หวั่น ยูเอ็น – วันที่ 3 มี.ค. เอเอฟพี รายงานความคืบหน้าสถานการณ์มิคสัญญีนองเลือดทางการเมืองในประเทศพม่าว่า ผู้ประท้วงต่อต้านการยึดอำนาจของกองทัพยังเดินทางออกมาชุมนุมในหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศ แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะดำเนินการปราบปรามอย่างรุนแรงด้วยการใช้กระสุนจริงยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตแล้วไม่ต่ำกว่า 55 ราย

Police backed by soldiers advance on protesters holding a demonstration against the military coup, as heavy construction equipment (top) is used to dismantle a blockade, in Yangon on March 6, 2021. (Photo by STR / AFP)

การหยุดงานและออกมาประท้วงกองทัพของชาวพม่าพร้อมกันทั่วประเทศถูกปราบปรามอย่างรุนแรงเกิดขึ้นท่ามกลางแรงกดดันต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอสซี จากผู้แทนพิเศษแห่งสหประชาชาติและประชาคมโลก ในการดำเนินการจัดการขั้นเด็ดขาดกับคณะเผด็จการทหารของพม่าโดยเร็วที่สุด

รายงานระบุว่า การประท้วงเกิดขึ้นในหัวเมืองใหญ่ทั่วทุกภาคของพม่า ชาวพม่าจำนวนมากพากันออกมาเดินขบวนและเกิดการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ที่มีอาวุธครบมือ ทั้งโล่กระบอง แก๊สน้ำตา และอาวุธสงคราม แต่แนวหน้าของผู้ชุมนุมมีเพียงกลุ่มกันชนอาสาที่สวมหมวกนิรภัยและใช้โล่ประดิษฐ์ที่ทำขึ้นเอง

Protesters wearing hard hats stand by a blockade across a road during a demonstration against the military coup in Yangon on March 6, 2021. (Photo by STR / AFP)

ขณะที่บรรยากาศตามสถานที่ทำงาน เช่น สำนักงานออฟฟิศ โรงพยาบาล ธนาคารเอกชน และหน่วยงานของรัฐหลายระดับล้วน แต่ถูกทิ้งร้างไม่มีผู้เดินทางไปทำงาน ส่งผลให้สื่อกระบอกเสียงของเผด็จการทหารพม่ารายงานประกาศของกองทัพว่า เจ้าหน้าที่รัฐบุคคลใดที่ยังเดินหน้าบอยคอตการปฏิบัติหน้าที่จะถูกไล่ออกจากงานตั้งแต่ 8 มี.ค. เป็นต้นไป ขณะที่เผด็จการทหารพม่ายังไม่มีท่าทีจะอ่อนข้อให้ผู้ประท้วงและแรงกดดันจากประชาคมโลก และยุติการเข่นฆ่าผู้คน และคืนอำนาจให้ประชาชน

นางคริสติน เชรเนอร์ เบอร์จีเนอร์ ผู้แทนพิเศษยูเอ็น เรียกร้องต่อที่ประชุมยูเอ็นเอสซี แสดงความหวังว่า ยูเอ็นเอสซีจะตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของบรรดาประชาชนชาวพม่า พร้อมย้ำว่า ความเป็นเอกภาพของยูเอ็นเอสซีเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชาวพม่าขณะนี้ เพื่อให้การกดขี่และเข่นฆ่ายุติลง

A protester wearing a hard hat looks on during demonstration against the military coup in Yangon on March 6, 2021. (Photo by STR / AFP)

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวจากแวดวงนักการทูตในยูเอ็น ระบุว่า ยูเอ็นเอสซีไม่น่าจะมีมาตรการลงโทษใดๆ ต่อเผด็จการทหารพม่า สอดคล้องกับที่ผ่านมาที่แถลงการณ์ประณามเผด็จการทหารพม่าไม่ได้รับฉันทามติจากที่ประชุม โดยมองว่าทางการจีนซึ่งมีอำนาจวีโต้มติเป็นอุปสรรคหลัก

นายจาง จุน เอกอัครราชทูตจีนประจำยูเอ็น กล่าวยืนยันว่า ทางการจีนไม่ได้ต้องการความไม่สงบเกิดขึ้นในพม่า แต่แถลงการณ์ใดๆ จากประชาคมโลก ควรมีเนื้อหาที่ส่งเสริมการหันมาเจรจากันระหว่างคู่ขัดแย้งเพื่อแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

พม่าต้องตายเท่าไหร่ยูเอ็นจึงขยับ ทูตวอนขอมาตรการด่วนยุติรุนแรง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน