หายไป 400 ปี – วันที่ 3 มี.ค. ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า บีเวอร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมฟันแทะ ในอังกฤษอีกครั้ง กลับมาเร่ร่อนในป่า ริมแม่น้ำออตเตอร์ ในมณฑลเดวอน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ หลังไม่ปรากฏร่องรอยมานาน 400 ปี

เนื่องจากหลายร้อยปีก่อน บีเวอร์ถูกล่าเพื่อเอาขนไปทำหมวกเป็นแฟชั่นของบุรุษในยุโรปซึ่งเป็นที่ต้องการ ทำให้จำนวนประชากรลดลงและสูญพันธุ์ไปจากอังกฤษในที่สุด

บีเวอร์กลับมาปรากฏทางใต้ของอังกฤษเป็นผลจากความพยายามของ เดวอน ไวลด์ไลฟ์ ทรัสต์ องค์กรการกุศลปกป้องสัตว์ป่า ที่เริ่มการทดลองเมื่อ 10 ปีก่อน โดยปล่อยบีเวอร์ 2 ตัว ที่ถูกกักขัง เข้าไปอยู่ในพื้นที่ปิดล้อม 3 เฮกตาร์ หรือ 10,000 ตารางเมตร และทำให้ภูมิทัศน์เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

“เราต้องการเห็นว่าบีเวอร์ทั้งสองจะช่วยให้ความสมดุลกลับมาชอบถิ่นที่อยู่แบบเปิด ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผีเสื้อและดอกไม้ป่าจำนวนมาก และพืชและสัตว์ทุกสายพันธุ์” นายมาร์ก เอลลิออตต์ นักนิเวศวิทยาคนหนึ่งของเดวอน ไวลด์ไลฟ์ ทรัสต์ กล่าว

บีเวอร์ ซึ่งเป็นหนูสะเทินน้ำสะเทินบก จะสร้างพื้นที่ที่มีน้ำขัง เป็นเขื่อนป้องกันตัวเอง เพื่อให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้น และหลบหนีจากสัตว์นักล่าซ ซึ่งแต่เดิมเป็นพวก หมี หมาป่า และแมวป่า ขณะที่อาหารหลักของบีเวอร์คือเปลือกไม้จากต้นไม้ที่พวกมันโค่นล้มเอง

“เรานำพวกมันมาอยู่ในพื้นที่ปิดล้อมเมื่อปี 2553 เริ่มเห็นสิ่งที่บีเวอร์คู่หูทำกับสายน้ำ ซึ่งเป็นอะไรลึกซึ้งมาก ทันใดนั้น เราทุกคนตระหนักมากขึ้นว่า สัตว์ตัวนี้มีพลังมากเพียงใด” นายเอลลิออตต์กล่าว

ภูมิทัศน์เปียกชื้นเหมาะกับความหลากหลายชีวภาพและฝูงปลา และแม้แต่ช่วยลดมลพิษด้วยการกรองน้ำปนเปื้อนจากมูลสัตว์และปุ๋ย เขื่อนที่บีเวอร์สร้างยังควบคุมการไหลของน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมท้ายน้ำในช่วงฝนตกหนักและฝนแล้งในช่วงแล้ง

 

นี่อาจทำให้บีเวอร์เป็นเครื่องมือช่วยต่อสู้กับผลกระทบของวิกฤตสภาพอากาศ ที่คาดว่าอังกฤษจะเกิดฤดูร้อนแห้งแล้งขึ้นและฤดูหนาวที่มีความชื้นขึ้น สอดคล้องกับ การศึกษาล่าสุด เกี่ยวกับบีเวอร์ในอังกฤษเผยว่า เขื่อนที่บีเวอร์สร้างสามารถลดน้ำท่วมได้โดยเฉลี่ยถึง 60%

 

ย้อนกลับไปในป่า

เมื่อปี 2557 มีการค้นพบบีเว่อร์ป่าคู่หนึ่งบนแม่น้ำออตเตอร์แต่ไม่ทราบแหล่งกำเนิด และ 1 ปีต่อมา รัฐบาลอังกฤษอนุญาตดำเนินการทดลอง River Otter Beaver เพื่อทำให้บีเวอร์พื้นเมืองสูญพันธุ์ไปแล้วกลับมาอังกฤษอย่างถูกกฎหมายเป็นครั้งแรก

การทดลองดังกล่าวสิ้นสุดลงในปี 2563 ถือเป็นความสำเร็จที่รัฐบาลอนุญาตให้บีเวอร์อยู่ในป่าต่อไป บีเวอร์เหล่านี้มีมากถึง 15 กลุ่มครอบครัว กระจายใน 15 ดินแดน

การศึกษาของมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ถึงการทดลองดังกล่าว พบว่าปลาในสระน้ำที่สร้างโดยเขื่อนของบีเวอร์มีมากกว่าส่วนอื่นของแม่น้ำถึง 37% และสรุปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ นกป่า และนกปากห่าง ได้รับประโยชน์จากบีเวอร์

นอกจากนี้ ตั้งข้อสังเกตว่า เขื่อนที่บีเวอร์สร้างลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมสำหรับชุมชนท้องถิ่นเปราะบางและขจัดมลพิษจากแม่น้ำและลำธารด้วย

อย่างไรก็ตาม การกลับมาของบีเวอร์อาจไม่ใช่ผลดีนัก สหภาพเกษตรกรแห่งชาติของอังกฤษแสดงความกังวลว่า บีเวอร์อาจทำลายตลิ่งและปล่อยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำขัง จากการศึกษาแม่น้ำออตเตอร์พบว่า บีเวอร์บีเวอร์สร้างปัญหาให้เกษตรกรท้องถิ่นและเจ้าของบ้านเรือนบางคน

“การลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมในชุมชนท้ายน้ำอาจทำให้น้ำถูกกักเก็บในพื้นที่เพาะปลูกต้นน้ำ” แต่สามารถ “จัดการได้อย่างตรงไปตรงมาด้วยการสนับสนุนและการเข้ามาแทรกแซงอย่างเหมาะสม” สหภาพเกษตรกรแห่งชาติของอังกฤษกล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

พายุ “เบลลา” ถล่มทั่วอังกฤษ ฝนกระหน่ำน้ำท่วม-ซ้ำเติมภัยหนาว!

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน