สวิตเซอร์แลนด์ – วันที่ 8 มี.ค. บีบีซี รายงานว่า สวิตเซอร์แลนด์ลงมติเห็นชอบในการห้ามปกปิดใบหน้าในที่สาธารณะ รวมถึงเครื่องแต่งกายของสตรีมุสลิมอย่าง บุรเกาะอ์ (ผ้าปิดใบหน้าที่คลุมตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า) และ นิกอบ (ผ้าปิดใบหน้าที่ยังเห็นดวงตา)

EPA-EFE

หลังการลงประชามติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 มี.ค. ด้วยผลอย่างเป็นทางการ 51.2% ต่อ 48.8% โดยข้อเสนอการห้ามปกปิดใบหน้าในที่สาธารณะถูกหยิบยกขึ้นมาโดย พรรคประชาชนสวิส (SVP) พรรคการเมืองฝ่ายขวา ที่รณรงค์ด้วยคำขวัญที่ว่า “หยุดลัทธิสุดโต่ง”

แม้ว่าข้อเสนอห้ามปกปิดใบหน้าในที่สาธารณะในการลงประชามติของวันอาทิตย์ที่ผ่านมาจะไม่ได้กล่าวถึงอิสลามโดยตรง แต่ก็ถูกเรียกกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นการลงประชามติห้ามสวมบุรเกาะอ์

AFP

ขณะที่ สภามุสลิมกลาง กลุ่มอิสลามชั้นนำในสวิตเซอร์แลนด์ ออกแถลงการณ์ระบุว่า นี่เป็นวันมืดมนสำหรับมุสลิม

“ผลการตัดสินของวันนี้เป็นการเปิดบาดแผลในอดีต ขยายหลักการไม่ความเท่าเทียมทางกฎหมาย และเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนของการกีดกันชนกลุ่มน้อยมุสลิม” สภามุสลิมกลางกล่าวและเสริมว่าจะคัดค้านผลการตัดสินดังกล่าวในชั้นศาล

ซานีจา อาเมตี สมาชิกชุมชนมุสลิมสวิตเซอร์แลนด์บอกบีบีซี การรณรงค์และรูปวาดสตรีมุสลิมในโปสเตอร์จุดความไม่พอใจ เนื่องจากมุสลิมจำนวนมากในสวิตเซอร์แลนด์จะรู้สึกว่าถูกดูถูกและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนี้ และถูกผลักเข้าไปในมุมที่พวกเขาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง

“เราดูไม่เหมือนสตรีในรูปวาด เราไม่ได้เป็นเช่นนั้น” อาเมตีกล่าว

อย่างไรก็ตาม สมาชิกชุมชนมุสลิมสวิตเซอร์แลนด์บางส่วนเห็นด้วยกับการห้ามปกปิดใบหน้าในที่สาธารณะ เช่น อิหม่าม มุสตาฟา เมเมตี จากเมืองเบิร์น บอกบีบีซีว่า แม้ตนจะคิดว่าแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังข้อเสนอดังกล่าวน่าจะเป็นความกลัวอิสลาม แต่ก็สนับสนุนการห้ามปกปิดใบหน้าในที่สาธารณะ เนื่องจากเป็นการช่วยปลดปล่อยอิสรภาพแก่สตรีมุสลิมในสวิตเซอร์แลนด์

A man wearing a face mask walks on February 4, 2021 in Lausanne past an electoral poster in favor of a “burqa ban” initiative reading in French: “Stop extremism!” ahead of a nationwide vote by Swiss citizen on whether they want to ban face coverings in public spaces or not. – The vote will take place on on March 7, 2021, as part of the country’s famous direct democratic system. A clear majority of Swiss voters favour introducing a nationwide prohibition against wearing face-covering garments in public spaces, known as a “burqa ban”, a poll showed last month. (Photo by Fabrice COFFRINI / AFP) (Photo by FABRICE COFFRINI/AFP)

ก่อนการลงประชามติ นายวอลเทอร์ วอบมันน์ ประธานคณะกรรมการการลงประชามติและส.ส.พรรค SVP กล่าวถึงการปกปิดใบหน้ามุสลิมว่าเป็น สัญลักษณ์สำหรับอิสลามทางการเมืองสุดโต่งที่มีความโดดเด่นขึ้นเรื่อยๆ ในยุโรป และสิ่งนี้ไม่มีที่ยืนในสวิตเซอร์แลนด์

“ในสวิตเซอร์แลนด์ ประเพณีของเราคือการเปิดเผยใบหน้าของคุณ นั่นเป็นสัญญาณของเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเรา” นายวอบมันน์กล่าว

ทั้งนี้ ข้อเสนอห้ามปกปิดใบหน้าเกิดขึ้นก่อนการระบาดของโควิด-19 เท่ากับว่าผู้ใหญ่ชาวสวิสทุกคนยังต้องสวมหน้ากากอนามัยในหลายพื้นที่

ผลการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยลูแซร์เนอร์ในเยอรมนีระบุว่า แทบไม่มีใครในสวิตเซอร์แลนด์สวมบุรเกาะอ์ และผู้หญิงราว 30 คน เท่านั้น สวมใส่นิกอบ ทั้งนี้ ประมาณ 5% ของประชากร 8.6 ล้านคน ในสวิตเซอร์แลนด์ นับถืออิสลาม ส่วนใหญ่มาจาก ตุรกี บอสเนีย และ โคโซโว

การสวมผ้าคลุมหน้าแบบอิสลามในที่สาธารณะเป็นประเด็นถกเถียงในชาติยุโรปอื่นๆ เช่นกัน ฝรั่งเศส ห้ามสวมผ้าคลุมหน้าในที่สาธารณะในปี 2554 ขณะที่ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรีย และ บัลแกเรีย สั่งห้ามปกปิดใบหน้าในที่สาธารณะทั้งหมดหรือบางส่วน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
สวิสจ่อลงประชามติ สกัดผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ฉีกข้อตกลงกับอียู-เคลื่อนคนเสรี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน