จวกยับศิลปิน “ดัดแปลง” รูปถ่ายเหยื่อเขมรแดง เพิ่มสี-แต่งรอยยิ้ม แถมมั่วข้อมูล!

จวกยับศิลปินบีบีซี รายงานวันที่ 12 เม.ย. ว่า กระทรวงวัฒนธรรมกัมพูชาแถลงตำหนิ นายแมตต์ ลัฟรีย์ ศิลปินชาวไอริช หลังเผยแพร่ผลงานดัดแปลงภาพถ่ายเหยื่อจาก เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมร ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากถึง 2 ล้านราย ระหว่างปี 2518-2522 บนเว็บไซต์ของไวซ์ นิตยสารชื่อดังด้านศิลปะ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตจากสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้โลกออนไลน์ในกัมพูชาไม่พอใจและแห่แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์นายลัฟรีย์อย่างดุเดือด

กระทรวงวัฒนธรรมระบุว่า การดัดแปลงรูปถ่ายจากโศกนาฏกรรมดังกล่าวส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรีของเหยื่อ พร้อมเรียกร้องให้นายลัฟรีย์และนิตยสารไวซ์ลบรูปภาพที่นำไปเผยแพร่เพราะเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากพิพิธภัณฑ์ตวลสเลงเป็นเจ้าของและผู้ดูแลรูปถ่ายชุดนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแต่เพียงผู้เดียว หากยังไม่ทำตามคำร้องขอ ทางกระทรวงจะดำเนินการทางกฎหมาย

จวกยับศิลปิน

(FILES) In this file photo taken on February 16, 2009 visitors look at portraits of victims displayed at the Tuol Sleng prison also known as S-21, where thousands of Cambodian died during the brutal 1975-79 regime, in Phnom Penh. – Cambodians who lost family members during the Khmer Rouge genocide slammed on April 11, 2021 an Irish artist’s decision to add smiles to black and white pictures of victims killed under the murderous regime. (Photo by Nicolas ASFOURI / AFP)

“เราขอเรียกร้องให้นักวิจัย ศิลปิน และประชาชนอย่าได้บิดเบือนแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ใดๆ เพื่อถือเป็นความเคารพแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อ” ขณะที่เว็บไซต์ไวซ์ออกแถลงว่า บทความ รวมถึงรูปภาพถ่ายของเหยื่อเขมรแดงที่นายลัฟรีย์ดัดแปลงไปมากกว่าการเพิ่มสีสันนั้นไม่เป็นไปตามมาตรฐานของกองบรรณาธิการ นิตยสารไวซ์จึงลบบทความดังกล่าวออก และจะเร่งตรวจสอบว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ นายลัฟรีย์ดัดแปลงรูปถ่ายเหยื่อจากคุกตวลสเลงหรือเรือนจำเอส-21 ในกรุงพนมเปญ จากต้นฉบับที่เป็นรูปถ่ายหน้าตรงสีขาวดำให้กลายเป็นรูปถ่ายมีสีสัน ขณะที่ชาวเน็ตส่วนใหญ่โจมตีว่านายลัฟรีย์ไม่ได้แค่เพิ่มสี แต่ยังปรับแต่งรอยยิ้มของเหยื่อ ซึ่งนายลัฟรีย์ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่ารูปของเหยื่อผู้หญิงปรากฏรอยยิ้มมากกว่ารูปเหยื่อผู้ชาย

“ผมคิดว่ามันมีความเป็นไปได้มากๆ ว่าเกิดขึ้นเพราะความประหม่า และผมพยายามเดาจากการศึกษาว่า ใครก็ตามที่ถ่ายรูปหรืออยู่ในห้องที่ถ่ายรูแเหล่านี้อาจพูดคุยแตกต่างกันระหว่างเหยื่อผู้หญิงและเหยื่อผู้ชาย” นายลัฟรีย์ชี้แจง ซึ่งบทความนี้ไม่ได้ระบุว่านายลัฟรีย์ดัดแปลงรอยยิ้มลงในรูปถ่ายของเหยื่อ

จวกยับศิลปิน

(FILES) In this file photo taken on September 2, 2020 Norng Chan Phal, who survived internment in the Tuol Sleng prison known as S-21, looks at portraits of victims displayed at the museum now in the former prison, where thousands of Cambodian died during the brutal 1975-79 regime, in Phnom Penh. – Cambodians who lost family members during the Khmer Rouge genocide slammed on April 11, 2021 an Irish artist’s decision to add smiles to black and white pictures of victims killed under the murderous regime. (Photo by TANG CHHIN Sothy / AFP)

สำหรับความคิดเห็นของผู้ใช้ทวิตเตอร์บางส่วน ระบุเชื่อว่ารูปถ่ายถูกดัดแปลงให้มีรอยยิ้ม “ไม่มีคำใดสามารถอธิบายถึงความรู้สึกหวาดกลัวที่ซ่อนอยู่ในใบหน้าเหล่านี้ซึ่งพวกเขารู้ดีว่าจะต้องถูกพาไปที่หลุมศพในไม่ช้า แต่พวกเขาถูกเปลี่ยนให้เป็นภาพบุคคลที่มีรอยยิ้มเพียงเพื่องานศิลปะ นี่เป็นการกระทำที่ไม่นึกถึงคนอื่นและน่ารังเกียจ!”

อีกคนระบุว่าชื่อลิเดีย ทวีตว่าเป็นหลานของเหยื่อที่มีรูปปรากฏในโปรเจคของนายลัฟรีย์ แม้รอยยิ้มนิดๆ ของผู้เป็นลุงจะไม่ได้ถูกตัดต่อ แต่ข้อมูลที่นายลัฟรีย์ให้สัมภาษณ์นิตยสารไวซ์ว่าลุงเป็นชาวนา ถูกใช้ไฟฟ้าชอร์ตและจุดไฟเผาจนตายนั้นไม่ใช่ข้อเท็จจริง แม้จะไม่ทราบถึงสาเหตุการเสียชีวิตที่แน่ชัด หรืออาจมีข้อมูลที่ญาติๆ ไม่เคยเห็น แต่สิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้คือลุงของตนไม่ได้เป็นชาวนา แต่เป็นครูโรงเรียนประถมศึกษา

จวกยับศิลปิน

A visitor looks at pictures of victims of the Khmer Rouge regime at Tuol Sleng Genocide Museum in Phnom Penh, Cambodia June 1, 2016. REUTERS/Samrang Pring

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน