เมื่อ 6 ธ.ค. บีบีซีรายงานคำให้สัมภาษณ์ของนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ในฐานะหัวหน้าคณะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในรัฐยะไข่ จากการแต่งตั้งของนางออง ซาน ซู จี ผู้นำพม่า หลังลงพื้นที่สำรวจสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ว่าพบความตึงเครียดในพื้นที่ และมีการสู้รบ แต่จะไม่ขอใช้คำว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เหมือนที่มีบางคนใช้

Former UN secretary-general Kofi Annan, head of the nine-member multi-sector advisory commission on Myanmar's Rakhine State, sits with commission members Laetitia Van Den Assum (L), Mya Thidar (2nd L) and Saw Khin Tint (R) during a press conference in Yangon on December 6, 2016. Around 21,000 Rohingya have fled to Bangladesh in recent weeks to escape violence in neighbouring Myanmar, an official of the International Organisation for Migration said on December 6. / AFP PHOTO / ROMEO GACAD

โคฟี อันนัน พร้อมสมาชิกคณะที่ปรึกษาแก้ไขปัญหารัฐยะไข่ 9 คน แถลงผลการสำรวจพื้นที่ยะไข่ เมื่อ 6 ธ.ค. AFP PHOTO / ROMEO GACAD

กลุ่มช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่างกล่าวว่า สถานการณ์ในยะไข่นั้นวิกฤตมาก เพราะชาวโรฮิงยาอพยพหนีตายไปยังพรมแดนบังกลาเทศแล้วกว่า 21,900 คนในช่วงสองเดือน นางซู จีเองถูกวิจารณ์อย่างหนักจากนานาประเทศในการรับมือกับวิกฤตดังกล่าว

ส่วนนายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซียออกโรงติงว่า มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้น หลังกลุ่มโรฮิงยาให้ข่าวว่า ทหารพม่าล่วงละเมิดสิทธิขั้นร้ายแรง ทั้งข่มขืนหญิงมุสลิม ยิง และเผาบ้านขับไล่ชาวโรฮิงยา

myanmar3

ภาพถ่ายดาวเทียมที่องค์กรฮิวแมนไรต์วอตช์ระบุว่า บ้านเรือนชาวโรฮิงยาถูกเผาทำลาย

“คุณจะรู้สึกได้ถึงความหวาดหวั่นของทั้งสองชุมชน (พุทธและมุสลิม) เป็นความกลัวและหวาดระแวง ความกลัวนั้นเพิ่มสูงขึ้น และเราจำเป็นต้องหาทางลดระดับลง และกระตุ้นให้ชุมชนเชื่อมถึงกัน” นายอันนันกล่าว พร้อมย้ำว่า คณะผู้สังเกตการณ์ต้องระวังมากๆ ที่จะใช้คำว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน