ลูกฉลามสองหัวติดอวน – เพ็นนิวส์ รายงานวันที่ 14 ต.ค. ว่า ชาวประมงค้นพบ ลูกฉลามสองหัว ที่ติดมากับอวน ในสภาพมีชีวิตอยู่ ขณะลากขึ้นเรือระหว่างออกหาปลา น่านน้ำนอกรัฐมหาราษฏระ ตอนกลางของอินเดีย แต่สุดท้ายตัดสินใจโยนกลับลงน้ำไป
นิทิน พาทิล ชาวหมู่ประมงจากหมู่บ้านสัตพาที อำเภอพัลการ์ ผู้ค้นพบสัตว์น้ำผ่าเหล่า แม้จะแปลกตาสุดท้ายเพียงถ่ายภาพเล็กน้อย ก่อนโยนกลับลงน้ำไป ด้วยเหตุผลที่ไม่กินปลาตัวเล็กเช่นนี้ ยิ่งเฉพาะฉลาม แต่เพิ่งมารู้ทีหลังว่า ลูกฉลามแรกเกิดแบบนี้หายากแค่ไหน
ดร.เควี อคีเลช แห่งสภาวิจัยเกษตรกรรมอินเดีย สถาบันวิจัยประมงกลางอินเดีย กล่าวว่า ที่ผ่านมาอินเดียมีรายงานการค้นพบฉลามสองหัวอย่างน้อยเพียง 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็น ฉลามหนู เมื่อปี 2510 ในรัฐคุชราต ทางตะวันออก และอีกครั้งเป็น ฉลามหนูใหญ่ เมื่อปี 2534 ในรัฐกรณาฏกะ ทางใต้
ที่จริงอาจมีการค้นพบมากกว่านี้ แต่ไม่มีการถ่ายภาพเป็นหลักฐาน ต้องยกเครดิตให้สื่อสังคมออนไลน์ที่ช่วยทราบถึงการค้นพบฉลามสองหัวอีกครั้ง
ด้าน สวัพนิล ทันเดล นักชีววิทยาทะเล อธิบายว่า ลูกฉลามสองหัวที่มีการค้นพบเป็น ฉลามหนูใหญ่ ส่วนารผ่าเหล่าของฉลามเกิดขึ้นยากยิ่งที่จะค้นหาสาเหตุความผิดปกตินี้ แต่เชื่อว่า หลายปัจจัยที่เป็นไปได้ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งความผิดปกติพันธุกรรมหรือการเผาผลาญ (เมตาบอลิซึม) ไวรัส มลพิษ หรือแม้แต่การจับปลามากเกินไป