โรฮิงยารำลึก2ปี วันพม่าเริ่มปราบ – 7แสนชีวิตทิ้งยะไข่หนีตาย

โรฮิงยารำลึก2ปีเอพี รายงานว่า วันที่ 25 ส.ค. ชาวโรฮิงยาเรือนแสนรวมตัวชุมนุมกันอย่างสงบ ที่ค่ายผู้ลี้ภัยกูตูปาลอ เขตค็อกซ์บาซาร์ ทางใต้ของบังกลาเทศ เพื่อรำลึกครบรอบ 2 ปี การปราบปรามชาวโรฮิงยาจากกองทัพพม่า ท่ามกลางเสียงร้องไห้และเสียงสวดมนต์

การชุมนุมของชาวโรฮิงยาอย่างสงบวาระนี้ มีตำรวจและทหารรักษาชายแดนบังกลาเทศตรึงกำลังรักษาความปลอดภัย ผู้ชุมนุมที่เดินขบวนราว 50,000 คน เรียกร้องให้รัฐบาลเมียนมามอบสิทธิการเป็นพลเมืองก่อนที่พวกตนจะกลับไป

โรฮิงยารำลึก2ปี

Rohingya refugees take part in a prayer as they gather to mark the second anniversary of the exodus at the Kutupalong camp in Cox’s Bazar, Bangladesh, August 25, 2019. REUTERS/Rafiqur Rahman

“เราต้องการบอกโลกว่า เรามีสิทธิที่จะกลับไป เราต้องเป็นพลเรือน เราต้องการบ้านและที่ดินของเราคืน เมียนมาเป็นประเทศของเรา และเราคือโรฮิงยา” นายมูฮิบ อุลเลาะห์ ผู้จัดการเดินขบวนกล่าว

Rohingya refugees gather to mark the second anniversary of the exodus at the Kutupalong camp in Cox’s Bazar, Bangladesh, August 25, 2019. REUTERS/Rafiqur Rahman/File Photo

นับจากวันที่ 25 ส.ค. 2560 ชาวโรฮิงยามากกว่า 730,000 คน หลบหนีออกจากรัฐยะไข่ของพม่า เข้าไปในฝั่งบังกลาเทศ หลังการปราบปรามของทหาร คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของสหประชาชาติระบุว่า เป็นการปราบปรามที่มีเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่รัฐบาลเมียนมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

FILE PHOTO: บ้านเรือนถูกเผาที่เมืองหม่องดอว์ รัฐยะไข่ เมื่อ 27 ก.ย.2560 REUTERS/Soe Zeya Tun/File Photo

ถึงวันนี้ แม้รัฐบาลเมียนมาและรัฐบาลบังกลาเทศตกลงที่จะให้ผู้ลี้ภัยกลับเมียนมา แต่ส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะเดินทางกลับ ด้วยความหวาดกลัว แม้เจ้าหน้าที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอชซีอาร์ พยายามเริ่มขั้นตอนการส่งกลับชาวโรฮิงยาชุดแรก 3,450 คน แต่ไม่มีใครยอมกลับไป ยูเอ็นจึงเรียกร้องว่า การสร้างความมั่นใจมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับภารกิจนี้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน