แม่น้ำยมล้นตลิ่งยังคงเพิ่มระดับต่อเนื่อง เริ่มไหลบ่าท่วมเต็มท้องทุ่ง ชาวบ้านในเขตอ.บางระกำ จ.พิษณุโลก นำลอบแดงอุปกรณ์หลักในการปลาปลาฤดูน้ำหลาก วางดักตามนาทางน้ำไหลได้ปลากระดี่ ปลาซิว ปลาสร้อย นำมาทำปลาร้า ปลาย่าง ขายเป็นรายได้เสริม หลังจากปี 2557-2558 ประสบภัยแล้งไม่มีน้ำท่วมทุ่ง

201609231530328-20041022171637

เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งกำลังประสบปัญหาน้ำจากแม่น้ำยมที่ไหลผ่านอ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย เพิ่มระดับไหลล้นตลิ่ง และไหลข้ามทุ่ง มาท่วมพื้นที่เขต ต.คุยม่วง ต.ชุมแสงสงคราม ต.ท่านางงาม อย่างต่อเนื่องโดยได้น้ำท่วมทุ่งวงกว้าง สร้างความเสียหายให้กับนาข้าวของชาวนาอย่างมากในขณะนี้ เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 2559 อ.บางระกำ ประสบปัญหาภัยแล้ง จึงทำให้ปลูกข้าวนาปรังรอบที่สองได้ล่าช้า จากปกติจะลงมือปลูกในเดือนเมษายน เพื่อเก็บเกี่ยวในกรกฎาคมของทุกปี ก่อนที่น้ำจะไหลท่วม แต่ปีนี้ขาดน้ำทำนา จึงเริ่มปลูกได้ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ส่งผลให้ขณะนี้ มีนาข้าวอายุ 2-3 เดือนใน อ.บางระกำ ถูกน้ำท่วมเสียหายแล้ว 10,000 กว่าไร่

201609231530326-20041022171637

ชาวบ้านในพื้นที่ อ.บางระกำ เตรียมอุปกรณ์หาปลา เพื่อหาปลามาเป็นรายได้เสริม โดยเฉพาะลอบแดงเป็นอุปกรณ์หลัก ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้หาปลาในฤดูน้ำหลากในพื้นที่น้ำท่วมเขต ต.ชุมแสงสงคราม ต.คุยม่วง และต.ท่านางงามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะริมแม่น้ำยม ริมคลองบางแก้ว จะพบเห็นลอบแดงตั้งเรียงรายอยู่เต็มไปหมด

201609231530322-20041022171637

นายวิรัตน์ พุทธโกษา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 บ้านชุมแสงสงคราม เปิดเผยว่า ลอบแดงเป็นอุปกรณ์หาปลาหลักของชาวบ้านในเขตอ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ที่ใช้ในการหาปลาในฤดูน้ำหลาก แทบทุกครัวเรือนจะออกหาปลาเป็นรายได้เสริมจากการทำนา โดยจะนำลอบแดงไปดักปลาตามทางน้ำไหลในช่วงเย็น เช้าก็พายเรือออกไปเก็บปลาและตั้งดักปลาในจุดเดิม ส่วนใหญ่ได้ปลาขนาดเล็ก เช่น ปลากระดี่ ปลาซิว ปลาสร้อย นำมาทำปลาร้า ปลาย่าง หรือ ขายสดๆ ให้กับแม่ค้าที่มารับซื้อถึงที่

201609231530323-20041022171637

สำหรับปีนี้น้ำจากแม่น้ำยมไหลท่วมทุ่ง สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่นาข้าวของเกษตรกรใน อ.บางระกำจำนวนมาก เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี ประสบปัญหาภัยแล้ง ไม่สามารถทำนาตามวงรอบในเดือนเมษายนได้ กว่าจะเริ่มลงมือปลูก ต้องรอน้ำและน้ำจากน้ำฝน ทำให้ปลูกล่าช้ากว่ากำหนด ข้าวในทุ่งขณะนี้อายุ 2-3 เดือน เฉพาะใน ม.2 มีพื้นที่ปลูกข้าว 4,500 ไร่ เสียหายโดยสิ้นเชิงแล้ว 500 ไร่ และเกี่ยวข้าวก่อนกำหนดไปแล้ว 2,000 ไร่ ที่เหลือยังคงลุ้นอยู่ว่าจะสู้กับระดับน้ำได้หรือไม่

201609231530329-20041022171637

นายวิรัตน์ กล่าวต่อว่า ปี 2557-2558 ที่ผ่านมา อ.บางระกำมีน้ำน้อยมาก ไม่มีน้ำไหลบ่าเต็มท้องทุ่งเหมือนฤดูฝนปกติ ส่งผลกระทบกับจำนวนปลาในธรรมชาติที่มีน้อยตามไปด้วย ในปีนี้น้ำเพิ่งเริ่มมา ชาวบ้านเริ่มนำลอบแดงไปตั้งดักปลา ยังไม่ทราบว่าจะได้มากหรือน้อย แต่ตนได้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ประสงที่มาสำรวจในพื้นที่แล้ว อยากให้นำพันธุ์ปลาต่างๆ มาปล่อยในช่วงที่น้ำกำลังท่วมอยู่นี้ เพื่อให้ปลาได้แพร่พันธุ์และขยายพันธุ์ต่อไปในฤดูน้ำหลากปีหน้า

สำหรับลอบแดงอุปกรณ์หลักในการหาปลาของชาวบ้านลุ่มน้ำยมนั้น ประด้วยตัวโครงที่เป็นเหล็กและไม้ไม้ไผ่ สานต่อกันเป็นรูปทรงกรวยตั้ง ความสูงประมาณ 190 เซนติเมตร จะนำไปตั้งดักตามทางน้ำไหล จะมีช่องให้ปลาไหลเข้าไปบริเวณด้านกลางของลอบ เมื่อเข้าไปแล้วจะออกไม่ได้ เมื่อถึงเวลากู้ปลา ก็จะจับยกขึ้นมา มีช่องเทปลาออกจากด้านบน และตั้งดักไว้ตามเดิม โดยมีเสาไม้ค้ำไว้ไม่ให้ไหลไปตามกระแสน้ำ ส่วนที่มาของชื่อนั้น มาจากตาข่าย ที่นิยมใช้สีแดงในการถัก ลอบแดงแต่ละตัวมีอายุใช้งานประมาณ 3-4 ปี ถ้าเก็บไว้ในร่มไม่โดนแดด โดนส่วนใหญ่ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนจะทำกันเอง มีบ้างที่ซื้อต่อจากผู้อื่น สนนราคาตัวละประมาณ 200 บาท

บางระกำ, พิษณุโลก, ดักปลา, ลอบแดง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน