“รอยยิ้มของชุมชน” เป็นตัวสะท้อนภาพความสุข ที่สร้างพลังบวกของคนในท้องถิ่นให้เกิดขึ้น และอาจจะมีไม่กี่ชุมชนเท่านั้น ที่จะสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ขึ้นอยู่รากฐานของการดำเนินชีวิตและแนวคิดของความร่วมมือในการขับเคลื่อนชุมชน ที่ต้องอาศัยพลังแห่งความสามัคคี ผนวกกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และทรัพยากรที่มีในชุมชนเป็นตัวกำหนดวิถีที่ดีงามให้เกิดขึ้น และพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ที่จะเข้ามาต่อยอดแต่ยังคงคุณค่าอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้คงไว้ ที่จะนำไปสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน

แต่การจะเดินหน้าไปถึงจุดนั้นได้ ต้องมีองค์ประกอบในมิติต่างๆ เป็นตัวชี้วัด ไม่ว่าจะเป็นมิติทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคมและมิติด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้สามารถเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น จำเป็นที่จะต้องมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ได้ขึ้นชื่อว่า “ชุมชนเข้มแข็ง”

ในพื้นที่จ.ระยอง มีชุมชนเข้มแข็งเกิดขึ้นหลายชุมชน เป็นตัวอย่างระบบการจัดที่ดีมีประสิทธิภาพ และเกิดจากการเริ่มต้นของความต้องการในการยกระดับของคนในชุมชนกันเอง และพร้อมจะพัฒนา และต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม มีรายได้ที่ยั่งยืน พร้อมที่จะรับการถ่ายทอดแนวคิดจากองค์กรต่างๆ ที่มีเครื่องมือ หรือองค์ความรู้เข้ามาช่วยสนับสนุน โดยมุ่งหวังที่จะยกระดับการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งมากขึ้นไปอีก

โดย จีซี หรือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กร ที่เข้ามาร่วมพัฒนาชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ระยอง ด้วยโมเดลการพัฒนา ที่ยึดหลักการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาสนับสนุนการพัฒนา ที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนไว้ ให้สอดรับกับแนวทางการพัฒนาในมิติต่างๆ ทั้งในมิติ ทางเศรษฐกิจ มิติทางสังคม และมิติด้านสิ่งแวดล้อม

ในมิติเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพื่อการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งด้านนำพืชท้องถิ่นมาแปรรูป เป็นได้ทั้งผลิตภัณฑ์ดูแลความงาม และอาหารเลิศรส ที่วันนี้ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ที่มาเยือน ด้วยความมุ่งมั่นของชุมชน ผนวกกับเชี่ยวชาญ ของ “จีซี” ที่ได้นำองค์ความรู้ ทั้งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปสนับสนุน ใน“โครงการ Rayong Organic Living” ที่ร่วมมือกับ ปฐม ออร์แกนิค ลิฟวิ่ง ผสมผสานกับภูมิปัญญาแบบดั้งเดิม รวมไปถึงเน้นการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ให้กับผลิตภัณฑ์ไทย โดยนำวัตถุดิบอินทรีย์พื้นถิ่นมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์

เริ่มตั้งแต่แหล่งผลิตจาก “วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์หอมมะหาด” ชุมชนที่รวมตัวเพื่อปลูกพืชพื้นถิ่นแบบเกษตรอินทรีย์ ปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่สำคัญ ด้วยคุณสมบัติของพืชที่สามารถนำมาใช้ในการเป็นส่วนผสมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใช้ในการดูแลสุขอนามัย ที่มีคุณภาพสูง นำไปสู่การผลิตเป็นสินค้าดูแลความงาม และยังคงคุณค่าภูมิปัญญาของชาวบ้านและชุมชน สามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป เป็นวัตถุดิบสมุนไพร จากการเข้าฝึกอบรมการเพาะปลูกพืชสมุนไพรพื้นถิ่นระยอง ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยง กับ “ชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา” ในชุมชนหนองแฟบ ที่มีความเชี่ยวชาญในการแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ความงาม เพื่อสุขอนามัยและสุขภาพผิวจากธรรมชาติ สามารถยกระดับไปสู่สินค้ามาตรฐานสากล

มาถึงถิ่นระยอง ต้องมาลิ้มลองอาหารพื้นถิ่น ร้านใบชะมวง “ นอกจากเป็นร้านอาหารขึ้นชื่อ ยังเป็น “ศูนย์การเรียนรู้อาหารถิ่นระยอง ภายใต้โครงการเชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง (ฮิ)” เพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การทำธุรกิจร้านอาหาร ให้กับนักศึกษา ในสาขาอาหารและโภชนาการ คณะคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคระยอง รวมถึงผู้ที่สนใจประกอบกิจการร้านอาหาร ก็สามารถเข้าไปเรียนรู้สูตรเมนูต่างๆ ที่ใช้พืชท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบ รับรองได้ว่าหารับประทานได้ที่นี่ทีเดียว!!!!

และที่สำคัญยังเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบ “ของดีในจังหวัดระยอง” ทั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มชาวประมง ยังรวมไปถึงการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เพื่อรองรับนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีเป้าหมายพัฒนาให้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการแปรรูปอาหาร ที่เป็นแลนด์มาร์คสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ

ในมิติทางสังคม เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน ที่ต่างเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน ร่วมกันโดยเฉพาะในด้านการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร ที่สามารถนำทรัพยากรเหลือใช้มาต่อยอด เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มภายใต้แนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ที่ จีซี และชุมชน เห็นเป้าหมายเดียวกัน ในการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการขยะ

เริ่มจาก “ชุมชนวัดชากลูกหญ้า” ที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งเรื่องการคัดแยก การบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี จนทำให้วันนี้มีการตั้งเป็น ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า ด้วยระบบ YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม ที่เป็นระบบจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจร ตั้งแต่การรวบรวม การคัดแยกขยะ การขนส่งขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบกระบวนการรีไซเคิล และกระบวนการแปรรูปจนได้กลับมาเป็นสินค้าอัพไซคลิ่ง ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ปัจจุบันได้ยกระดับ เป็นชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรแห่งแรกของจังหวัดระยอง

ส่วน มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการดูแลรักษาระบบนิเวศ ที่มีความหลากหลาย ให้มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถพัฒนาควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสัมคม บนพื้นฐานของความยั่งยืน โดยการต่อยอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ จีซี และเทศบาลเมืองมาบตาพุด โดยร่วมมือกับศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGeo) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในการพัฒนาระบบการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งที่จะเข้าไปสนับสนุนเกษตรกร เพื่อให้การเพาะปลูกมีผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ

ทำให้ พื้นที่แห่งนี้ “มะม่วงพื้นทราย” ของเกษตรกรที่ทำมากว่า 50 ปี ได้รับการแก้ไขปัญหาจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วประเทศ ด้วยคุณภาพและความอร่อย มีผลผลิตตลอดฤดูกาล การันตีด้วยรางวัลรองชนะเลิศ ประเภทมะม่วงผลดิบ “เขียวเสวย” จากการประกวดผลไม้งานเกษตรแห่งชาติ (เกษตรแฟร์) ประจำปี 2563 รวมถึงการพัฒนาช่องทางการขาย Online โดยสร้าง Line Official: “Map Ta Phut Mango” และยังเสริมองค์ความรู้ ทักษะการตลาดให้กับเกษตรกร เพื่อให้สวนมะม่วงสามารถจำหน่ายผลผลิตให้ลูกค้าแบบ Pre-Order ได้ รวมถึงช่วยวางระบบบริหารการขนส่ง เพื่อให้สวนสามารถขายผลผลิตได้ทั่วประเทศ (แอบกระซิบว่ามะม่วงอร่อย ๆ มีอีกไม่มากแล้ว รีบจองกันก่อนจะหมดฤดูกาลในเร็วๆ นี้)

จีซี และพันธมิตรภูมิใจทีได้เป็นพลังเสริมให้ทุกชุมชนพัฒนา และมีระบบบริหารจัดการที่ทันสมัย ทั้งการออกแบบ การตลาด ไปสู่การเป็น ชุมชนเข้มแข็งที่สร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนและสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน