ปี 2020 ถือเป็นปีที่มีความท้าทายในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อหลายธุรกิจทั่วโลก อย่างไรก็ดีหลายตระกูลมหาเศรษฐีทั่วโลก ต้องมีการปรับตัวกับสถานการณ์ ที่กระทบการลงทุนใหม่ กระทบต่อธุรกิจในปัจจุบัน และที่สำคัญกระทบต่อพนักงานในองค์กร ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย บริษัทที่ติดอันดับดีที่สุดจากการจัดอันดับโดย บลูมเบิร์ก ซึ่งเปิดเผยผลจัดอันดับคนรวย โดยในปีนี้ “วอร์ตัน” เจ้าของกิจการวอร์มาร์ท (Walmart) ยังครองแชมป์มหาเศรษฐีโลกมีทรัพย์สิน 215 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6,880,000 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่า เป็นตระกูลที่บริหารธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดที่มีสาขากว่า 11,000 สาขาทั่วโลก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานการจัดอันดับมหาเศรษฐีโลก เดือนสิงหาคม ปี 2563 โดยบลูมเบิร์ก ระบุว่า อันดับที่ 21 เป็นของตระกูลเจียรวนนท์ มีทรัพย์สินมูลค่ารวม 30.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 982,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นในประเทศไทยและได้ขยายการลงทุนไปกว่า 22 ประเทศทั่วโลก โดยล่าสุด ได้ขยายธุรกิจฟาร์มกุ้งไปในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีธุรกิจด้านอาหารทั้งในอเมริกาและยุโรป ทำให้รักษาการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เครือซีพี ได้มีธุรกิจที่หลากหลาย อาทิเช่น เกษตร อาหาร ค้าปลีก สื่อสาร และธุรกิจอื่นๆ ในหลายประเทศ โดยมีการนำธงชาติไทยไปติดในทุกสำนักงานที่ไปลงทุน นอกจากนี้ ในปี 2020 เครือซีพีได้ประกาศนโยบายความยั่งยืนสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ และการบริหารจัดการของเสียเป็นศูนย์ ซึ่งถือว่า เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ

ทั้งนี้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้บริจาคเงินช่วยเหลือสังคมในประเทศไทย รวมยอดกว่า 700 ล้านบาท เงินลงทุนดังกล่าว แบ่งเป็น สร้างโรงงานหน้ากากอนามัยฟรี 100 ล้านบาท พร้อมเพิ่มงบผลิตหน้ากากอีก 75 ล้านบาท บริจาคอุปกรณ์การแพทย์ 30 ล้านบาท, โครงการมอบอาหารต้านภัยโควิด-19 ให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ถูกกักตัว 200 ล้านบาท, มอบ 77 ล้านบาท ให้กับ 77 โรงพยาบาล และโครงการอื่นๆ 176.60 ล้านบาท, แจกอุปกรณ์สื่อสารให้กับโรงพยาบาล ทั้งดาต้า หุ่นยนต์ ซิมและอินเทอร์เน็ต 12 ล้านบาท รวมถึงมีการประกาศนโยบายไม่เลิกจ้างพนักงาน ซึ่งปัจจุบันเครือซีพีมีพนักงานกว่า 400,000 คนทั่วโลก ซึ่งได้ทำการส่งออกสินค้าไปยังกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน