รัสเซียวิจัยล่าสุด – วันที่ 2 ก.พ. ซีเอ็นเอ็น รายงานการวิเคราะห์ระหว่างการวิจัย (interim analysis) ของผลลัพธ์การทดลองระยะที่สามของวัคซีน สปุตนิค วี วัคซีนต้านโควิด-19 ที่ได้รับการพัฒนาโดยรัสเซีย ว่า ประสิทธิภาพต้าน โควิด-19 ชนิดแสดงอาการ สูงถึง 91.6% และประสิทธิภาพต้าน โควิด-19 ชนิดปานกลาง และ รุนแรง เต็มที่ 100%

TASS

ถือเป็นความคืบหน้าล่าสุดของการศึกษาของวัคซีนสปุตนิค วี หลังจากที่รัสเซียถูกวิพากษ์วิจารณ์จากแวดวงนักวิทยาศาสตร์ เนื่องจากอนุมัติวัคซีนเพื่อการใช้งานสาธารณะเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ก่อนที่การทดลองระยะที่สาม หรือระยะสุดท้าย จะเสร็จสิ้น

 

ผลการวิจัยเบื้องต้นได้รับการเผยแพร่ในนิตยสาร แลนเซต อ้างอิงจากข้อมูลที่รวบรวมจากผู้เข้าร่วมในการทดลอง 19,866 คน ในจำนวนนี้ 3 ใน 4 หรือ 14,964 คน ได้รับวัคซีน 2 โดส อีก 1 ใน 4 ที่เหลือ หรือ 4,902 คน ได้รับยาหลอก

ปรากฏว่า หลังจากที่กลุ่มได้รับวัคซีนโดสแรกเป็นเวลา 21 วัน มีการยืนยันผู้ป่วยโควิด-19 ชนิดแสดงอาการ 16 คน และกลุ่มได้รับยาหลอก มีการยืนยันผู้ป่วยโควิด-19 ชนิดแสดงอาการ มากถึง 62 คน เท่ากับว่าประสิทธิภาพอยู่ที่ 91.6%

AFP

การทดลองดังกล่าวมีผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เป็นจำนวน 2,144 คน และการวิเคราะห์ย่อยในกลุ่มนี้พบว่า วัคซีนสามารถทนได้ดีและมีประสิทธิภาพใกล้เคียงถึง 91.8%

คณะวิจัยยังวิเคราะห์ประสิทธิภาพของวัคซีนในการต้านโควิด-19 ชนิดปานกลางและรุนแรง และ 21 วันหลังได้รับวัคซีน ปรากฏว่า ในกลุ่มได้รับวัคซีนจริงไม่มีรายงานการพบผู้ป่วยโควิด-19 ชนิดปานกลางหรือรุนแรง ส่วนในกลุ่มได้รับยาหลอกมีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ชนิดปานกลางหรือรุนแรง 20 คน

 

ขณะที่เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงจากวัคซีนอยู่ในระดับต่ำมากถึง 0.2% ในกลุ่มได้รับวัคซีนจริง และผลข้างเคียงส่วนใหญ่ไม่รุนแรง เช่น อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน อาการคล้ายไข้หวัด และระดับพลังงานในร่างกายต่ำ

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์รวมเพียงผู้ป่วยโควิด-19 แสดงอาการ และผู้เขียนการวิจัยระบุต้องวิจัยเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจ 1.ประสิทธิภาพของวัคซีนสปุตนิค วี ในการต้านโควิด-19 ไม่แสดงอาการ 2.การแพร่เชื้อ และ 3.ระยะเวลาการป้องกัน

TASS

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ในการทดลองเป็นคนผิวขาว จึงต้องวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลลัพธ์ในกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ส่วนการทดลองยังดำเนินการต่อไปและมีเป้าหมายรวบรวมผู้เข้าร่วมในการทดลองทั้งหมด 40,000 คน

 

ดร.อินนา วี ดอลจีโควา แห่งศูนย์วิจัยระบาดวิทยาและจุลชีววิทยาแห่งชาติ กามาเลยา ของรัสเซีย ผู้พัฒนาวัคซีนสปุตนิค วี และผู้เขียนร่วมการศึกษาดังกล่าว ระบุว่า การวิเคราะห์ชี้ว่า วัคซีนสปุตนิค วี มี ประสิทธิภาพ และ ความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกัน สูง และ ภาวะความทนทาน ดี ในผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

ผู้เข้าร่วมในการทดลองได้รับการตรวจพีซีอาร์ โควิด-19 (PCR Covid-19) เมื่อได้รับวัคซีนเข็มที่สอง และได้รับการตรวจเพิ่มเติมว่ามีอาการการติดเชื้อทางเดินหายใจหรือไม่

FILE PHOTO: A shipment of doses of the Sputnik V (Gam-COVID-Vac) vaccine against the coronavirus disease (COVID-19) is seen after arriving at Ezeiza International Airport, in Buenos Aires, Argentina January 28, 2021. REUTERS/Agustin Marcarian/File Photo

ทั้งนี้ วัคซีนสปุตนิค วี เป็นวัคซีนเวกเตอร์อะดีโนไวรัส 2 โดส (two-dose adenoviral vector vaccine) ที่ใช้อะดีโนไวรัส 2 ชนิด ในแต่ละโดส และเว้นระยะการฉีด 21 วัน

ด้วยวัคซีนชนิดนี้ อะดีโนไวรัสจะถูกเปลี่ยนเพื่อสามารถส่งสารพันธุกรรมจากไวรัสก่อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายและรับเซลล์เพื่อแสดงการกระตุ้นที่ขัดขวางที่พบในไวรัสและกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน คล้ายกับวัคซีนที่ได้รับการพัฒนาโดย แอสตราเซเนกา และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน

 

ผู้เขียนการศึกษากล่าวว่า การใช้เวกเตอร์อะดีโนไวรัสที่แตกต่างกันเพื่อฉีดวัคซีนเสริม (booster vaccination) อาจช่วยสร้างการตอบสนองภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อดีอีกอย่างของวัคซีนอะดีโนไวรัสคือไม่ต้องจัดเก็บและขนส่งในอุณหภูมิเย็นจัด โดยวัคซีนสปุตนิค วี เพียงต้องแช่เย็นปกติ และมีค่าใช้จ่ายโดสละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 300 บาท โดย กองทุนเพื่อการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย (Russian Direct Investment Fund: RDIF) เป็นผู้ให้ทุนผลิตและผู้รับผิดชอบขายวัคซีนทั่วโลก

 

วัคซีนสปุตนิค วี ได้รับการอนุมัติใน รัสเซีย เบลารุส เซอร์เบีย อาร์เจนตินา โบลิเวีย แอลจีเรีย ปาเลสไตน์ เวเนซุเอลา ปารากวัย เติร์กเมนิสถาน ฮังการี ยูเออี อิหร่าน กีเนีย ตูนิเซีย และ อาร์เมเนีย มีการฉีดมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ลาวเฮได้รับวัคซีนโควิดแล้ว รัสเซียส่งมอบให้ 2 ล้านโดส

รัสเซียฉีดวัคซีนโควิดแล้ว ฟรี 70 คลินิกกรุงมอสโก ให้กลุ่มเสี่ยงก่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน