‘กรมเจ้าท่า’ เผยรายชื่อผู้เสียชีวิตเหตุเรือเฟอร์รี่ล่มกัปตันดับ สูญหาย 4 ชีวิต เร่งยกระดับการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำ เข้มดูแลความปลอดภัย ผู้โดยสาร นักท่องเที่ยว
เมื่อวันที่ 3 ส.ค. นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยถึงความคืบหน้าคืบหน้ากรณีเรือราชา 4 เกิดอุบัติเหตุจมลงบริเวณเกาะสี่เกาะห้า อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้ประสบภัยประกอบด้วย คนประจำเรือ จำนวน 9 คน ผู้โดยสาร จำนวน 7 คน รวม 16 คน โดยออกเดินทางจากท่าเรือราชาเฟอรี่เกาะเกาะสมุย ไปยังท่าเรือเฟอรี่ฝั่งอำเภอดอนสัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด
การดำเนินการ ของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาเกาะสมุย ในวันที่ 2 ส.ค.63 เข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุร่วมกับตำรวจน้ำเกาะสมุย เพื่อค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 16 ราย โดยค้นพบผู้ประสบภัยแล้วจำนวน 11 ราย ได้แก่ 1.นายจำเนียน บุรีมาศ (ต้นกล) 2.นายสุทธิรักษ์ เมืองอินทรง์ (ช่างยนต์) 3.นายเจริญพงศ์ พรรณเจริญ (ช่างยนต์) 4.นายชัยกิจ ฉิมพลี (กะลาสี) 5.นายเกรียงศักดิ์ ไชยวงศ์ (กะลาสี) 6.นายอนุพล จันทร์เกษม (กะลาสี) 7.นายวิโรจน์ เจ๊าะหวาง (กะลาสี) 8.นายสราวุฒิ แด่เมืองกลาง (คนขับรกสิบล้อ) 9.นายบุญช่วย พรหมทอง (คนขับรถสิบล้อ) 10.นายพชร ทิพรัตน์ (กะลาสี) 11.นายสุวิทย์ วรเศรษฐ์วรชัย ผจก. บริษัทรับเหมา (ขับรถกระบะ)
อ่านข่าว ด่วน! พบผู้สูญหาย เรือเฟอร์รี่ ลอยติดเกาะปลอดภัย 2ราย เสียชีวิต1
ผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย คือ นายเทวินทร์ สุราษฎร์ (นายเรือ)
ผู้สูญหาย จำนวน 4 ราย ได้แก่ 1.นายศิระวุธ ทองบุญยัง (ต้นกล) 2.นายทิวากรณ์ วัชรวิทย์ ((กะลาสี) 3.นางนภัสรดา จันหาญ (พนักงานขายของ) 4.นายไชยชาญ เหล่าทรัพย์ (คนขับ สิบล้อ) อย่างไรก็ตาม กรมเจ้าท่าจะทำการค้นหาอีกครั้งในวันที่ 3 ส.ค.63
ด้าน นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม ในฐานะกำกับดูแลกรมเจ้าท่า เปิดเผยว่าวันนี้ตนเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพมาตรฐาน ระหว่างกรมเจ้าท่า (จท.) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ เกิดความเชื่อมั่น ตลอดการเดินทางในการใช้ชีวิตประจำวัน พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำให้มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชน
โดยจท. และสพฉ. ร่วมมือเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินด้านการปฏิบัติการฉุกเฉินทางวิชาการในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา และการฝึกอบรม เพื่อคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพมาตรฐาน
“ความร่วมมือครั้งนี้จะบูรณาการการปฏิบัติการฉุกเฉินและการเสริมสร้างองค์ความรู้ของแต่ละฝ่ายในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ผู้ปฏิบัติงานและผู้โดยสารบนเรือ ผู้ป่วยฉุกเฉินที่เจ็บป่วย หรือได้รับอุบัติเหตุฉุกเฉินทางน้ำ หรือจำเป็นต้องใช้ระบบการขนส่งทางน้ำ ให้ได้รับการบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ดี มีคุณภาพ
มาตรฐานภายในประเทศและมาตรฐานที่กฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน และสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเลขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ และอนุสัญญาอื่นที่ราชอาณาจักรไทยมีพันธสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ” นายอธิรัฐ กล่าว