ปภ.รายงาน 29 จังหวัด ยังจมน้ำท่วม 3.2 แสนครัวเรือน ได้รับผลกระทบ ภาคอีสานเดือดร้อนหนัก สั่งเร่งคลี่คลายสถานการณ์ ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

วันที่ 14 ต.ค.65 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานผลกระทบจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย รวมถึงพายุโนรูทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้และอ่าวไทย ประกอบกับมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลัก และลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง

โดยช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 14 ต.ค.เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 56 จังหวัด 297 อำเภอ 1,476 ตำบล 9,165 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 394,338 ครัวเรือน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 28 จังหวัด

ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี หนองบัวลำภู อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ลพบุรี นครปฐม นครนายก สระบุรี และปราจีนบุรี รวม 160 อำเภอ 969 ตำบล 6,242 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 324,256 ครัวเรือน ดังนี้

1.ตาก น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา อ.บ้านตาก และอ.เมืองตาก รวม 5 ตำบล 35 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 461 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 2.เพชรบูรณ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ศรีเทพ อ.เมืองเพชรบูรณ์ และอ.หนองไผ่ รวม 35 ตำบล 213หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 35 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ระดับน้ำลดลง

3.พิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อ.สามง่าม อ.วชิรบารมี อ.ทับคล้อ อ.บึงนาราง อ.บางมูลนาก อ.เมืองพิจิตร อ.ตะพานหิน อ.โพทะเล และอ.โพธิ์ประทับช้าง รวม 56 ตำบล 330 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,416 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 4.นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.พยุหะคีรี อ.โกรกพระ และอ.ตาคลี รวม 18 ตำบล 140 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,695 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

อีสาน ท่วมหนัก

5.ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองชัยภูมิ อ.บ้านเขว้า อ.คอนสวรรค์ และอ.จัตุรัส รวม 10 ตำบล 24 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 648 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 6.ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองขอนแก่น อ.ชนบท อ.น้ำพอง อ.โคกโพธิ์ชัย อ.บ้านไผ่ และอ.แวงใหญ่ รวม 13 ตำบล 48 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 120 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น








Advertisement

7.มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองมหาสารคาม อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย และอ.เชียงยืน รวม 45 ตำบล 523 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,020 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 8.กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.ร่องคำ อ.ฆ้องชัย อ.กมลาไสย อ.กุฉินารายณ์ อ.เมืองกาฬสินธุ์ และอ.ยางตลาด รวม 24 ตำบล 187 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,982 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 9.ร้อยเอ็ด น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.โพนทราย และอ.จังหาร รวม 6 ตำบล 38 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,369 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

10.ยโสธร น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ค้อวัง อ.คำเขื่อนแก้ว อ.เมืองยโสธร อ.ป่าติ้ว และอ.มหาชนะชัย รวม 27 ตำบล 156 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 11.นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ลำทะเมนชัย อ.สูงเนิน และอ.ชุมพวง รวม 11 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,195 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

12.บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พุทไธสง อ.สตึก อ.คูเมือง อ.นางรอง อ.กระสัง อ.แคนดง และอ.ลำปลายมาศ รวม 54 ตำบล 343 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,697 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 13.สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.ชุมพลบุรี อ.ท่าตูม อ.รัตนบุรี อ.สำโรงทาบ อ.เมืองสุรินทร์ และอ.จอมพระ รวม 25 ตำบล 94 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,610 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

14.ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองศรีสะเกษ อ.ราษีไศล อ.กันทรารมย์ อ.บึงบูรพ์ อ.ยางชุมน้อย และอ.ศิลาลาด รวม 33 ตำบล 240 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,284 ครัวเรือน อพยพประชาชน 830 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 34 จุด มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

15.อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองอุบลราชธานี อ.วารินชำราบ อ.สว่างวีระวงศ์ อ.เดชอุดม อ.ดอนมดแดง อ.สำโรง อ.พิบูลมังสาหาร อ.เขื่องใน อ.ตระการพืชผล และอ.ตาลสุม รวม 38 ตำบล 247 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,828 ครัวเรือน อพยพประชาชน 246 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 116 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 16.หนองบัวลำภู น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.โนนสัง อ.เมืองหนองบัวลำภู อ.นากลาง อ.ศรีบุญเรือง อ.สุวรรณคูหา และอ.นาวัง รวม 34 ตำบล 423 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 264 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาคกลาง จมหลายจังหวัด

17.อุทัยธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองอุทัยธานี อ.สว่างอารมณ์ อ.ทัพทัน อ.ห้วยคต อ.บ้านไร่ อ.หนองขาหย่าง อ.ลานสัก และอ.หนองฉาง รวม 67 ตำบล 507 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,402 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

18.ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองชัยนาท อ.วัดสิงห์ อ.มโนรมย์ อ.สรรพยา อ.หนองมะโมง อ.หันคา อ.เนินมะขาม และอ.สรรคบุรี รวม 35 ตำบล 207 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,860 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 19.สิงห์บุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองสิงห์บุรี อ.พรหมบุรี และอ.ท่าช้าง รวม 12 ตำบล 58 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,033 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

20.อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ป่าโมก อ.ไชโย อ.เมืองอ่างทอง และอ.โพธิ์ทอง รวม 38 ตำบล 172 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,430 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 21.พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 14 อำเภอ ได้แก่ อ.เสนา อ.ผักไห่ อ.บางบาล อ.บางไทร อ.บางปะอิน อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะหัน อ.ท่าเรือ อ.นครหลวง อ.มหาราช อ.อุทัย อ.วังน้อย อ.ภาชี และอ.บ้านแพรก รวม 156 ตำบล 992 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 67,580 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

22.ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองปทุมธานี และอ.สามโคก รวม 21 ตำบล 62 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,584 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 23.นนทบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ปากเกร็ด อ.เมืองนนทบุรี อ.บางใหญ่ อ.บางกรวย และอ.บางบัวทอง รวม 35 ตำบล 268 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 110,562 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

24.ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองลพบุรี อ.ชัยบาดาล อ.บ้านหมี่ อ.พัฒนานิคม อ.ท่าหลวง และอ.โคกสำโรง รวม 28 ตำบล 98 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,157 ครัวเรือน อพยพประชาชน 252 คน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 2 จุด ระดับน้ำทรงตัว 25.นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.นครชัยศรี อ.บางเลน อ.สามพราน อ.เมืองนครปฐม อ.กำแพงแสน อ.ดอนตูม อ.พุทธมณฑล รวม 37 ตำบล 224 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,976 หมู่บ้าน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

26.นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองนครนายก อ.ปากพลี อ.บ้านนา และอ.องครักษ์ รวม 22 ตำบล 162 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,888 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 27.สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อ.วังม่วง อ.เมืองสระบุรี อ.หนองแค อ.หนองโดน อ.แก่งคอย อ.บ้านหม้อ อ.เสาไห้ และอ.ดอนพุด รวม 43 ตำบล 156 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,183 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

28.ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.กบินทร์บุรี อ.เมืองปราจีนบุรี อ.ประจันตคาม อ.ศรีมหาโพธิ์ อ.บ้านสร้าง และอ.ศรีมโหสถ รวม 41 ตำบล 276 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,965 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ผลกระทบจากบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันที่ 9 ต.ค.ทำให้มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้เกิดอุทกภัย 9 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง สระแก้ว ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และตรัง รวม 21 อำเภอ 55 ตำบล 155 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,752 ครัวเรือน

ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 1 จังหวัด รวม 3 อำเภอ 11 ตำบล 68 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,555 ครัวเรือน ดังนี้ 29.ฉะเชิงเทรา เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.พนมสารคาม อ.บ้านโพธิ์ และอ.บางน้ำเปรี้ยว รวม 11 ตำบล 68 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,555 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

สำหรับการให้ความช่วยเหลือกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป

ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอพพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน