คพ.เก็บตัวอย่างน้ำหาสารโลหะหนัก เหตุระเบิดท่าเรือแหลมฉบัง

วันที่ 27 พ.ค. กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) โดยศูนย์ควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง(ศคพ.รย.) และศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลตะวันออก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดย ศคพ.รย. ตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้นและเก็บตัวอย่างน้ำทะเล หลังเกิดเหตุเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ ระเบิดอย่างรุนแรง ที่ท่าเรือแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

จุดที่ 1 บริเวณหัวเรือ ค่าอุณหภูมิ เท่ากับ 32.35 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) เท่ากับ 8.19 ค่าออกซิเจนในน้ำ (DO) เท่ากับ 6.20 มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/l) ค่าการนำไฟฟ้า เท่ากับ 56,714 ไมโครซีเมนต์ต่อเซ็นติเมตร(?S/cm) ค่าความเค็ม เท่ากับ 32.32 ส่วนในพันส่วน (ppt) และค่าของแข็งละลายน้ำ (TDS) เท่ากับ 32,330 มิลลิกรัมต่อลิตร(mg/l) ทุกพารามิเตอร์ได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 5 คือเพื่อการอุตสาหกรรม และท่าเรือ

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อน

จุดที่ 2 บริเวณท้ายเรือ ค่าอุณหภูมิ เท่ากับ 31.76 องศาเซลเซียส ค่า pH เท่ากับ 7.91 ค่า DO เท่ากับ 3.32 mg/l ค่าการนำไฟฟ้า เท่ากับ 56,573 ?S/cm ค่าความเค็ม เท่ากับ 32.61 ppt และ TDS เท่ากับ 32,570 mg/l มีเพียงค่าออกซิเจนในน้ำที่ไม่ได้ตามมาตรฐาน(มาตรฐานน้ำทะเลประเภทที่ 5 กำหนดไม่น้อยกว่า 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร

ทั้งนี้ ได้เก็บตัวอย่างน้ำทะเลทั้ง 2 จุด ส่งให้ห้องปฏิบัติการกรมควบคุมมลพิษทำการวิเคราะห์สารโลหะหนักด้วยแล้ว

ทั้งนี้ ศคพ.รย. และกรมควบคุมโรค ตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณท่าเรือติดกับจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งขณะตรวจสอบเหตุเพลิงไหม้ได้สงบลงแล้ว ตรวจพบสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ปริมาณเล็กน้อย มีค่าอยู่ในช่วง 0.01-0.05 ppm (ค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลันระดับ 1 กำหนดไม่เกิน 0.9 ppm) ส่วนสารสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Total VOCs)และก๊าซคลอรีน Cl2 ตรวจไม่พบ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน