เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ดิ อินดิเพนเดนต์รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิยาลัยอีสต์แองเกลีย ในอังกฤษส่งหุ่นยนต์ ‘ซีไกลเดอร์’ เพื่อสำรวจจุดที่เรียกว่า เดดโซน (Dead zones) หรือ พื้นที่มรณะบริเวณอ่าวโอมาน ในภูมิภาคเอเชียตะวันตก หรือตะวันออกกลาง

พบว่าใต้ผืนน้ำแห่งนั้นมีสภาพแย่เกินกว่าความน่ากลัว เนื่องจากแทบจะไม่มีค่าออกซิเจนในน้ำ ถือเป็นโซนมรณะที่ใหญ่ที่สุดและหนาที่สุด รอหายนะมาเยือนในเวลาอันใกล้

ดร.บาสเตียน เควซต์ หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย ระบุว่ามหาสมุทรกำลังเจ็บปวด ทั้งปลา พืชใต้น้ำ หรือสัตว์อื่นๆ ที่ต้องการออกซิเจน พวกมันอยู่ใต้ผืนน้ำนี้ไม่ได้ ตอกย้ำปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นผลกระทบที่มาจากมนุษย์ จากการใช้มหาสมุทรเป็นทั้งแหล่งอาหาร และแหล่งหารายได้

เดดโซนยังได้รับผลกระทบจากการหมุนเวียนของสารเคมี อย่างไนโตรเจน ที่จะนำไปสู่การเกิดของไนตรัสออกไซด์ เกิดภาวะเรือนกระจกมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 300 เท่า

ซากปะการังตายใต้น้ำทะเล

ดร.เควสต์กล่าวอีกว่า หายนะกับรอวันเกิดขึ้น อย่างที่น้ำทะเลอุ่นขึ้น เก็บออกซิเจนได้น้อยลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ กับการสุ่มให้สถานการณ์มันแย่ลงโดยปล่อยของเสียจากแผ่นดินลงน้ำทะเล

ทีมวิจัยปล่อยหุ่นยนต์สำรวจใต้น้ำ ซีไกลเดอร์ 2 ตัว ขนาดเท่ากับถังออกซิเจนสำหรับนักประดาน้ำ และสามารถลงลึกถึง 1,000 เมตรได้ ลงในอ่าวดังกล่าวเป็นเวลา 8 เดือนเพื่อจับภาพระดับออกซิเจน จากนั้นก็มีการส่งข้อมูลผ่านสัญญาณดาวเทียม

ซีไกลเดอร์

สาเหตุที่ปล่อยหุ่นยนต์มาทิ้งไว้ เชื่อมาจากความปลอดภัยในบริเวณดังกล่าว ที่นักวิจัยเสียงต่อการถูกโจรสลัดปล้น รวมไปถึงความตึงเครียดระหว่างกลุ่มกัลฟ์ที่มีโอมานเป็นสมาชิก กับอิหร่านที่อยู่อีกฟากฝั่งของอ่าวโอมาน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน