนซ้าย ทางการแพทย์เรียกถุงนี้ว่า Left Atrial Appendage

Left Atrial Appendage หรือรยางค์หัวใจ จะเป็นบริเวณที่พักของเลือดทำให้เลือดตกตะกอนแล้วเกิดเป็นลิ่มเลือดเล็กๆ ขนาดต่างๆ ขึ้น ลิ่มเลือดเหล่านี้อาจหลุดออกจากรยางค์ไหลไปตามกระแสเลือดขึ้นไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ที่เราเรียกว่า “Stroke” ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลัน แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด

การป้องกันอัมพาตจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF)
การใช้ยา
การทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งจำเป็นต้องทานไปตลอดชีวิต เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในรยางค์หัวใจห้องบนซ้าย แต่ข้อควรระวังคือ อาจทำให้เลือดหยุดยากหรือมีเลือดออกในบริเวณต่างๆ ได้ง่าย ทำให้ต้องดูแลตัวเองตลอดเวลา
เพื่อไม่ให้ปริมาณยาที่ได้รับมากหรือน้อยเกินไป อาหารหรือยาบางตัวมีผลเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพของยาได้ ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ทุกๆ 1-2 เดือน เพื่อตรวจสอบผลของยาในเลือดว่ามากหรือน้อยเกินไป

การใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ
แพทย์จะใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจคล้ายร่มผ่านทางหลอดเลือดดำที่ขา ลักษณะคล้ายการสวนหัวใจ เข้าไปปิดถุงหัวใจห้องบนซ้าย ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดลิ่มเลือด ทำให้ไม่เกิดลิ่มเลือดในหัวใจอีกต่อไปใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ก็เสร็จเรียบร้อย วันรุ่งขึ้นสามารถกลับบ้านได้

ทั้งนี้การป้องกันด้วยการใส่อุปกรณ์ปิดรยางค์หัวใจ พบว่า 95% ของผู้ป่วย ไม่ต้องทานยาต้านการแข็งตัวของหลอดเลือดอีกเลยไปตลอดชีวิต…

อัมพาตจาก AF ป้องกันได้ ด้วยการหมั่นตรวจชีพจรด้วยตัวเอง http://bit.ly/2z7jLh4

แผนกโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรงพยาบาลรามคำแหง
สายด่วนสุขภาพโทร 0 2743 9999 ต่อ 2999

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน