ชาวบางกลอย รับข้าว 7 ตัน จากกะเหรี่ยงต้นน้ำปิง พ้อวิกฤตหนักไร้ที่ทำกิน

วันที่ 1 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงารนว่า รถบรรทุกข้าวจำนวน 7 ตัน จากชาวบ้านกะเหรี่ยงต้นแม่น้ำปิงใน 3 จังหวัดภาคเหนือ คือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก ได้เดินทางมาถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพื่อส่งมอบข้าวให้กับชาวบ้านกะเหรี่ยงต้นน้ำเพชรบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี โดยมีชาวบ้านบางกอย ประมาณ 40 คน มา รอรับ

ทั้งนี้การขนข้าวได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย อาทิ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มูลนิธิชุมชนไทย มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) โดยได้รับการอนุเคราะห์การขนส่งจากกองทุนวิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย

นางแก้ว กวาบุ๊ อายุ 50 ปี ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง เกิดที่บางกลอยบน กล่าวว่ารู้สึกขอบคุณที่ส่งข้าวมาให้ ส่วนตัวเวลานี้ลำบากมาก จะออกมาข้างนอกก็ทำงานรับจ้างไม่ได้ พูดภาษาไทยไม่ได้คล่อง วิถีชีวิตจริงๆ ก็ทำไร่ แต่เวลานี้ไม่มีพื้นที่ปลูกข้าว จะซื้อข้าวกินก็ไม่มีเงิน บางครั้งต้องไปติดหนี้ร้านค้า

ตนมีลูก 10 คน ไม่มีที่ทำไร่ บางทีก็มีงานรับจ้างในหมู่บ้าน เช่น สร้างบ้าน ทอผ้าขายก็พอได้นิดหน่อย ศูนย์ที่มาให้ทอผ้า ก็ใช้เวลา 2-3 เดือนถึงจะได้เงิน ค่าจ้างวันละ 140 บาท หยุดวันอาทิตย์ มีลูกชายทำงานเป็น รปภ ที่กทม. แต่ตอนนี้ก็ต้องตกงาน กลับมาอยู่ที่บ้านไม่มีรายได้เนื่องจากโควิด19

จริงๆ แล้วพี่น้องทางภาคเหนือส่งข้าวมาช่วยในครั้งนี้ ก็ไม่รู้จะตอบแทนยังไง มองไปไกลๆ อยากจะกลับไปทำไร่ข้างบน แต่เขาไม่ให้ไป ก็ต้องอยู่กันแบบนี้ หากทำได้ก็อยากกลับไปที่บ้านบางกลอยบน ถ้ากลับไม่ได้จริงๆ ก็อยากได้ที่ทำกิน ปัจจุบันนี้ไม่มีที่ทำกิน นางแก้ว กล่าว

นางแก้ว กล่าวอีกว่า อยากกลับไปอยู่ที่บ้านเดิมที่ต้นแม่น้ำเพชรมากที่สุด แต่กลับไปไม่ได้ หากสามารถทำไร่เองได้ พี่น้องทางภาคเหนือคงไม่ต้องลำบากส่งข้าวมาให้ หากได้กลับไปที่บ้านเดิมที่ต้นน้ำเพชรก็คงอยู่กันดี ไม่ต้องเดือดร้อนใคร

ตนเองรู้สึกเกรงใจที่พี่น้องต้อมาช่วย แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ขนาดจะไปถางไร่ใกล้ๆ หมู่บ้านก็ยังถางไม่ได้ เขาไม่ให้ทำ ที่บ้านก็ต้องอาศัยคนอื่น เพราะจัดสรรมาแล้วรอบเดียว ก็ต้องขอญาติพี่น้องอยู่

ด้าน นายปรุ จิบ้ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบางกลอย กล่าวว่า ขณะนี้หมู่บ้านบางกลอยมีลูกหลานที่ไปทำงานที่อื่นกลับมาอยู่นับสิบคนเพราะตกงาน ทำให้ในหมู่บ้านมีประชากรกว่า 700 คน โดยคนที่กลับมาตอนนี้ก็ไม่ได้ทำอะไร

แต่ที่น่ากังวลคือชาวบ้านกำลังจากขาดข้าวเพราะเมื่อก่อนยังมีรายได้ส่งมาจากลูกหลานให้ซื้อข้าว แต่เมื่อตกงานเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ทำให้หวั่นเกรงว่าเมื่อเงินเก็บหมดแล้ว จะไม่มีเงินซื้อข้าวกิน

ตอนนี้เหลือเงินกันคนละไม่มาก บางคนเหลือใช้กินข้าวอีกแค่เดือนเดียว ที่สำคัญคือเราไม่มีพื้นที่ปลูกข้าวเลยทั้งๆ ที่ทุกบ้านต่างปลูกข้าวเป็น

พวกเราอยากปลูกข้าวเพราะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ถ้าเราปลูกข้าวอย่างไรเราก็มีกิน แต่การออกไปรับจ้างมันไม่ยั่งยืน”นายปรุ กล่าว

ขณะที่ นายจัว จิบ้ง อายุ 78 ปี ผู้อาวุโสกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ได้รับกรวยดอกไม้ขวัญข้าวหน่อเสเถาะ ซึ่งส่งมาพร้อมข้าว โดยนายจัว กล่าวว่า ขวัญข้าวนี้จะเอาไปเก็บไว้ในยุ้งข้าว เพราะเราเชื่อว่าให้ไว้เพื่อไม่ให้ข้าวได้รับอันตราย ไม่ให้มีอะไรมารบกวน พี่น้องที่บริจาคข้าวมา ไม่ใช่แค่ข้าว แต่มีความห่วงใย มีจิตวิญญาณมาด้วย

นายมานะ เพิ่มพูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่า ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคส่วนต่างๆพัฒนาคุณภาพชีวิตพื้นฐาน ถนน สะพาน การคมนาคม โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์มาลาเรียการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม

ซึ่งสิ่งดีๆ เหล่านี้ต้องสื่อสารให้ข้างนอกรับรู้ สำหรับในเรื่องเกษตรได้ส่งเสริมปลุกทุเรี กาแฟ พืชที่ผลิตแล้วสามารถเก็บไว้เพื่อรอขายได้

นางปรีดา คงแป้น กรรมการมูลนิธิชุมชนไทย กล่าวว่า การส่งมอบข้าวให้กัน คล้ายกับกรณีปลาแลกข้าวที่นำไปให้ชาวเล สำหรับที่แก่งกระจานซึ่งมีการรวบรวมข้าวส่งมา เราจะเห็นว่าทั้งชาวกะเหรี่ยงและชาวเล อยู่ในพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และมีวิถีชีวิตพึ่งพาทรัพยากร

จึงควรหาทางให้ชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรในการดำรงชีพได้อย่างยั่งยืน เขาควรมีที่ทำกิน เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองในระยะยาว เพราะจากการสอบถามที่ชาวเลได้รับข้าวไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ชาวบ้าบอกว่าจะพอกินเพียงราวๆ 10 วัน

วเลที่หมู่าะสุรินทร์ก็หาปลาไม่ได้ จึงควรให้ชาวบ้านสามารถมีความมั่นคงของตนเอง ทำอย่างไรให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้ มีศักดิ์ศรีของมนุษย์

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน