โลกอาลัย “โคโค่” กอริลลาอัจฉริยะชื่อดัง-ตายแล้วในวัย 46 ปี (มีคลิป)

โลกอาลัย “โคโค่” – วันที่ 21 มิ.ย. เมโทร รายงานข่าวการสูญเสียครั้งสำคัญ ภายหลัง “โคโค่” กอริลลาเพศเมียชื่อดังที่มีความสามารถในการสื่อสารกับมนุษย์ด้วยภาษาสัญลักษณ์มือกว่า 2,000 แบบ ตายลงแล้วในวัย 46 ปีที่มูลนิธิกอริลลารัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อค่ำวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา

ปิดตำนานกอริลลาอัจฉริยะที่มีไอคิวราว 75-95 ใกล้เคียงกับมนุษย์ และหนึ่งในทูตสันถวไมตรีของเผ่าพันธุ์กอริลลาที่ผู้คนนับล้านทั่วโลกยกให้เป็นขวัญใจ กับภาพความอ่อนโยนของโคโค่ที่อุ้มลูกแมวตัวน้อยแนบอกอย่างทะนุถนอม แสดงให้เห็นถึงสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่น่ายกย่อง แม้โคโค่จะไม่เคยมีลูกเป็นของตัวเองก็ตาม

โลกอาลัย “โคโค่”

โคโค่กับบรรดาลูกแมวที่รักและเอ็นดูประหนึ่งเป็นลูกของตัวเอง /metro.co.uk/

แถลงการณ์ของมูลนิธิกอริลลาระบุว่า “ความสามารถทางอารมณ์และการรับรู้ของกอริลลาจะยังคงรังสรรค์โลกนี้ต่อไป มูลนิธิจะเชิดชูตำนวนของโคโค่ และพัฒนาภารกิจของเราให้ก้าวหน้า รวมถึงโครงการอนุรักษ์ในแอฟริกา เขตอนุรักษ์พันธุ์ลิงเอปบนเกาะเมาวี รัฐฮาวาย และแอพพลิเคชั่นภาษาสัญลักษณ์ของโคโค่เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งกอริลลา และเด็กๆ”

โลกอาลัย “โคโค่”

ดร.ฟรานซีน “เพนนี” แพทเตอร์สัน กับโคโค่ในวัยเด็กที่สวนสัตว์ในนครซานฟรานซิสโก /koko.org/

ทั้งนี้ โคโค่เกิดที่สวนสัตว์นครซานฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 4 ก.ค.2541 เดิมทีมีชื่อว่า “ฮานาบิโกะ” แปลว่าเด็กดอกไม้ไฟในภาษาญี่ปุ่น ต่อมา ดร.ฟรานซีน “เพนนี” แพทเตอร์สัน ทำการสอนภาษาสัญลักษณ์ให้กับโคโค่ซึ่งทำได้ดีมาก และเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในฐานะกอริลลาที่สื่อสารกับมนุษย์ได้ ควบกับตำแหน่งทูตตัวแทนสายพันธุ์

โลกอาลัย “โคโค่”

โคโค่นั่งเล่นตุ๊กตาเด็กผู้หญิงอย่างทะนุถนอมที่มูลนิธิกอริลลา เมื่อปี 2553 /koko.org/

ในปี 2517 ดร.แพทเตอร์สัน และ ดร.โรนัลด์ โคห์น ย้ายโคโค่ รวมถึงโครงการวิจัยจากสวนสัตว์ซานฟรานซิสโก ไปยังมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และก่อตั้งมูลนิธิกอริลลาขึ้น โดยมีสมาชิกกอริลลาพันธุ์เวสเทิร์น โลว์แลนด์ ชื่อ “ไมเคิล” ร่วมโครงการศึกษาเพิ่มมาอีก 1 ตัว และปี 2522 มูลนิธิกอริลลาย้ายไปอยู่ในพื้นที่เทือกเขาซานตาครูซ และต้อนรับสมาชิกใหม่ชื่อ “นดูม”

โลกอาลัย “โคโค่”

ดร.โรนัลด์ โคห์น และดร.ฟรานซีน “เพนนี” แพทเตอร์สัน ผู้ร่วมโครงการศึกษาสอนภาษาสัญลักษณ์ให้โคโค่ /koko.org/

ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาสัญลักษณ์ของโคโค่สร้างความตะลึงและเปิดใจกับกับคนทั่วโลกได้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของญาติต่างสายพันธุ์ของมนุษย์ โคโค่เคยปรากฏตัวออกสื่อหลายครั้ง

โลกอาลัย “โคโค่”

โคโค่โชว์ฝีมือถ่ายรูปตัวเองจากกระจก /National Geographic/

รวมทั้ง 2 ครั้งในสารคดีของเนชั่นแนล จีโอกราฟิก โดยครั้งแรกในปี 2521 เป็นสารคดีที่โคโค่ลองถ่ายรูปตัวเองในกระจก อีกครั้งในปี 2528 เป็นเรื่องราวของโคโค่และลูกแมวที่ชื่อ “ออลบอล” ซึ่งต่อมาเรื่องราวความสัมพันธ์แสนประทับใจของโคโค่ที่มีต่อออลบอล ถูกนำไปตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ Koko’s Kitten และใช้เป็นหนังสือประกอบการเรียนของโรงเรียนระดับประถมศึกษาทั่วโลก

อ่านต่อ:

เสือดาวตกบ่อน้ำลึก ลิงมีส่วนช่วยชีวิต เพราะมุงดูกันจนชาวบ้านเห็น

ชาวเน็ตตะลึง! ลิงหน้าเหมือนคน หลังนักท่องเที่ยวถ่ายคลิปได้กลางสวนสัตว์ (มีคลิป)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน