อย่างเท่! “บาร์บี้” ผลิตตุ๊กตา “วิศวกรหุ่นยนต์” หนุนฝันเด็กหญิงอยากเป็นวิศวกร

แมชเอเบิล รายงานว่า เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา บริษัทแมทเทลผู้ผลิตตุ๊กตา “บาร์บี้” ของเล่นยอดนิยมของเด็กผู้หญิง ได้ประกาศอาชีพใหม่ของบาร์บี้ นั่นก็คือวิศวกรหุ่นยนต์

เซ็ตตุ๊กตาบาร์บี้ชื่อ “อาชีพแห่งปี” ได้เปิดขายออนไลน์ในราคา 13.99 ดอลลาร์ หรือประมาณ 460 บาท โดยเซ็ตนี้มาพร้อมกับที่ป้องกันตา คอมพิวเตอร์แล็บท็อบสำหรับตุ๊กตา และหุ่นยนต์ตัวเล็ก

นอกจากอาชีพวิศวกรหุ่นยนต์แล้ว ยังมีอาชีพวิศวกรในสาขาต่างๆ เช่นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงอาชีพอย่างนักบินอวกาศ และนักพัฒนาเกมอีกด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เหล่านี้ได้ร่วมมือพัฒนาตุ๊กตาบาร์บี้ด้วย

วิศวะ บาร์บี้ หุ่นยนต์

“ฉันตื่นเต้นมากเพราะว่าบาร์บี้ทำให้เด็กผู้หญิงมีความฝันในแบบที่พวกฉันในตอนเด็กๆ ไม่สามารถมีได้” คิมเบอร์ลี ไบรอันท์ นักวิศวกรไฟฟ้าและผู้ก่อตั้ง แบล็คเกิร์ลโคด องค์กรทางการศึกษาซึ่งไม่แสวงผลกำไรที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากบริษัทแมทเทลเพื่อช่วยให้เด็กผู้หญิงมีความสนใจในสาขาวิชาต่างๆ ทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ผู้มีส่วนร่วมในการเวิร์กช็อปด้านหุ่นยนต์ขององค์กรยังได้รับตุ๊กตาบาร์บี้ตัวใหม่อีกด้วย

บริษัทแมทเทลยังใช้เหล่าสาวๆ บาร์บี้เป็นตัวการ์ตูนบนเว็บไซต์ Tynker เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและจูงใจเด็กๆ ในการเรียนเขียนโค้ดผ่านเว็บไซต์ โดยสิ่งที่สอนจะมีวิธีการแก้ปัญหา ตรรกะ และการเขียนโค้ดต่างๆ

คิมเบอร์ลีเชื่อว่าตุ๊กตาบาร์บี้ที่มีอาชีพวิศวกรหุ่นยนต์ ซึ่งผลิตออกมาสี่ตัวสี่สีผิว จะช่วยให้เด็กๆ จินตนาการถึงตัวเองในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีตั้งแต่ยังเด็ก โดยผู้หญิงในสหรัฐอเมริกามีเพียง 24 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่ทำงานทางด้านเทคโนโลยี และคิมเบอร์ลี่กล่าวว่านั่นทำให้นั่นทำให้ตัวแทนของผู้หญิงในสาขาอาชีพเหล่านั้นขาดแคลน และทำให้ผู้หญิงถูกกีดกันจากการเข้าสู่อาชีพทางด้านเทคโนโลยี

วิศวะ บาร์บี้ หุ่นยนต์

ซินเธีย บรีซีล รองศาสตราจารย์ของสาขามีเดียอาร์ตและวิทยาศาสตร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และผู้ก่อตั้งบริษัทหุ่นยนต์ จีโบ รับประกันว่าตุ๊กตาบาร์บี้และเครื่องประดับต่างๆ จะสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นวิศวกรหุ่นยนต์จริงๆ โดยความละเอียดของตัวสินค้าจะทำให้เห็นถึงการทำงานในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และส่วนฟันเฟืองของหุ่นยนต์ก็สามารถใช้งานได้จริงด้วย

ซินเธียหวังว่าตุ๊กตาบาร์บี้ชุดนี้จะนำเหล่าเด็กผู้หญิงไปสู่การเรียนรู้เรื่องปัญญาประดิษฐ์ และสนับสนุนให้พวกเธอเรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์และวิศวกรรมมากขึ้น การเล่นบาร์บี้อย่างมีจินตนาการอาจรวมถึงการเล่นหุ่นยนต์โดยจินตนาการให้มันทำงานบ้านหรือการบ้านด้วย

“ฉันคิดว่ามันเปิดโอกาสให้เด็กผู้หญิงจินตนาการได้ว่าหุ่นยนต์สามารถจะอยู่ร่วมกับพวกเขาในชีวิตประจำวันได้”

จุดประสงค์ดังกล่าวไม่ใช่เพียงเรื่องเล็กเรื่องหนึ่ง ด้วยนวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีอยู่ในสินค้าซึ่งเราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สมาร์ทโฟน รถ หรือแม้แต่กริ่งหน้าประตู ซินเธียกล่าวว่ามันจำเป็นที่แรงงานด้านเทคโนโลยีต้องมีหลากหลายแบบเท่าที่จะเป็นไปได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน