สคทช. ดันป่าสงวนฯแม่แจ่ม พื้นที่ต้นแบบขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว ชี้สร้างเศรษฐกิจให้ปชช. ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี-ทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์

เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ​ดร.รวีวรรณ ภูริเดช ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ หรือ สคทช. ระบุว่า พื้นที่ป่าแม่แจ่มถูกประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 712 (พ.ศ. 2517) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2517 มีเนื้อที่ 2,477,634 ไร่ ครอบคลุม พื้นที่ 2 อําเภอ 10 ตําบล ได้แก่ ช่างเคิ่ง บ้านทับ ท่าผา แม่ศึก แม่นาจร กองแขก และปางหินฝน อ.แม่แจ่ม, ต.วัดจันทร์ แจ่มหลวง และแม่แดด อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่

โดยในอดีต ต.กองแขก ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ราษฎรจึงอยู่อาศัยทํากินในพื้นที่ อย่างไม่ถูกต้อง และภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบเชิงเขา พื้นที่ป่าต้นน้ำถูกทําลายนําไปปลูกข้าวโพด ซึ่งพืชเศรษฐกิจอันดับ 1 ของต.กองแขก ก่อให้เกิดปัญหาการใช้สารเคมีและถูก ชะล้างลงสู่แม่น้ําลำธารเกิดปัญหาปัญหาอุทกภัยน้ําป่าไหลหลากและปัญหาดินโคลนถล่มเนื่องจาก ใช้ที่ดินอย่างผิดวิธีไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ํา เกิดปัญหาหมอกควันและไฟป่าจากซังและต้นข้าวโพด

สำหรับการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนในพื้นที่ สามารถอยู่อาศัยทํากินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คือหัวใจสำคัญ ภายใต้นโยบายของ คทช. ทําให้ประชาชนมีความมั่นใจในการประกอบอาชีพ และสามารถพัฒนาคุณภาพ ชีวิตให้ดีขึ้น แต่ภายใต้การพัฒนาดังกล่าวสิ่งสําคัญประการหนึ่งที่จะนําไปสู่ความยั่งยืนของประชาชน ในพื้นที่ คือ การพัฒนาอาชีพ ที่เหมาะสม หนึ่งในนั้นได้แก่รูปแบบเศรษฐกิจสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับราษฎรที่จะสามารถทํากินและอยู่อาศัยภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดีและทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ได้ เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้มีรูปแบบทางเลือกที่หลากหลาย

กรมป่าไม้จึงได้ร่วมประสานการดําเนินงานกับกลุ่มองค์กรและนักธุรกิจภาคเอกชน ได้แก่ กองทุน FLR 349, มูลนิธินวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย (TOF), องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก สากล (WWF), บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จํากัด, บริษัทไทยคม จํากัด, ตัวแทนภาคธุรกิจโรงแรมและ การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขับเคลื่อนการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวร่วมกับประชาชนในพื้นที่ตําบลกองแขก ให้มีการทําการเกษตรที่ยั่งยืน มุ่งเน้นระบบการบริโภคอาหาร ท้องถิ่น (local food) เกิดโมเดลระบบธุรกิจที่เป็นธรรม สร้างห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าของ ระบบการผลิตทางเกษตร ลดการใช้สารเคมี เพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างรายได้ด้วยแนวพระราชดําริ ป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง และเสริมสร้างรายได้จากคาร์บอนเครดิตตาม นโยบายของกระทรวง ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันมีราษฎรตําบลกองแขกเข้าร่วม ดําเนินการเป็นพื้นที่ตัวอย่าง 109 ราย รวมพื้นที่ 470 ไร่ เกิดธุรกิจที่สร้างรายได้ เช่น ไข่อินทรีย์สร้างป่า 63,875 บาท/ปี ผักอินทรีย์สร้างป่า 86,400 บาท/ปี สมุนไพรสร้างป่า 115,200 บาท/ปี ผลไม้ยืนต้นอินทรีย์ 112,500 – 150,000 บาท/ปี เป็นต้น

หากดําเนินการมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ร่วมกับปลูกผลไม้อินทรีย์ก็จะมีรายได้ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น และจากการพัฒนาเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวมาสู่การปลูกป่าสามอย่าง ประโยชน์สี่อย่าง เป็นกิจกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน ในพื้นที่ตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER)

โดยการประเมินคาร์บอนเครดิตเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ดําเนินการ 120 ไร่ ภายในระยะเวลา 10 ปี สามารถลดและดูดกลับปริมาณก๊าซเรือนกระจก 611 ตันคาร์บอนเทียบเท่า ซึ่งการดําเนินการดังกล่าว กรมป่าไม้ องค์การบริหารส่วนตําบลกองแขก องค์กร และนักธุรกิจภาคเอกชน ที่ร่วมดําเนินงานจะได้ขยายผลไปดําเนินการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไปด้วย

นาย​จำนง อินทรัตน์ ชาวบ้าน​อมเม็ง​ ต.กองแขก​อ.แม่แจ่ม​ จ.เชียงใหม่​ เปิดเผย​ว่า ​พื้นที่​ตรงนี้เมื่อก่อนปลูกข้าวโพด​ แต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเกษตร​ เป็นไม้ยืนต้น​ ตั้งแต่​หนังสืออนุญาต​ให้เข้าทำประโยชน์​หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ​ ​​สามารถวางแผนการพัฒนา​ที่ดินให้ดียิ่งและสามารถสร้าง​รายได้​เลี้ยงคนในครอบครัว​ได้​ ตอนนี้สิ่งที่ต้องการให้ภาค​รัฐ​เข้ามาช่วยเหลือราคาพื้นที่เกษตร​ ที่ตนเองปลูกอยู่​และสิ่งสำคัญ​ต้อง​การให้รัฐเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับ​ปลูกพืชพันธุ์​เกษตร​ และที่สำคั​ญตั้งแต่ได้หนังสืออนุญาต​ให้เข้าทำประโยชน์​หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ​ ​ไม่ต้องกังวลเรื่องการถูกไล่จากหน่วยงาน​ที่เกี่ยวข้อง​ ทำให้ทุกวันนี้​ชาวบ้านได้มีความมั่นใจ​ในการพัฒนา​พื้นที่​การเกษตร​ของตนเองมากขึ้น

 

 

 

 

 

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน