กรมชลประทาน ชงโครงการประตูระบายน้ำ “น้ำปั้ว-ไหล่น่าน” และ “ฆะมัง” เป็นเครื่องมือบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งลำน้ำน่านอย่างยั่งยืน

นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ พร้อมด้วยนายพรมงคล ชิดชอบ รองผู้อำนวยการ สำนักงานชลประทานที่ 2 นายนิพนธ์ สนั่นเรืองศักดิ์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านพัฒนาแหล่งน้ำ กรมชลประทาน พร้อมคณะ นำสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดน่านเพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน

พร้อมเสนอแผนหลักการพัฒนาอาคารบังคับน้ำแม่น้ำน่าน ในเขตจังหวัดน่าน พิษณุโลก พิจิตร และนครสวรรค์ พร้อมชง 2 โครงการเร่งด่วน “ประตูระบายน้ำ น้ำปั้ว-ไหล่น่าน และ ประตูระบายน้ำฆะมัง” หวังเป็นเครื่องมือบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน อย่างยั่งยืน

กรมชลประทาน ชงโครงการประตูระบายน้ำ “น้ำปั้ว-ไหล่น่าน” และ “ฆะมัง” เป็นเครื่องมือบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งลำน้ำน่านอย่างยั่งยืน

กรมชลประทาน ชงโครงการประตูระบายน้ำ “น้ำปั้ว-ไหล่น่าน” และ “ฆะมัง” เป็นเครื่องมือบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งลำน้ำน่านอย่างยั่งยืน

นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมชลประทาน ได้มีการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำมาโดยลำดับ โดยมีแหล่งเก็บกักน้ำที่สำคัญ อาทิเช่น เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก เขื่อนทดน้ำผาจุก จังหวัดอุตรดิตถ์ และเขื่อนทดน้ำนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

เมื่อรวมกับอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ 10,430.25 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีแผนพัฒนาจัดหา แหล่งเก็บกักน้ำในระยะกลาง (ปี 2565-2575) เพิ่มเติมอีก เช่น อ่างเก็บน้ำน้ำปาด (ภูวังผา) อ่างเก็บน้ำน้ำกอน อ่างเก็บน้ำน้ำกิและอ่างเก็บน้ำน้ำยาว เป็นต้น








Advertisement

ซึ่งหากพัฒนาได้ทั้งหมดก็มีน้ำเก็บกักได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 799 ล้าน ลบ.ม. กรมชลประทาน จึงมีนโยบายที่จะหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมอีกโดยการใช้ลำน้ำน่านเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ จึงเป็นที่มาของโครงการที่กรมชลประทานกำลังดำเนินการศึกษาแผนหลักและความเหมาะสมรวมถึงการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมประตูระบายน้ำแม่น้ำน่าน

สำหรับผลการศึกษาจัดทำแผนหลักการพัฒนาประตูระบายน้ำแม่น้ำน่าน มีทั้งหมด จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ (1) ปตร.ผาจา จังหวัดน่าน (2) ปตร.น้ำปั้ว-ไหล่น่าน จังหวัดน่าน (3) ปตร.ท้ายเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

(4) ปตร.โคกสลุต จังหวัดพิษณุโลก (5) ปตร.ฆะมัง จังหวัดพิจิตร (6) ปตร.บ้านห้วยคต จังหวัดพิจิตร และ (7) ปตร.วังหมาเน่า จังหวัดนครสวรรค์ โดยนำมาจัดลำดับความสำคัญและคัดเลือก 2 โครงการที่ดำเนินการก่อสร้างในลำน้ำน่านและมีความจำเป็นเร่งด่วน ได้แก่

(1) ประตูระบายน้ำ น้ำปั้ว-ไหล่น่าน มีความจุ 3.55 ล้าน ลบ.ม. ขนาดบานประตูความกว้าง 12.50 เมตร สูง 10 เมตร จำนวน 6 ช่อง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน พื้นที่ชลประทาน 16,320 ไร่

(2) ประตูระบายน้ำฆะมัง มีความจุ 24.77 ล้าน ลบ.ม. ขนาดบานประตูความกว้าง 12.50 เมตร สูง 10 เมตร จำนวน 7 ช่อง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลฆะมัง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พื้นที่ชลประทาน 30,849 ไร่

ทั้งนี้เมื่อกรมชลประทานดำเนินการตามแผนงาน 7 โครงการแล้วเสร็จ จะทำให้ลำน้ำน่านสามารถเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้นอีก 152.99 ล้าน ลบ.ม. ส่งน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรของสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเดิม 141,720 ไร่ เพิ่มพื้นที่ชลประทานใหม่ 36,404 ไร่

รวมพื้นที่ชลประทาน 178,124 ไร่ เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับอุปโภค-บริโภค การประมง และการปศุสัตว์ สนับสนุนประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น การท่องเที่ยวและกิจกรรมการใช้น้ำอื่นๆซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ด้านนายโชตธนินทร์ เดโชวชิรสวัสดิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำปั้ว อำเภอเวียงสา กล่าวว่า ในพื้นที่จังหวัดน่าน ที่ผ่านมาจะประสบปัญหาภัยแล้ง การสูบน้ำขึ้นมาใช้ก็จะทำได้ยาก เนื่องจากเป็นการสูบน้ำในพื้นที่ต่ำขึ้นมา ดังนั้นโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำ น้ำปั้ว-ไหล่น่าน จะสามารถแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่

ซึ่งจะครอบคลุม 2 อำเภอ 6 ตำบล ในพื้นที่ ต.กองควาย อ.เมืองน่าน ต.น้ำปั้ว ต.ตาลชุม ต.กลางเวียง ต.ปงสนุก ต.นาเหลือง ใน อ.เวียงสา ประชาชนและกลุ่มผู้ใช้น้ำได้ประโยชน์ มีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตร ทั้งพื้นที่นาข้าว พืชสวน ผลไม้ และเลี้ยงสัตว์

นอกจากนั้น ยังช่วยปรับสมดลุให้กับระบบนิเวศ การเพิ่มแหล่งน้ำใต้ดิน และยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการแข่งขันเรือยาว ซึ่งเป็นประเพณีของคนในพื้นที่ จะสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อีกทางหนึ่ง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน