เมื่อวันที่ 2 พ.ค. เอเอฟพีรายงานการค้นพบหลักฐานมนุษย์โบราณในฟิลิปปินส์ มีอายุย้อนไปไกลถึง 700,000 ปีก่อน พร้อมด้วยหลักฐานทางโบราณวัตถุที่บ่งบอกว่า มนุษย์ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานแรกเริ่มในเอเชียตะวันออก ฉลาดพอที่จะสร้างพาหนะทางน้ำ และอยากรู้อยากเห็นความกว้างใหญ่ไพศาลของทะเล

การค้นพบร่องรอยของมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์นี้ ทำให้น่าศึกษาอย่างยิ่งว่า มนุษย์กลุ่มนี้เดินทางข้ามทะเลจากเกาะลูซอนไปยังพื้นที่ที่เป็นแผ่นดินหลัก ถึง 1,000 ก.ม. โดยรู้วิธีต่อแพ หรือสร้างเรือได้อย่างไร

This handout image obtained from the French Museum of Natural History (MNHN) on May 2, 2018 shows Two cut flakes and a rib of rhinoceros at the Kalinga site, all evidence of the presence of a hominkin 709,000 years ago retrieved from the site of an archaeological dig at Kalinga in the Philippines. / AFP PHOTO

ผลงานการค้นพบนี้ตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ ระบุถึงการค้นพบเครื่องมือทำจากหิน ซากสัตว์เป็นกะโหลกแรด บริเวณที่เรียกว่าคาลินกา ในหุบเขาคากายัน บนเกาะลูซอน จึงเรียกมนุษย์กลุ่มนี้ว่า คาลินกาแมน มีอายุย้อนไปถึง 7 แสนปีก่อน

ก่อนหน้าการค้นพบครั้งนี้ เคยมีผู้พบกระดูกเท้าโบราณในเทือกเขาเซียร์รา มาเดร และประเมินว่า มนุษย์ยุคแรกอาศัยอยู่ในฟิลิปปินส์ อยู่ในช่วง 67,000 ปีก่อน

โธมัส อินกิกโก ผู้ศึกษาซากดึกดำบรรพ์หรือซากฟอสซิลจากสถาบันพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของฝรั่งเศส ผู้นำการเขียนผลงานการศึกษาครั้งนี้กล่าวว่า ทีมงานมีโชคพิเศษมากที่พบซากแรดถูกตัดแยกข้อต่อที่มีสภาพสมบูรณ์มาก และชัดเจนว่าเป็นการตัดด้วยเครื่องมือ จึงแสดงถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ยุคแรกเริ่มในพื้นที่แห่งนี้ เป็นยุคเดียวกับกลุ่มโฮโม อีเรกตัส หรือมนุษย์ที่ยืนตรง และโฮโม ฟลอเรเซียนซิส ที่เคยพบในโบราณสถานของอินโดนีเซีย

คณะผู้ศึกษาบางคนเห็นว่า เครื่องมือที่พบน่าจะทำมาเพื่อแล่เนื้อแรด ส่วนเครื่องมืออื่นๆ ออกแบบให้ใช้สำหรับตัดข้อต่อเพื่อนำไขกระดูกออกมา

This handout image obtained from the French Museum of Natural History on May 2, 2018 shows an archaeologist at work at the site of an archaeological dig at Kalinga in the Philippines.
/ AFP PHOTO

นอกจากนี้ทีมงานยังพบซากสัตว์กินได้อื่นๆ เช่น กวางสีน้ำตาล จิ้งจก เต่า สเตโกดอน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกช้างที่สูญพันธุ์ไปแล้ว รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ผสมช้างกับแมมมอธ

“เรารู้ว่ามนุษย์บางชนิดกินแรด แต่เราไม่รู้ว่าฆ่าเพื่อกิน หรือพบซากแล้วนำมากิน” นายอินกิกโก กล่าวและว่า ซากแรดเป็นตัวบ่งบอกถึงยุคที่สัตว์ชนิดนี้อาศัยอยู่ ระหว่าง 631,000 ถึง 777,000 ปีก่อน ตรงกับยุคไพลสโตซีน หรือยุคน้ำแข็งสุดท้าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน