นักวิทยาศาสตร์ชี้ “เนสซี” แห่งทะเลสาบล็อกเนส อาจเป็น “ปลาไหลยักษ์”

นักวิทยาศาสตร์ชี้ “เนสซี”ซีเอ็นเอ็น รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง เนสซี ของนักวิทยาศาสตร์ครั้งใหม่ ว่าแม้รูปถ่ายสัตว์ประหลาดแห่งทะเลสาบล็อกเนส ทางตอนเหนือของ สกอตแลนด์ ที่ถ่ายไว้เมื่อปีพ.ศ. 2477 เป็นเรื่องเหลวไหลหลอกลวง แต่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบหลักฐานใหม่ที่อาจนำไปสู่ข้อสรุปว่า เนสซีอาจเป็น ปลาไหลยักษ์

นีล เกมเมลล์ นักพันธุศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์แห่งโอตาโกและคณะทำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในทะสาบล็อกเนส เมื่อเดือน มิ.ย. 2561 โดยเก็บน้ำ 250 ตัวอย่างจากหลายๆ จุดและต่างระดับความลึกกันซึ่งพบดีเอ็นเอของปลาไหลจำนวนมากในทะเลสาบ

นักวิทยาศาสตร์ชี้ “เนสซี”

In this file photo taken on June 11, 2018 Professor Neil Gemmell takes samples on his boat as he conducts research into the DNA present in the waters of Loch Ness in the Scottish Highlands, Scotland. / AFP/GETTY IMAGES/

คณะนักวิจัยพบว่าในทะเลสาบมีสิ่งมีชีวิตประมาณ 3,000 สปีชีส์ ส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากและไม่เคยเห็นมาก่อน

ก่อนหน้านี้เคยมีทฤษฎีว่าด้วยเนสซีว่าอาจเป็นมังกร หรือเพลสิโอซอร์ ที่เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่อาศัยในน้ำหรืออาจเป็นเพียงแค่ปลาดุกยักษ์ ตามทฤษฎีของสตีฟ เฟลธัม นักล่าเนสซี ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่น่าเป็นไปได้เพราะทีมวิจัยไม่พบดีเอ็นเอของปลาดุก

นักวิทยาศาสตร์ชี้ “เนสซี”

This 1934 photo of the beast was later proved to be a hoax, created using a toy submarine and a carved monster head. Credit: AP

ขณะที่ทฤษฎีปลาไหล น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดเพราะพบดีเอ็นเอของปลาไหลมากอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่ทราบว่าเป็นปลาไหลยักษ์หรือปลาไหลตัวเล็ก ซึ่งปกติแล้ว ปลาไหลที่โตเต็มที่อาจมีความยาว 122-182 ซม. และบางคนเคยเห็นปลาไหลที่มีความยาวมากกว่านี้

นีลสรุปว่าการไม่พบหลักฐานของเนสซีไม่ได้หมายความว่าไม่มีเนสซีจริงๆ แต่อาจจะมีสัตว์ประหลาดในทะเลสาบล็อกเนสส์ก็ได้ เพียงแต่ยังไม่พบตัว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน