สพฐ. เผย 61 ร.ร.เสี่ยงดินถล่ม จับมือ ม.เกษตรฯ วางมาตรการป้องกัน เปิดรายชื่อ มีที่ไหนบ้าง!

วันที่ 25 ก.ย. นายพีระ รัตนวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้รายงานข้อมูลการป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ซึ่งที่ผ่านมาโรงเรียนของสพฐ. ตั้งรับมาตลอด ดังนั้นจึงได้ประสานกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาปฐพีและฐานราก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) นำจุดที่ตั้งของโรงเรียนไปเทียบกับพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติ

พบว่า ที่ตั้งของโรงเรียนบางพื้นที่อยู่ในจุดเสี่ยงมาก มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว ดินสไลด์ น้ำท่วม โดยทางมก. ได้วิเคราะห์ และส่งรายชื่อโรงเรียนที่เสี่ยงจะเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ มาให้สพฐ. แล้ว จำนวน 61 โรงเรียน แบ่งเป็น พื้นที่ที่เสี่ยงจะเกิดดินถล่มระดับสูงมาก 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านทรัพย์เจริญ โรงเรียนบ้านปากแดง โรงเรียนบ้านกลาง จ.เลย โรงเรียนบ้านนางิ้ว โรงเรียนบ้านคงทิพย์ จ.หนองคาย และโรงเรียนบ้านเสาหงส์ จ.กาญจนบุรี

ระดับความเสี่ยงสูง 10 โรงเรียน คือ โรงเรียนธารโตวิฑฒนวิทย์ โรงเรียนบ้านปะเดิ่ง จ.ยะลา โรงเรียนบ้านโกรกช้างน้อย จ.นครราชสีมา โรงเรียนบ้านหนองจิก จ.บึงกาฬ โรงเรียนบ้านโบนา จ.เชียงใหม่ โรงเรียนบ้านทับใหม่ โรงเรียนน้ำพร้าสามัคคี จ.อุตรดิตถ์ โรงเรียนปางยาง โรงเรียนสกาดพัฒนา จ.น่าน โรงเรียนบ้านห้วยนกกสาขาบ้านจ่อดิ จ.ตาก

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

นายพีระ กล่าวต่อว่า เสี่ยงดินถล่มระดับปานกลาง 15 โรงเรียน คือ โรงเรียนเต่าดอยวิทยาคม โรงเรียนเกาะหลวง โรงเรียนบ้านห่างหลวง จ.เชียงใหม่ โรงเรียนวัดหนองผักชี จ.สระบุรี โรงเรียนบ้านปวนพุ จ.เลย โรงเรียนบ้านสะเนียน โรงเรียนบ้านผาเวียง โรงเรียนบ้านปางแก โรงเรียนบ้านกวด จ.น่าน โรงเรียนบ้านนาปู่ป้อม โรงเรียนบ.แม่จ๊าง ส.บ้านดงหลวง-ดงน้อย

โรงเรียนบ้านห้วยไก่ป่า โรงเรียนบ้านแม่ออก โรงเรียนบ้านอุมโละเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน และโรงเรียนบ้านคลองมดแดง สาขาป่าคา จ.กำแพงเพชร ส่วนที่เหลือเป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่ำถึงต่ำมาก ซึ่งจากนี้ทางทางคณะวิศวกรรมปฐพีและฐานราก จะเข้าไปหาวิธีป้องกัน

การทำงานของสพฐ. ต่อไปจะเป็นเชิงลึก หามาตรการป้องกัน ไม่ใช่ตั้งรับเหมือนที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ยังขอให้เร่งทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงจะเกิดอุทกภัย เพื่อหามาตรการป้องกันในเชิงรุกมากขึ้นด้วย ถือเป็นมิติใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาช่วย

ในการศึกษาพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติธรรมชาติในโรงเรียน ซึ่งต่อไปโรงเรียนสังกัดอื่น ทั้ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) และสังกัดอื่นๆ ก็สามารถมาดูข้อมูลและวิเคราะห์ เพื่อวางมาตรการป้องกันได้”นายพีระกล่าว

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน