พระนอนวัดจักรสีห์ วรวิหาร จ.สิงห์บุรี : คติ สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม โดย…ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

พระนอนวัดจักรสีห์ วรวิหาร จ.สิงห์บุรีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ ยาวประมาณ 47 เมตร
หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือเป็นพระพุทธรูปที่เรียกว่า พระนอน
(ตามปกติ) ของพระพุทธเจ้า ที่ประดับอยู่ในคันธกุฏิ เพื่อแสดงธรรมต่อเทพบุตรมารตนหนึ่งที่หลงตนว่าเป็นผู้มีร่างกายสูงใหญ่กว่า ผู้ใดนั้น เป็นความเข้าใจในระดับมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดสำคัญตนผิดเป็นทุกข์ เรียกในทางธรรมก็คือ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ เพราะไปยึดมั่นถือมั่นในความสำคัญของตัวตน

อีกมุมมองทางอำนาจเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของการสถาปนาพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่น่าจะพิจารณาก็คือ บริเวณที่ลุ่มภาคกลางอันอุดมสมบูรณ์ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย มีเมืองสำคัญที่น่าสนใจอยู่หลายเมือง ปรากฏชื่อเมืองมาแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน
เช่น เมืองสุพรรณบุรี สพงครองพลับ แพรกศรีราชา นครพนม แต่กลับไม่ปรากฏเรื่องราวที่เป็นบันทึก
ทางประวัติศาสตร์หรือพงศาวดารที่ เกี่ยวกับการบริหารจัดการบ้านเมืองมีเพียง 2 เมืองที่กล่าว ขานถึง

พระนอนวัดจักรสีห์ วรวิหาร จ.สิงห์บุรี

เมืองสุพรรณบุรีที่ปรากฏเรื่องใน ประวัติศาสตร์ ว่าสมเด็จพระอินทราชา กษัตริย์องค์ที่ 6 ของกรุงศรีอยุธยา ให้บุตรชายคนโตคือ เจ้าอ้ายพระยาไปปกครองเมืองแพรกศรีราชา (เมืองสรรคบุรีหรือเมืองชัยนาท) ให้เจ้ายี่พระยาไปปกครอง

ข้อสำคัญก็คือ โบราณสถานที่ปรากฏในเขตบริเวณที่มีขนาดและรูปแบบอันสำคัญและใหญ่โต ไม่ว่าวัดมหาธาตุของเมืองสวรรค์บุรี เมืองสุพรรณบุรี เมืองสิงห์บุรีที่มีทั้งวัดหน้าพระธาตุ และพระปรางค์พร้อมเตาเผา เครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ อันแสดงถึงพลังทางเศรษฐกิจที่สูงของเมืองเหล่านี้ และที่ชัดเจนก็คือ

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่เรียกกันว่า พระนอนจักรสีห์ที่เชื่อกันว่ามีมาแต่สมัยสุโขทัยนั้นมีขนาดใหญ่โต
ที่ผู้สร้างต้องเป็นผู้มีอำนาจทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด แต่มีตำนานเล่าขานคาบเกี่ยวไปถึงเรื่องของลูกผู้ฆ่าพ่อที่เป็นสิงห์ คล้ายกับตำนานเรื่องสิงห์ของพม่ากับวัดทางเหนือของไทย

เรื่องของลูกฆ่าพ่อซึ่งเป็นสิงห์ถึงเป็นความเชื่อที่เก่ากว่านั้นในเรื่องของการนับถือ

พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะมีการเสื่อมสลายลง เป็นกองอัฐิ (น่าจะคล้ายกับอาคารที่เรียกว่าคลังในในเมืองศรีเทพ) แต่ไม่ทราบใครบูรณะกลับมา นอกจากตำนานที่พาดพิงไปถึงพระนอนขุน อินทประมูล การบูรณะครั้งนั้นน่าจะอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลายคือ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงไปประทับแรม ณ ที่นั่น
1 คืน

คงเป็นพิธีสมโภชการบูรณะแล้วเสร็จและมีการบูรณะครั้งสำคัญอีกครั้งในรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่คงความงดงามมาจนถึงปัจจุบัน

คลิกอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน