ช่วยสิงโต10ชีวิต ถูกเพาะมาอยู่อย่างอนาถา รอวันให้มนุษย์ล่าเล่นๆ

ช่วยสิงโต10ชีวิต – เมื่อ 16 ก.ย. เดลีเมล์ รายงานชะตาชีวิตสิงโต 10 ตัว ที่รอดพ้นความโชคร้าย เมื่อมีคนช่วยชีวิตจากการถูกเลี้ยงในฟาร์มเพื่อเป็นเหยื่อสำหรับการล่าสัตว์ ไปอยู่เขตคุ้มครอง

สิงโตเหล่านี้เป็นเหยื่อการล่าสัตว์แบบ “ล่าในกระป๋อง” ที่แอฟริกาใต้ สัตว์ป่าถูกเพาะขึ้นมาและจะถูกจำกัดในพื้นที่แคบๆ เพื่อเป็นเป้าของ “กีฬา” ประเภทหนึ่งผู้เล่นมักล่าถ้วยรางวัล เป็นวิธีการทารุณกรรมสัตว์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

 

อาสาสมัครชาวเยอรมันคนหนึ่งซึ่งร่วมงานกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าในแอฟริกาโพสต์คลิปขณะปล่อยสิงโตเข้าป่าคืนสู่ธรรมชาติ

อาคารที่ไว้ให้นักล่าเข้าไปยิงสิงโต

รายละเอียดระบุว่า เมื่อเดือน พ.ย. 2562 ทีมเคยเข้าไปค้นหาและช่วยเหลือสิงโตจากฟาร์มแห่งหนึ่งในแอฟริกาใต้และเห็นสิงโต 10 ตัวถูกขังโดยไม่ได้รับแสงแดดหรือหญ้า เจ้าหน้าที่ต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อช่วยชีวิตสิงโตได้สำเร็จ

ในที่นี้รวมถึงการเดินทางด้วยรถยนต์เป็นระยะทาง 5,000 กิโลเมตรและใช้เวลาเกือบ 10 ชั่วโมงเพื่อย้ายสิงโตจากคอกขังและดำเนินการด้านเอกสารเพื่อช่วยเหลือสิงโต

ช่วยสิงโต10ชีวิต

ภายในอาคารที่เก็บสิงโตไว้เป็นฝูงแล้วเปิดให้นักล่าเข้าไปยิงพวกมัน

การเคลื่อนย้ายสิงโตเหล่านี้ต้องใช้ยาสลบเพื่อให้สงบและลดความเครียดจากการถูกขังในที่มืดและไม่มีหญ้า จากนั้น ขนย้ายขึ้นรถบรรทุกเพื่อไปปล่อยที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าซึ่งพวกมันจะได้เรียนรู้กการเป็นสิงโตอีกครั้ง ท่ามกลางป่าไม้และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม อีกทั้ง จะได้อยู่ด้วยกัน

“การล่าในกระป๋อง” เป็นการล่าถ้วยรางวัลที่เป็นการล่าไม่ยุติธรรมเพราะง่ายเกินไปสำหรับนักล่าสัตว์ สัตว์บางตัวถูกขังไว้ในที่จำกัด เช่น มีรั้วกั้นเพื่อให้นักล่าสังหารได้ง่ายขึ้น

ถ้าไม่มีคนมาช่วย มันต้องตายเพื่อความเพลิดเพลินของนักล่า

สิงโตส่วนใหญ่ถูกขังไว้ในคอกขังแคบๆ แทบจะไม่ได้กินอาหารหรือไม่มีอาหารให้กินเลยและยังอยู่อย่างไม่ถูกสุขอนามัย อีกทั้ง ไม่ได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์ทั้งสิ้น

ส่วนนักล่าจะเลือกสิงโตเป็นเป้าและเลือกวิธีการสังหารที่ง่ายที่สุด แม้กระทั่งนั่งยิงปืนในรถ ขณะที่สิงโตไม่มีโอกาสยืนเพราะพื้นที่เล็กและแคบมาก สิงโตเพศผู้มักจะต่อสู้กันเองเพราะไม่มีอาณาเขตของแต่ละตัวทำให้มีรอยอแผลเป็นบนใบหน้า

เจ้าป่าแทนที่จะได้อยู่ในป่า

ธุรกิจล่าในกระป๋องเติบโตอย่างรวดเร็วในแอฟริกาใต้ซึ่งมีฟาร์มสิงโตกว่า 160 แห่งที่เพาะสิงโตเพื่อเกิดมาเป็นเป้าของชาวต่างชาติผู้ร่ำรวยและกระหายถ้วยรางวัล

คาดว่าอาจมีสิงโตอยู่ในคอกขังประมาณ 5,000 ตัว ส่วนสิงโตในป่าธรรมชาติมีประมาณ 2,000 ตัว

ปัจจุบันสิงโตได้อยู่ในเขตคุ้มครอง / Wild@Life e.V,

//////////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

พรานคิดล่าแรด เจอฝูงสิงโตขย้ำตายหมู่กลางดึก พบชิ้นส่วนถูกกิน 3 ศพ

ช่วยสิงโต-หมีตัวสุดท้ายแห่งโมซุล พ้นแดนสงครามได้อยู่บ้านใหม่แล้ว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน