พิธีบูชาพระแม่ลักษมี กลุ่มคนในระนองฉลองเทศกาลดิปาวลี มีส่องเลขด้วย

พิธีบูชาพระแม่ลักษมี – เมื่อเวลา 00.09 . วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นคืนที่พระจันทร์มืดมิดที่สุดในรอบปี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้นับถือฮินดูที่จังหวัดระนองทำพิธีบูชาและต้อนรับพระแม่ลักษมี ฉลองคืนดีปาวลีหรือเทศกาลแห่งแสงไฟของศาสนาฮินดู

 

ดีปาวลี เป็นวันที่พี่น้องทั่วโลกที่นับถือ ศาสนาพราหมณ์ฮินดูศาสนาซิกข์, ศาสนาเชน ร่วมเฉลิมฉลองตามอาคาร บ้านเรือน ร้านค้า ถนนหนทาง และศาสนสถาน โบสถ์พราหมณ์ของฮินดู, คุรุทวาราของซิกข์ และ เชนสถานของเชน จะตกแต่งด้วยสีสดใสและประดับแสงไฟสว่างไสว เพื่อเฉลิมฉลอง ในเทศกาลดีวาลี คืนที่มืดมิดที่สุดของเดือน การ์ติกา ตามปฏิทินฮินดู

พิธีบูชาพระแม่ลักษมี

ที่อำเภอเมือง จังหวัดระนอง มีกลุ่มคนเล็กๆจำนวนหนึ่ง ที่นับถือพระพิฆเนศ ทำพิธีบูชาและต้อนรับ พระแม่ลักษมี เทวีแห่งโชคลาภความเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่ง

ทุกคนนำกระเป๋าสตางค์ สมุดบัญชีธนาคารมาใส่พานร่วมพิธีด้วย ตามความเชื่อให้มีเงินงอกงามเพิ่มพูน บนโต๊ะบูชาไฟก็จะมี 5 น้ำอมฤต คือ น้ำนมสด น้ำเนย น้ำเชื่อม น้ำโยเกิร์ต และน้ำเชื่อม เพื่อตักอาบและถวายเทวรูปพระลักษมี

พิธีบูชาพระแม่ลักษมี

เริ่มจากการนำดอกกุหลาบจุ่มน้ำบริสุทธิ์มาปะพรมตามองค์เทวรูป ตามด้วยการสรงน้ำอมฤตทั้ง 5 ตามความเชื่อสิ่งบูชาทุกสิ่งเกิดจาก 4 ธาตุ คือ ดอกไม้ ผลไม้ เกิดจาก ธาตุดิน, น้ำอมฤตทั้ง 5 เกิดจาก ธาตุน้ำ

ธาตุไฟคือแสงจากไฟและแสงจากประทีปที่จุดสว่างไสว,ส่วนธาตุลม เกิดจากมนตราที่ออกจากปากที่ออกมา รวมทั้งกำยานหรือธูปที่จะจุดต่อจากนี้ เพราะฉะนั้นการบูชาทั้ง ทางพุทธและฮินดู ก็ถือว่าเป็นการบูชาธรรมชาติเพื่อกลับคืนสู่ธรรมชาติ เป็นเรื่องปกติ

ระหว่างสรงน้ำอมฤตห้องค์พระลักษมี ด้วย นมสด น้ำเนย น้ำเชื่อม โยเกิร์ต และน้ำเชื่อม จะมีรอยเยิ้มไปตามตัวองค์เทวรูป ผู้มาร่วมพิธีต่างเห็นเป็นตัวเลข ชุดแรก 673 หลายคนต้องเอากล้องมือถือมาถ่ายเป็นภาพนิ่งเก็บไว้ด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน