ตรัง สาธารณสุขจังหวัด เฝ้าระวัง โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เตือนประชาชน กินยาพารา สังเกตอาการ 3 วัน ไข้ไม่ลด พบแพทย์ทันที

รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรังและหัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง เน้นย้ำในการเตือนประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่และโรคไข้เลือดออก หลังจากที่มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น

18 ม.ค. 67 – ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นายแพทย์วัชรนันท์ ถิ่นนัยธร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง และนายธวัชชัย ล้วนแก้ว หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า

โรคไข้หวัดใหญ่และโรคไข้เลือดออก มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปี 2566 ที่ผ่านมา การป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่นั้น ผู้ป่วยจะมีการไข้ขึ้นสูง หนาวสั่น ผู้ป่วยนั้นไม่ควรซื้อยามากินเอง ควรกินยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการ และให้สังเกตอาการหาก 3 วันแล้วไข้ยังไม่ลด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากระยะเวลา 3 วันนั้น เป็นระยะเวลาที่เชื้อฟักตัว และจะแสดงได้ชัดว่า ประชาชนป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่หรือไข้ชนิดอื่น

เมื่อตรวจแล้วแพทย์ก็สามารถทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี เน้นย้ำประชาชนอย่าประมาทอย่าคิดเพียงว่าเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดาเดี๋ยวก็หาย ในขณะที่ผู้ป่วยในกลุ่ม 607 ที่มีโรคประจำตัวนั้น ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นอันดับแรก เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงมากกว่าประชาชนโดยทั่วไป

ทั้งนี้มาตรการในการเฝ้าระวังนั้น สำนักงานสาธารณสุขนั้น เน้นประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่มีอาการป่วย ขอให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หรือโรงพยาลในพื้นที่ เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรค ในการรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง

สำหรับโรคไข้เลือดออกนั้น พบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นมาตั้งแต่ปลาย 2566 ที่ผ่านมา โดยปกติแล้วโรคไข้เลือดออกนั้นมีการระบาด 1 ปีเว้น 2 ปี แต่จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยังมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี 2566 – ต้นปี 2567

ทั้งนี้มาตรการในการเฝ้าระวังโรคของไข้เลือดออกในจังหวัดตรัง ต้องให้ความสำคัญกับโรคนี้มาก จึงต้องวางมาตรการที่จะป้องกันทางสำนักงานสาธารณสุข มีการเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการรักษาไข้เลือดออก อุปกรณ์ในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก

รวมถึงเมื่อมีคนป่วยไข้เลือดออก จะมีมาตรการที่เรียกว่า 331 เมื่อผู้ป่วยจะใช้ 3 ตัวแรกก็คือ 3 ชั่วโมงแรกจะรายงานว่ามีผู้ป่วยเกิดขึ้น จากนั้น 3 ชั่วโมงถัดไป จะเริ่มไปทำการกำจัดลูกน้ำยุงลายในบริเวณบ้านของผู้ป่วย เพื่อหยุดการแพร่ระบาด ไม่ว่าจะเป็นการไปพ่นหมอกควัน การไปคว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดลูกน้ำยุงลายตามมา

และ 1 ก็คือ 1 วัน จะขยายพื้นที่ออกจากบริเวณบ้านผู้ป่วยเป็นระยะทางอีกประมาณ 100 เมตร เพื่อจะได้ครอบคลุมถึงบริเวณที่ยุงบินไปวางไข่ จึงต้องช่วยกันในการคว่ำภาชนะและป้องกันตัวเองไม่ให้ยุงกัด โดยการฉีดยากันยุงสเปรย์กันยุง หรือว่าทายากันยุง ป้องกันไม่ให้ยุงกัด

หากประชาชนป่วยขอให้ไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หรือว่าอนามัยใกล้บ้าน สามารถตรวจวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกได้โดยการเจาะเลือดแล้วก็จะมีแถบตรวจแบบอย่างรวดเร็ว เพื่อสามารถให้เราเบื้องต้นได้ว่ามีโอกาสป่วยเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ เหมือนกับโควิดที่เราตรวจ ATK ก็จะทราบผลการตรวจ

ดังนั้นหากมีการตรวจพบโรคไข้เลือดออกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลแล้ว ก็เข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างรวดเร็วสามารถป้องกันการแพร่ระบาดและลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ หากประชาชนละเลยอาจทำให้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกได้ ซึ่งชุมชนนั้นมีส่วนสำคัญในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ส่วนของสถานการณ์โรคโควิด-19 นั้น ตั้งแต่ต้นปี 2567 พบผู้ป่วย 50 ราย ขณะนี้โรคโควิด-19 นั้นเป็นโรคประจำถิ่น ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามสถานพยาบาล นอกจากโรคดังกล่าวแล้วทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ยังเฝ้าระวัง โรคมาลาเรีย โรคดิน และโรคอื่นๆ ดังนั้นประชาชนควรดูแลรักษาสุขภาพอย่างดี และสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้านทุกครั้ง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน