กองทัพเมียนมาโต้จ้องรัฐประหาร ชี้สื่อตัดตอนวาทะผบ. ทำให้เข้าใจผิด

กองทัพเมียนมาโต้จ้องรัฐประหาร เอเอฟพี รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค. กลุ่มชาวเมียนมาผู้สนับสนุนกองทัพ ร่วมด้วยพระสงฆ์สายชาตินิยม ชุมนุมประท้วงต่อต้านคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ด้านนอกเจดีย์ชะเวดากองในนครย่างกุ้ง ขณะที่กองทัพเมียนมาออกแถลงการณ์สยบความเป็นไปได้ในการรัฐประหาร แม้จะไม่เอ่ยถึงคำๆ นี้ก็ตาม

กองทัพเมียนมาโต้จ้องรัฐประหาร

กลุ่มหนุนทหารใส่เสื้อยืดใบหน้าผู้นำกองทัพ / A supporter of Myanmar’s military takes part in a protest against Union Election Commission, the elected government and foreign embassies in Yangon, Myanmar, January 30, 2021. REUTERS/Shwe Paw Mya Tin

แถลงการณ์กองทัพระบุว่าข่าวที่ออกมาเป็นความเข้าใจผิด เพราะบางองค์กรและสื่อมวลชนบางสำนัก ตีความคำพูดของนายพลมิน อ่องไหล่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตามใจชอบโดยไม่เคารพบริบทของคำพูดทั้งหมด

ขอยืนยันว่ากองทัพให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญของประเทศ และจะทำงานภายใต้กรอบของกฎหมาย ขณะเดียวกันพิทักษ์กฎหมายด้วย

กองทัพเมียนมาโต้จ้องรัฐประหาร

พระสงฆ์ฝ่ายหนุนทหารออกมาเดินขบวนต้าน กกต. ที่นครย่างกุ้ง / Buddhist monks, supporters of Myanmar’s military, take part in a protest against Union Election Commission, the elected government and foreign embassies in Yangon, Myanmar, January 30, 2021. REUTERS/Shwe Paw Mya Tin

สำหรับข่าวที่โหมกระแสหวาดหวั่น เริ่มตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่ 26 ม.ค. เมื่อโฆษกกองทัพเมียนมาไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะเกิดการยึดอำนาจ

อีกวันถัดมา นายพลมิน อ่อง ไหล่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ยังกล่าวให้โอวาทกับนักศึกษามหาวิทยาลัยป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 27 ม.ค. ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 อาจถูกยกเลิกได้หากเกิดสถานการณ์ที่จำเป็น

Supporters of Myanmar’s military take part in a protest against Union Election Commission, the elected government and foreign embassies in Yangon, Myanmar, January 30, 2021. REUTERS/Shwe Paw Mya Tin

จากนั้นหนังสือพิมพ์เมียวดีแปลข้อความเห็นของนายพลเป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่ ทำให้กระแสวิตกเหตุรัฐประหารเป็นที่หวาดหวั่นไปทั่ว

สถานเอกอัครราชทูตอย่างน้อย 16 ประเทศต่างออกแถลงการณ์แสดงความวิตก เช่นเดียวกับสหประชาชาติที่แถลงเรียกร้องให้เมียนมาเคารพผลการเลือกตั้ง

แฟ้มภาพ นางซู จี ไปลงคะแนนเลือกตั้งเมื่อปี 2563

ทั้งนี้ กองทัพแสดงท่าทีชัดเจนว่า ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 8 พ.ย.2563 โดยกล่าวหาว่าพบความผิดปกติเป็นวงกว้าง โดยอ้างว่ามีถึง 10 ล้านกรณีที่ต้องสอบสวน หลังจากพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซู จี ผู้นำเมียนมาชนะถล่มทลาย

แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งยืนกรานว่าการเลือกตั้งเป็นไปอย่างโปร่งใส

+++++

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

นานาชาติเตือนกองทัพพม่า อย่าเลือกเส้นทางรัฐประหาร ยึดอำนาจ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน