พืช-สัตว์1ล้านชนิดจ่อสูญพันธุ์ รายงานยูเอ็นชี้ชัดมนุษย์คือตัวการ

พืช-สัตว์1ล้านชนิดจ่อสูญพันธุ์เดอะ การ์เดียน รายงานสรุปเนื้อความสำคัญจากรายงานประเมินสถานการณ์โลกด้านความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศวิทยา Global Assessment Report on Biodiversity and Ecosystem Services ชองสหประชาชาติ ที่เพิ่งเผยแพร่ ว่า มนุษย์กำลังทำให้สัตว์และพืช 1 ล้านชนิดเสี่ยงสูญพันธุ์อยู่ในขณะนี้

สังคมมนุษย์ในปัจจุบันก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศอย่างรวดเร็วมากกว่าเมื่อ 10 ล้านปีก่อนตั้งแต่สิบเท่าจนถึงหลายร้อยเท่า

รายงานการวิจัยหนา 1,800 หน้า รวบรวมข้อมูลเป็นเวลา 3 ปี จากความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์และนักการทูตทั่วโลกกว่า 450 คน ระบุว่าระบบนิเวศลดลงครึ่งหนึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตหลายล้านชนิดเสี่ยงต่อการสูญุพันธุ์

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมลดลงถึงร้อยละ 82 สาเหตุใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ส่วนสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 2 ใน 5 ชนิดเสี่ยงสูญพันธุ์ ขณะที่ปะการังก่อแนวหินปะการังตามแนวหินโสโครก 1 ใน 3 และสัตว์น้ำลดลงเกือบ 1 ใน 3

FILE – In this Dec. 14, 2011, file photo, a lemur looks through the forest at Andasibe-Mantadia National Park in Andasibe, Madagascar. (AP Photo/Jason Straziuso, File)

สำหรับแมลงซึ่งมีข้อมูลไม่ชัดเจนนัก มีการประเมินว่าอย่างน้อยแมลง 1 ใน 10 ชนิดกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์

ผลจากการที่ธรรมชาติเสียสมดุลทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาลทั้งจากคุณภาพดินที่ด้อยลงทำให้พืชผลการเกษตรลดลง การขาดแคลนน้ำจืดและการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ

โรเบิร์ต วัตสัน ประธานสำนักบริการความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศวิทยา กล่าวว่าระบบนิเวศกำลังเสื่อมโทรมทำให้เศรษฐกิจ ชีิวิตความเป็นอยู่ ความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพของคนทั่วโลกได้รับผลกระทบ

FILE – In this June 21, 2015, file photo, a fisherman unloads his catch in the port of Suao, north eastern Taiwan. (AP Photo/Wally Santana, File)

ปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้แทนรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายจากทั่วโลกตระหนักถึงกระแสความเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจนำไปสู่การทบทวนกฎระเบียบการค้าและการลงทุนในป่า ไปจนถึง การเปลี่ยนพฤติกรรมของแต่ละคน เช่น ลดการบริโภคเนื้อและสินค้าอื่นๆ เห็นได้จากการที่รัฐสภาอังกฤษประกาศแผนฉุกเฉินเพื่อรับมือสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ขณะที่นักการเมืองในสหรัฐอเมริกาและสเปนอภิปรายถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมใหม่

รายงานยังชี้ให้เห็นว่าผืนดิน 3 ใน 4 ของโลกเปลี่ยนไปเป็นที่ดินเพื่อการเกษตร หรือถูกคอนกรีตเททับ หรือ เป็นอ่างเก็บน้ำในเขื่อน

พืช-สัตว์1ล้านชนิดจ่อสูญพันธุ์

FILE – In this March 20, 2018, file photo, giraffes and zebras congregate under the shade of a tree in the afternoon in Mikumi National Park, Tanzania. (AP Photo/Ben Curtis, File)

ขณะที่ 2 ใน 3 ของทะเลเปลี่ยนไปเป็นฟาร์มปลา เส้นทางเดินเรือ หรือถูกวางทุ่นระเบิดใต้น้ำและโครงการ อื่นๆ

ส่วน 3 ใน 4 ของแม่น้ำและทะเลสาบก็ผันน้ำมาใช้ในการเกษตรหรือปศุสัตว์ ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตกว่า 500,000 ชนิดไม่มีที่อยู่อาศัยเพียงพอที่จะอยู่รอดต่อไปในระยะยาวซึ่งเกรงว่าสัตว์หลายชนิดอาจจะสูญหายไปในอีกไม่กี่สิบปีนี้

สาเหตุหลักที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมเป็นเพราะการเกษตรและการประมง เนื่องจากต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วเพื่อเลี้ยงประชากรมนุษย์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นและตอบสนองต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ในทางกลับกัน อุตสาหกรรมเนื้อได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เพราะใช้พื้นที่ปลูกหญ้าให้วัวกินร้อยละ 25 ของพื้นที่ที่ไม่มีน้ำแข็งปกคลุม แต่กลับปล่อยแก๊สที่ก่อนให้เกิดภาวะเรือนกระจกร้อยละ 18 ของทั้งโลก ขณะที่การเกษตรใช้พื้นที่ร้อยละ 12 และปล่อยแก๊สเรือนกระจกน้อยกว่าร้อยละ 7

FILE – In this Dec. 4, 2018, file photo, birds fly past a smoking chimney in Ludwigshafen, Germany. (AP Photo/Michael Probst, File)

รายงานยังระบุว่าการเพาะปลูกพืชที่ทำเงินและปศุสัตว์ที่มีมูลค่าสูงกำลังรุกรานผืนป่าและระบบนิเวศ ทำให้กัดกร่อนหน้าดินซึ่งส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ลดลง เนื่องจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้เกิดโรคและความแห้งแล้ง

ส่วนพื้นทีุ่ชุ่มน้ำก็เหือดแห้งไปร้อยละ 83 แล้วตั้งแต่ 300 กว่าปีก่อน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและชีิวิตความเป็นอยู่ของนกนานาชนิด ขณะที่ป่าถูกแผ้วถางทำลาย โดยเฉพาะป่าในเขตร้อนชื้น เพราะเพียงแค่ 13 ปีแรกของศตวรรษนี้ ก็มีป่าถูกตัดโค่นร้อยละ 7 ของป่าทั้งโลก หรือมีขนาดใหญ่กว่าประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษรวมกันเสียอีก

และแม้ว่าการตัดไม้ทำลายป่าโดยรวมลดลง แต่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวก็ทำให้ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพน้อยลง ส่วนอุตสาหกรรมประมงก็กินพื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของมหาสมุทร ทำให้ปลาถูกจับมากเกินไปถึง 1 ใน 3

ขณะที่มนุษย์ยังปล่อยแก๊สเรือนกระจกอยู่ แม้ไม่เกินเป้าหมายตามข้อตกลงปารีสก็ตาม แต่จะเห็นได้ว่าคนที่อยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศมากกว่าประเทศยากจนถึง 4 เท่าและช่องว่างก็ยิ่งห่างขึ้นเรื่อยๆ

FILE – In this Aug. 30, 2008, file photo, fish swim next to a coral reef at Cayo de Agua in archipelago Los Roques, Venezuela. (AP Photo/Fernando Llano, File)

สิ่งแวดล้อมโลกเลวร้ายลงเรื่อยๆ เพราะมนุษย์ปล่อยน้ำเสียร้อยละ 80 ลงในแม่น้ำ ทะเลสาบและมหาสมุทรโดยไม่ผ่านการบำบัดซึ่งมีทั้งสารโลหะหนักและสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมด้วย

ส่วนขยะพลาสติกก็เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 30 กว่าปีก่อน กระทบเต่าทะเลร้อยละ 86 นกทะเลร้อยละ 44 และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมร้อยละ 43

JORDI CHIAS / NATIONAL GEOGRAPHIC

นักวิจัยเตือนว่าอีก 18 เดือนข้างหน้า โลกจะเผชิญกับภาวะวิกฤต เพราะจะเป็นครั้งแรกที่ความหลากหลายทางชีวภาพไม่ได้บรรจุในวาระการประชุม จี 8 ส่วนปีหน้า จีนจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเป้าหมายใหม่ของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งทำให้หัวหน้าองค์กรความหลากหลายทางชีวภาพของสหประชาชาติวิตกกังวลว่าฝ่ายการเมืองยังไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะลงมืออย่างจริงจัง

คำแนะนำส่งท้ายรายงานคือ ทุกฝ่ายทั้งด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีจะต้องประสานงานกัน ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติจะต้องกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักและร่วมกันลงทุนในสาธารณูปโภคที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน