ชาวนาในตำบลเหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์อ่วม หลังแม่น้ำปาวและแม่น้ำชีหนุนสูงเอ่อเข้าท่วมนาข้าวของเกษตรกรนานจมน้ำกว่า 2 สัปดาห์เสียหายกว่า 443 ไร่ ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทำการสำรวจ พร้อมเยียวยาและวางแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาว

201610041125193-20041022161358

เมื่อวันที่ 4 ต.ค. นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยนางปนัดดา ภู่เจริญศิลป์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและเยี่ยมเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน จากผลกระทบแม่น้ำปาวและแม่น้ำชีหนุนสูง ส่งผลให้ปริมาณน้ำเอ่อเข้าท่วมนาข้าวที่กำลังงอกงามและกำลังตั้งท้อง ของเกษตรกรในพื้นที่บ้านด้านใต้ ตำบลเหล้าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีนายสัมฤทธิ์ กิตติโชติ สุขสงค์ นายอำเภอร่องคำ พร้อมด้วยผู้นำท้องถิ่นรายงานสถานการณ์

201610041125196-20041022161358

โดยจากจากตรวจสอบพบว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ และได้รับน้ำจากพื้นที่ต่างๆทั้งในอำเภอกมลาไสย และอำเภอร่องคำ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ติดกับแม่น้ำชี และแม่น้ำปาว ซึ่งปัจจุบันพบว่าต้นข้าวที่กำลังงอกงามและกำลังตั้งท้องออกรวงของเกษตรกรในบ้านด่านใต้ ได้ถูกน้ำเอ่อเข้าท่วมจำนวนกว่า 443 ไร่ มีเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจำนวนกว่า 59 ราย สาเหตุมาฝนตกหนักในพื้นที่และปริมาณน้ำแม่น้ำชีและแม่น้ำปาวหนุนสูงเอ่อเข้าท่วมนาข้าวของเกษตรกรมาตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวลานากว่า 2 สัปดาห์ และคาดว่านาข้าวทั้งที่ถูกน้ำท่วมจะเสียหายทั้งหมด โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือ และหาแนวทางมาตรการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ต่อไป

201610041125195-20041022161358

นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก เนื่องจากเพื่อเป็นพื้นที่ราบลุ่มและรับน้ำจากพื้นที่ต่างๆ และประกอบกับอยู่ใกล้กับแม่น้ำปาวและแม่น้ำชี ซึ่งขณะนี้ปริมาณน้ำของแม่น้ำทั้ง 2 สายกำลังหนุนสูง จึงทำให้น้ำเอ่อเข้าท่วมนาข้าวของเกษตรกรมานานกว่า 2 สัปดาห์แล้ว และคาดว่านาข้าวน่าจะเสียหายทั้งหมด

ดังนั้น จึงกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งทำการสำรวจพื้นที่รับความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือและกำชับให้ทางอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันวางแผนในการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยการเพิ่มความสูงของถนนหรือพนังกั้นน้ำ ซึ่งจะต้องให้ประชาชาเข้มามีส่วนร่วม เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน