เอเอฟพีรายงานเมื่อ 30 ม.ค. ว่ากระแสคัดค้านการใช้อำนาจบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามบังคับใช้คำสั่งพิเศษว่าด้วยการงดรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย รวมถึงระงับการออกวีซ่าสำหรับพลเมืองผู้ถือสัญชาติ 7 ประเทศมุสลิม ขยายวงกว้างออกไป ผู้ชุมนุมจำนวนมากยังรวมตัวประท้วงนายทรัมป์ ทั้งที่สนามบินโอฮาราในนครชิคาโก และสนามบินจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในนครนิวยอร์ก อย่างไรก็ตามนายทรัมป์ยังคงยืนกรานจะใช้คำสั่งนี้ต่อไป

พอร์ตแลนด์ โอเรกอน REUTERS/Steve Dipaola

“อเมริกาเป็นดินแดนแห่งอิสรภาพและบ้านของผู้กล้าหาญมาโดยตลอด เราจะทำให้ประเทศนี้มีเสรีภาพและความปลอดภัยต่อไป ซึ่งสื่อเองก็รู้แต่ปฏิเสธที่จะนำเสนอ และเพื่อให้เกิดความชัดเจน คำสั่งพิเศษนี้ไม่ใช่การห้ามชาวมุสลิมเข้าประเทศอย่างที่สื่อรายงาน สิ่งนี้ไม่ใช่ประเด็นทางศาสนา นี่คือเรื่องของการก่อการร้าย และการปกป้องประเทศให้ปลอดภัย” แถลงการณ์ของทรัมป์ระบุ

บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม / AFP PHOTO / Belga / THIERRY ROGE / Belgium OUT

ด้านนายจอห์น แม็กเคน ส.ว.รัฐอริโซนา และนางลินด์เซย์ เกรแฮม ส.ว.รัฐเซาท์แคโรไลนา พรรครีพับลิกัน ต้นสังกัดของนายทรัมป์ คำสั่งพิเศษของนายทรัมป์เปรียบเสมือนบาดแผลที่เกิดจากการทำร้ายตัวเองในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งยังส่งสัญญาณว่าอเมริกาไม่ต้องการให้มุสลิมเข้าประเทศจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม หลายคนจึงวิตกกังวลว่าคำสั่งของนายทรัมป์จะช่วยให้กลุ่มก่อการร้ายมีสมาชิกเพิ่มขึ้นแทนที่จะเป็นการยกระดับมาตรการด้านความมั่นคงของประเทศ

ความเห็นดังกล่าวถูกนายทรัมป์ตอบโต้ว่าเป็นสิ่งผิด และอ่อนแอ ทั้งยังเสนอให้ส.ว.ทั้งสองควรจะพุ่งความสนใจไปที่ไอเอส (กองกำลังรัฐอิสลาม) การอพยพ และความปลอดภัยระหว่างชายแดน แทนความพยายามปลุกปั่นที่จะก่อสงครามโลกครั้งที่ 3


วันเดียวกัน นักเคลื่อนไหวของอังกฤษระดมรายชื่อทางอินเตอร์เน็ตได้เกิน 1 ล้านรายชื่อ เพื่อเรียกร้องให้ทางการอังกฤษยกเลิกกำหนดการเชิญนายทรัมป์เยือนอังกกฤษอย่างเป็นทางการ และยกเลิกแผนอนุญาตให้นายทรัมป์เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 รวมถึงเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เพื่อตอบโต้การลงนามกีดกันผู้ลี้ภัย และว่านายทรัมป์เป็นบุคคลเหยียดเพศ หยาบคาย ไม่สมควรได้รับเกียรติให้เข้าเฝ้าควีน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน