เมื่อวันที่ 12 ก.ย. เอเอฟพีรายงานว่า รัฐบาลพม่าปฏิเสธและตำหนิความเห็นของนายไซอิด ราอัด อัล ฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ ถึงสถานการณ์ในรัฐยะไข่ที่ชาวโรฮิงยาถูกเผาบ้านเรือนและอพยพหนีตายกว่า 370,000 คน ว่าอาจเข้าข่ายการกวาดล้างชาติพันธุ์

นายฮทิน ลีนน์ เอกอัครราชทูตพม่าประจำสหประชาชาติ กล่าวตอบโต้ว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวนี้ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ทั้งยังมองผิดอีกด้วย

“เมื่อพูดถึงอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและการกวาดล้างชาติพันธุ์ ล้วนเป็นการแสดงความหมายโดยนัยที่ร้ายแรง จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติกรรมที่ต้องรับผิดชอบอย่างถึงที่สุด และใช้ได้เฉพาะการตัดสินใจทางกระบวนการทางกฎหมายและทางศาล” เอกอัครราชทูตกล่าวต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนในนครเจนีวา

NEW YORK, NY – United Nations Security Council /AFP

ทูตพม่ากล่าวอีกว่า “พม่าที่เป็นประชาธิปไตยจะไม่ทนต่อการกระทำที่โหดร้าย ผมต้องการย้ำอีกครั้งว่า พม่าไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการจำกัดความของท่านข้าหลวงใหญ่”

Rohingya Muslim / AFP PHOTO / K M ASAD

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอสซี เปิดประชุมฉุกเฉินเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์สู้รบในรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ระหว่างกองกำลังติดอาวุธปลดปล่อยรัฐอาระกันโรฮิงยา หรืออาร์ซา กับกองทัพพม่า ส่งผลให้ชาวมุสลิมโรฮิงยาอพยพหนีการสู้รบข้ามพรมแดนไปยังประเทศบังกลาเทศกว่า 370,000 คนแล้ว มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 ราย หลัง

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่หมู่บ้านในหม่องดอว์ โดยสำนักข่าวเอเอฟพี / AFP PHOTO / STR

 

ตัวแทนรัฐบาลพม่าการเปิดประชุมฉุกเฉินของยูเอ็นเอสซีมีขึ้นหลังการเรียกร้องของทางการอังกฤษและสวีเดน ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาแสดงความวิตกกังวล

อย่างไรก็ตาม เสียงของสมาชิกแตกก่อนเปิดประชุม เพราะจีนออกโรงปกป้องรัฐบาลพม่าอย่างชัดเจน เมื่อนายเกิง ส่วง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวสนับสนุนรัฐบาลพม่าในการรักษาเสถียรภาพของชาติ

 

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน