วันที่ 30 ก.ย. บีบีซี รายงานว่า นายทิโมธี เรย์ บราวน์ ผู้ป่วยที่หายขาดจาก ไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องของมนุษย์ (เอชไอวี: HIV) คนแรก เสียชีวิตแล้วด้วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย: leukaemia) ในวัย 54 ปี

นายทิโมธี เรย์ บราวน์ Manuel Valdes/AP

นายบราวน์เป็นที่รู้จักในชื่อของ ผู้ป่วยเบอร์ลิน (the Berlin patient) ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกจากผู้บริจาคที่มีความต้านทานตามธรรมชาติต่อเอชไอวี เท่ากับว่า นายบราวน์ไม่ต้องใช้ยาต้านไวรัส (anti-retroviral therapy) อีกต่อไป และอยู่บนโลกตลอดช่วงชีวิตที่เหลือโดยไร้เอชไอวีที่นำไปสู่อาการภูมิคุ้มกันเสื่อม (เอดส์: AIDS)

นายบราวน์เกิดที่สหรัฐอเมริกา ได้รับการวินิจฉัยติดเอชไอวี ขณะอาศัยอยู่ในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนีเมื่อปี 2538 ต่อมา ปี 2550 เป็น มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์เฉียบพลัน (acute myeloid leukaemia) จากไขกระดูก

นายทิโมธี เรย์ บราวน์ Manuel Valdes/AP

ทว่าการรักษามะเร็งกลับมีส่วนทำลายไขกระดูกที่เหลือด้วย จึงมีการปลูกถ่ายไขกระดูกจากผู้บริจาคที่มีการกลายพันธุ์หายากในส่วนของดีเอ็นเออย่างยีน ซีซีอาร์ 5 (CCR5) ซึ่งเป็นคำสั่งพันธุกรรมที่สร้างช่องทางให้เอชไอวีเดินทางผ่านเข้ามาและทำให้เซลล์ติดเชื้อ

แต่การกลายพันธุ์ดังกล่าวจะปิดกั้นช่องทางให้เอชไอวีเดินทางผ่านเข้ามา ทำให้มนุษย์มีความต้านทานต่อเอชไอวี

นายทิโมธี เรย์ บราวน์ (ขวา) และนายทิม เฮิฟฟ์เกิน คู่รัก / My Fabulous Disease

ภายหลังการปลูกถ่ายไขกระดูก นายบราวน์มีระดับเอชไอวีในกระแสเลือดลดลงมาสู่ ระดับไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้ (undetectable levels) และไม่ต้องรักษาด้วยยาต้านไวรัสอีกต่อไป ถือเป็นการรักษาอย่างมีประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม มะเร็งเม็ดเลือดขาวกลับมากำเริบอีกครั้งเมื่อเดือนเมษายน และลามไปถึงสมองและไขสันหลัง ก่อนเสียชีวิตในที่สุด

นายทิม เฮิฟฟ์เกิน ชายคู่รักของนายบราวน์ แจ้งข่าวร้ายบนเฟซบุ๊กระบุ “เป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างยิ่งที่ผมจะประกาศว่า ทิโมธีจากไปแล้ว มีผมและเพื่อนฝูงอยู่ข้างกาย หลังต่อสู้กับลูคีเมีย 5 เดือน เขามุ่งมั่นทำงานด้วยชีวิตเพื่อบอกเรื่องราวถึงการรักษาเอชไอวีของตัวเอง และกลายมาเป็นทูตแห่งความหวัง”

 

แม้ว่าวิธีการรักษาของนายบราวน์จะเสี่ยงและโหมเกินไปที่จะใช้เหมือนวิธีการรักษามะเร็งตามปกติ อีกทั้ง ค่าใช้จ่ายแพงเกินไปสำหรับประชากรทั่วโลก 38 ล้านคน ส่วนใหญ่มาจาก แอฟริกาใต้ซาฮารา (sub-Saharan Africa) ที่อาจมีชีวิตอยู่กับเอชไอวี แต่เรื่องราวนายบราวน์สร้างแรงบันดาลใจแก่นักวิทยาศาสตร์ ผู้ป่วย และโลก จะที่ค้นพบการรักษาโรคร้ายในที่สุด

ด้าน ศาสตราจารย์อาดีบา คามารุลซามัน ประธาน สมาคมโรคเอดส์นานาชาติ แสดงความอาลัยด้วยใจหนักอึ้ง เป็นหนี้บุญคุณทิโมธี และ นพ.เกโร ฮึทเทอร์ แพทย์ประจำตัว ผู้สร้างความหวังให้โลกและเปิดประตูให้นักวิทยาศาสตร์เพื่อค้นคว้าแนวคิดที่ว่าการรักษาเอชไอวีความเป็นไปได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน