มาเลเซียเฮ! พบฟอสซิล “ช้างสเตโกดอน” ครั้งแรก คาดเก่าแก่ถึง 80,000 ปี

มาเลเซียเฮ! – วันที่ 9 ต.ค. เอเชียนิวส์เน็ตเวิร์ก และ สเตรตส์ไทมส์ รายงานว่า ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยมาลายา (ยูเอ็ม) ของ มาเลเซีย ค้นพบซากฟอสซิลของ “สเตโกดอน” สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกช้างที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ภายในถ้ำหินปูนที่เมืองโกเปง เขตกัมปาร์ รัฐเปรัก คาดว่ามีอายุราว 30,000-80,000 ปี

ดร.รอส ฟาติฮาห์ มูฮัมหมัด หัวหน้าทีมนักบรรพชีวินวิทยา เปิดเผยถึงการค้นพบฟอสซิลสเตโกดอนครั้งแรกของประเทศว่า จากการศึกษาพบว่าซากชิ้นส่วนของสเตโกดอนที่หลงเหลืออบยู่นี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์โบราณ

อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวนับว่าสำคัญมาก เพราะเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์การโยกย้ายที่อยู่อาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นในยุคโบราณ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

มาเลเซียเฮ!

Paleontologists from Universiti Malaya (UM) have discovered the fossil of a stegodon, an extinct elephant, in a limestone cave in Gopeng, Perak. (Credit: UM via Berita Harian)

ขณะที่ นายลิม เจ๋อเฉิน จากสมาคมบรรพชีวินวิทยาแห่งมาเลเซีย หนึ่งในผู้ค้นพบฟอสซิล กล่าวว่าจากกระบวนการสร้างภาพโดย ศ.ดร.นอร์ลิซา อิบราฮิม และ ดร.โมห์ด อัซมี อับดุล ราซัก จากคณะทันตกรรม มหาวิทยาลัยมาลายา ทำให้สันนิษฐานได้ว่าสเตโกดอนตัวนี้น่าจะมีอายุน้อยกว่า 2 ปี

“หลักฐานของสเตโกดอนจากจุดค้นพบครั้งนี้ และพื้นที่ขุดค้นอื่นๆ แสดงให้เห็นการมีอยู่ของซากสัตว์สูญพันธุ์ในคาบสมุทรมลายู เช่น อุรังอุตัง แรดสุมาตรา แรดชวา หมีดำเอเชีย และหนูซึ่งเป็นที่รู้กันว่าสูญพันธุ์จากโลกไปแล้ว”

นายอับดุล ราฮิม ฮาชิม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมาลายา แสดงความยินดีกับการค้นพบ และว่าเป็นอีกก้าวสำคัญของการศึกษาบรรพชีวินวิทยาในมาเลเซีย “ยอดเยี่ยม และขอแสดงความยินดีกับดร.รอส ฟาติฮาห์ และทีมนักบรรพชีวิน ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้กับเรา”

มาเลเซียเฮ!

Lead researcher Ros Fatihah Muhammad from UM’s Geology Department and vertebrate paleontologist and zooarchaeologist Lim Tze Tshen from the Paleontological Society of Malaysia were the scientists behind the discovery. (Credit: UM via Berita Harian)

ทั้งนี้ สเตโกดอนเป็นช้างโบราณที่เชื่อว่ามีสายสัมพันธ์กับช้างในสกุลช้างเอเชียยุคปัจจุบัน มีชีวิตอยู่ในยุคไมโอซีนตอนปลายถึงต้นยุคไพลสโตซีน ราว 1.8 ล้านปีก่อน จัดเป็นช้างรุ่นที่ 6 ในลำดับวิวัฒนาการของช้างซึ่งเก่าแก่กว่าช้างแมมมอธในรุ่นที่ 8

สเตโกดอนมีรูปร่างสูงใหญ่ อาจสูงถึง 4 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายช้างในปัจจุบัน แต่มีลักษณะเด่นคือ งาคู่ยาวที่อาจมีขนาดยาวกว่า 3 เมตรงอกออกจากมุมปากทั้งสองข้างในลักษณะชิดติดกัน เป็นเหตุให้งวงไม่สามารถแทรกลงตรงกลางระหว่างงาได้

ฟอสซิลของสเตโกดอนถูกพบในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเองก็ค้นพบฟอสซิลสเตโกดอนที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสตูล พบในถ้ำวังกล้วยซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นถ้ำเลสเตโกดอน

มาเลเซียเฮ!

Though the fossil is not connected to ancient humans, she explains that it’s particularly significant from a biogeographical standpoint. The discovery has implications on the migration routes of ancient flora and fauna, including humans, as well as environmental changes in the Southeast Asian region. (Credit: UM via Berita Harian)

คาดเก่าแก่ถึง 80,000 ปี

/wikipedia/

คาดเก่าแก่ถึง 80,000 ปี

Fibre Glass sized life size model of extinct Elephants (tusks measuring 18 feet) who once lived in Siwalik Hill ranges. /wikipedia/

คาดเก่าแก่ถึง 80,000 ปี

Stegodon skeleton at the Gansu Provincial Museum. /wikipedia/

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน