ผู้ข่มขืน 3 คนถูกจำคุก 20 ปี พร้อมลงโทษด้วยการใช้แรงงานหนัก ในข้อหา กระทำ ชำเราหมู่ หญิงวัย 36 ปี ซึ่งเธอลุกขึ้นสู้และต่อต้านกองทัพทหารที่มีอำนาจในเมียนมา

AFP

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2563 สำนักข่าว อัลจาซีรา รายงานว่า ทหารเมียนมา 3 คนถูกจำคุก 20 ปี พร้อมลงโทษด้วยการใช้แรงงานหนัก ในข้อหาข่มขืนหมู่ หญิงวัย 36 ปี ซึ่งเธอลุกขึ้นสู้และต่อต้านกองทัพทหารที่มีอำนาจในเมียนมา

หลังจากถูกข่มขืนหมู่โดยกองกำลังทหารเมียนมา เตรียนนู (นามแฝงเพื่อปกป้องตัวตน) หญิงที่ตกเป็นเหยื่อ ไม่ยอมแพ้และไม่อยู่แฉย เธอลุกขึ้นสู้ และฟ้องร้องกับกองกำลังทหารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในเมียนมา เป็นเวลานานหลายเดือนเพื่อความยุติธรรม และการต่อสู้ของเธอนั้น ได้รับชัยชนะทางกฎหมาย โดยผู้ข่มขืนทั้ง 3 คน ถูกพิพากษาลงโทษด้วยการจำคุก 20 ปี พร้อมการใช้แรงงานหนัก จากคำพิพากษานี้ เธอหวังว่าจะช่วยให้ผู้ที่รอดชีวิตจากการถูกข่มขืน ลุกขึ้นสู้ พูดความจริง และทำให้การไม่ต้องรับโทษเมื่อกระทำผิดของทหารนั้น ยุติลงในเมียนมา

Medium

เตรียนนู วัย 36 ปี เป็นคุณแม่ที่มีลูก 4 คน ที่ต่อสู้กับสถาบันที่ทรงพลังที่สุดในเมียนมา นั่นคือ กองทัพทหาร ที่ทหารมักไม่ต้องรับโทษจากการกระทำผิด และถูกกลุ่มสิทธิต่าง ๆ วิพากษ์วิจารณ์มาเป็นเวลานาน จากการที่กองกำลังทหารเหล่านี้ ใช้การข่มขืนเป็นเครื่องมือทางสงครามในพื้นที่ ที่มีความขัดแย้งในประเทศ โดยเตรียนนูได้ทำการยื่นเรื่องร้องเรียนทางกฎหมายกับทหารที่ก่อเหตุทั้ง 3 คน โดยอาชญากรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2563 ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ ซึ่งเป็นพื้นที่ความขัดแย้งมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ระหว่างทหารเมียนมา กับ กองทัพทหารยะไข่ (อาระกัน) ซึ่งต่อสู้เพื่อเอกราชสำหรับประชากรชาวยะไข่

“ผู้หญิงหลายคนต้องทนเจอสถานการณ์แบบเดียวกับฉัน แต่ถ้าฉันไม่ลุกขึ้นมาเปิดโปงเรื่องนี้ อาจทำให้คนอีกมากมายในยะไข่ ถูกทารุณกรรมเพิ่มอีก ฉันทั้งดีใจและเสียใจ เพราะฉันไม่เชื่อสักนิดเดียว ว่าคำตัดสินนี้จะหยุดการข่มขืนและการล่วงละเมิดต่อผู้หญิงในพื้นที่ขัดแย้งเพราะพวกเขา (กองทัพทหารเมียนมา) เป็นคนที่มีสองหน้าและไม่น่าเชื่อถือ ในทีแรกมีการปฏิเสธจากกองทัพ ซึ่งกล่าวหาว่าฉันกล่าวหากองทัพอีกด้วย” เตรียนนู กล่าวโดยยังคงไม่เชื่อว่าศาลทหารตัดสินให้เธอชนะ

Arakan Tarihi

ในการรับทราบการกระทำผิดที่เกิดขึ้นได้ยาก (โดยปกติแล้วทหารแทบไม่ต้องรับโทษในสิ่งที่กระทำผิด) เมื่อวันเสาร์ (19 ธ.ค.63) กองทัพได้แถลงคำพิพากษาและการตัดสินลงโทษผู้ข่มขืนทั้ง 3 คนโดยกล่าวว่าในการสอบสวนคดีนี้มีความ “โปร่งใส” แต่หลายฝ่ายเห็นว่า ยังเป็นการเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่านี่เป็นชัยชนะของเตรียนนู เพราะกองกำลังติดอาวุธซึ่งปกครองเมียนมาจนถึงปี พ.ศ.2554 ยังคงมีอิทธิพล ‘เหนือชีวิต’ ของคนเมียนมาในหลายด้าน

ฟิล โรเบิร์ตสัน เจ้าหน้าที่องค์กร ฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า “ยังไม่ชัดเจนว่ากองทัพพร้อมที่จะรับมือกับ ข้อหาการสังหารโหดที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำโดยทหารชั้นสูงและพลทหารหรือไม่ เพราะในอดีตแนวทางของกองทัพคือการปฏิเสธข้อเรียกร้องเรื่องการข่มขืนโดยสิ้นเชิง และในบางกรณีทหารยังได้ยื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาทเหยื่อข่มขืนเพิ่มอีกต่างหาก ดังนั้น มันต้องใช้มากกว่าหนึ่งคดีในการยืนยันว่าทุกอย่างมันเข้าที่เข้าทางแล้ว ทั้งนี้ ศาลทหารมักจะทำการใดๆ หลังประตูที่ปิดสนิทเสมอ (การกระทำของทหารจึงไม่น่าเชื่อถือ)”

RFA.Org

เกือบ 6 เดือนที่ผ่านมา เตรียนนู ยังคงจดจำค่ำคืนอันน่าสยดสยองของเธอได้อย่างชัดเจน เธอเล่าว่า “ในคืนหนึ่ง เสียงปืนดังขึ้นในหมู่บ้านของฉัน ฉันจึงซ่อนตัวอยู่กับลูกสาวและหลานสาวในบ้านแม่สามี ฉันอยู่เคียงข้างผู้หญิงและเด็กคนอื่น ๆ และเมื่อใกล้ถึงเที่ยงคืน มีทหารสี่คนบุกเข้ามาในบ้านและค้นพบที่ซ่อนตัวของพวกเรา เพราะมีทารกที่ส่งเสียงร้องไห้ ฉันรู้ว่าฉันไม่มีทางหนีจากผู้ชายสามคนนั้นที่มีพละกำลังมากกว่าฉัน”

หลังเหตุการณ์อันสยดสยองผ่านไป เตรียนนูและลูก ๆ ของเธอหนีออกจากหมู่บ้านและมุ่งหน้าไปยังเมืองซิตตเว ซึ่งเธอได้ตัดสินใจอย่างเจ็บปวดเพื่อไล่ตามหาความยุติธรรม เธอสู้จนกระทั่งผู้ข่มขืนทั้ง 3 ถูกจำคุก แต่เธอก็ต้องการให้กองกำลังทหารเมียนมาอาวุโสอีกคนหนึ่ง (ซึ่งเธอเชื่อว่าสามารถสั่งหยุดการทารุณกรรมคนในยะไข่ได้) ควรต้องเผชิญหน้ากับความยุติธรรมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ศาลได้แจ้งว่าจะมีการดำเนินคดีกับทหารคนที่ 4 ซึ่งยืนเฉยอยู่ข้างๆ โดยไม่ห้ามการกระทำผิด

นับตั้งแต่มีการพิพากษาจำคุกทหาร 3 คน ทำให้เหยื่อที่ถูกข่มขืนจำนวนมากได้ออกมาขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย โดยมี เนียว อาย ประธานของเครือข่ายผู้หญิงยะไข่ ซึ่งเป็นผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ให้คำปรึกษาและที่พักพิงแก่ เตรียนนู และครอบครัวของเธอ

AFP

“เราจะรักษาความหวังนี้ไว้ เรารู้ดีว่า เหตุการณ์แบบนี้ เกิดขึ้นในพื้นที่ชาติพันธุ์อื่น ๆ ทั่วเมียนมา สำหรับตอนนี้ เตรียนนู ไม่เพียงแต่ต่อสู้กับกองกำลังทหารเมียนมา แต่เธอยังต้องต่อสู้ทุกวันกับการตีตราทางสังคมที่สืบเนื่องมาจากการตกเป็นเหยื่อข่มขืนในเมียนมา โดยที่มันไม่ใช่ความผิดของเธอแม้แต่น้อย แม้แต่สามีของเธอ ซึ่งทำงานอยู่ในประเทศไทย ได้ทิ้งเธอและหยุดส่งเงินช่วยเหลือครอบครัว” เนียว อาย ประธานของเครือข่ายผู้หญิงยะไข่ กล่าว

“ฉันต้องทนทุกข์กับความเจ็บปวดอย่างเงียบ ๆ ใช่ ฉันทำได้ แต่ก็หวังว่าสามีของฉันจะค่อยๆเข้าใจฉัน และระหว่างนี้ฉันจะคอยปลอบใจตนเองด้วยความหวังว่า อย่างน้อย ๆ ความสำเร็จของฉันในศาล จะสามารถกระตุ้นให้คนอื่นออกมาสู้ข้างหน้า แทนที่จะซ่อนตัวอยู่ในความอับอาย ฉันขอให้ผู้หญิงทุกคนในยะไข่ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากเรื่องนี้ ให้ออกมาพูดความจริงแทนที่จะรู้สึกละอายใจและซ่อนมันไว้ จงเป็นเหมือนฉัน จงกล้าและหาญ” เตรียนนู กล่าว

Medium

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน