ระดมทีม78คน ผ่าตัดแยกแฝดสยามสำเร็จ ค่าใช้จ่ายฟรีช่วยพ่อแม่ภารโรง

ระดมทีม78คนซีเอ็นเอ็น รายงานว่า แพทย์ไนจีเรียเปิดเผยผลงานอันน่าปลาบปลื้ม จากการผ่าตัดแยกฝาแฝดสยามชาวไนจีเรียที่มีหน้าอกและหน้าท้องติดกันเป็นผลสำเร็จ หนูน้อยทั้งสอง เมอร์ซี และกูดเนสส์ อีเด ได้กลับบ้านแล้วหลังจากผ่าตัดเมื่อ 6 สัปดาห์ก่อน

การผ่าตัดเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 คณะผ่าตัดใช้แพทย์และทีมงานทั้งหมด 78 คน นพ.ทาโย ฮาอาสทรัป โฆษกโรงพยาบาลแห่งชาติไนจีเรีย นครอาบูจา เปิดเผยความสำเร็จนี้กับซีเอ็นเอ็น ว่าการผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 13 ชั่วโมงและใช้ห้องผ่าตัด 2 ห้อง ซึ่งน่ายินดีมากที่ทีมแพทย์ล้วนเป็นชาวไนจีเรียและเป็นครั้งแรกที่ศูนย์การแพทย์ของรัฐผ่าตัดแยกแฝดสยามสำเร็จ

ที่สำคัญ พ่อแม่ของหนูน้อยทั้ง 2 ไม่ต้องออกเงินเลย แม้ค่ารักษาสูงลิ่วกว่าหลายพันดอลลาร์ ทางโรงพยาบาลจัดการให้เนื่องจากพ่อแม่ฝาแฝดทำงานเป็นภารโรงและไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาแน่นอน

ฝาแฝดเกิดเมื่อวันที่ 13 ส.ค.2562 แต่ต้องเลื่อนการผ่าตัดแยกร่างออกไปจนกระทั่งถึงเดือน พ.ย. เนื่องจากขั้นตอนการผ่าตัดมีความซับซ้อนและอันตรายมากเพราะฝาแฝดใช้อวัยวะบางอย่างร่วมกัน








Advertisement

นพ.เอ็มมานูเอล อาเมห์ ศัลยแพทย์ หัวหน้าทีมผ่าตัด บอกว่าฝาแฝดมีหน้าอกติดกัน ใช้กะบังลมและปอดข้างหนึ่งร่วมกัน และมีภาวะผนังหน้าท้องพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้ช่องท้องไม่ปิด ทีมแพทย์จึงต้องผ่าตัดซ่อมแซมบริเวณที่ฉีกขาดตรงสะดือซึ่งต้องรออีกหลายสัปดาห์กว่าร่างกายจะฟื้นฟู จึงต้องวางแผนผ่าตัดในเดือน พ.ย.

สิ่งที่แพทย์ศัลยกรรมพลาสติกเป็นกังวลมาก คือ จะต้องเปิดแผลขนาดใหญ่ที่บริเวณหน้าอกซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ หากผ่าตัดแยกร่างออกจากกันแล้ว แพทย์จึงสร้างหนังเทียมที่มีขนาดใหญ่เพื่อปิดแผลเอาไว้ซึ่งต้องรออีกหลายสัปดาห์

ระดมทีม78คน

รายงานในนิตยสารคลินิก ออฟ อนาโตมี ที่ตีพิมพ์ในปี 2560 ระบุว่าแฝดสยามพบได้ยากมาก โดยมีสัดส่วนเพียง 1 ใน 5 หมื่นเท่านั้น

ส่วนอัตราการเสียชีวิตขณะคลอดมีร้อยละ 60 ทำให้อัตราการคลอดแฝดแบบนี้ขยับขึ้นเป็น 1 ต่อ 2 แสน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 70 เป็นเพศหญิง

+++++

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ผ่าแยกแฝดภูฏาน หมอออสซี่ระดมทีมลงมีด 6 ชั่วโมง – สำเร็จ!

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน