เอกวาดอร์ยืนยัน – วันที่ 27 พ.ค. รอยเตอร์ รายงานว่า เอกวาดอร์ยืนยันว่า เต่าบกยักษ์ที่พบในปี 2562 ในหมู่เกาะกาลาปาโกส เป็นสายพันธุ์ที่ถือว่าสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อร้อยปีก่อน ขณะนี้อุทยานแห่งชาติกาลาปาโกสกำลังเตรียมการสำรวจเพื่อค้นหาเพิ่มเติมเพื่อพยายามรักษาเต่าบกยักษ์สายพันธุ์นี้

 

เต่าบกยักษ์ดังกล่าวถูกพบเมื่อ 2 ปีก่อนบนเกาะเฟอร์นันดินา ซึ่งเป็นหนึ่งในเต่าที่มีอายุน้อยสุดและเก่าแก่สุดในหมู่เกาะกาลาปาโกส ระหว่างการสำรวจร่วมระหว่าง อุทยานแห่งชาติกาลาปาโกส และกาลาปาโกส คอนเซอร์แวนซี (Galapagos Conservancy) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของสหรัฐอเมริกาที่ทุ่มเทกับการอนุรักษ์ของหมู่เกาะกาลาปาโกส

ต่อมา นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยลระบุว่า เต่าบกยักษ์ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ Chelonoidis phantasticus ซึ่งถือว่าสูญพันธุ์ไปแล้วมากกว่า 100 ปีก่อน

AFP

“มหาวิทยาลัยเยลเผยว่า ผลการศึกษาทางพันธุกรรมและการเปรียบเทียบดีเอ็นเอตามลำดับจากตัวอย่างที่สกัดในปี 1906 (พ.ศ.2449)” อุทยานแห่งชาติกาลาปาโกสระบุในแถลงการณ์

ส่วนกุสตาโว มันริเก รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมทวีตข้อความว่า “เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วมากกว่า 100 ปีก่อน เรายืนยันอีกครั้งว่ายังไม่สูญพันธุ์”

“จอร์จผู้โดดเดี่ยว” (Lonesome George) เต่าบกยักษ์เพศผู้บนเกาะปินตา ซึ่งถือเป็นเต่าบกยักษ์ตัวสุดท้ายที่รู้จัก ตายในปี 2555

ทั้งนี้ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีวิวัฒนาการของสายพันธุ์โดยชาร์ลส์ ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ในศตวรรษที่ 19 เต่าบกยักษ์หลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกับนกฟลามิงโก นกบูบี้ นกอัลบาทรอส และนกกาน้ำ ทั้งหมดเป็นวงศ์ของนกน้ำ นอกจากนี้ เป็นที่ตั้งของพืชและสัตว์จำนวนมากที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

ส่วนเต่าบกยักษ์ในปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติกาลาปาโกสประเมินว่ ประชากรจากสายพันธุ์ต่างๆ อยู่ที่ประมาณ 60,000 ตัว หนึ่งในนั้นที่รู้จักอย่างดีเป็นเต่าบกยักษ์เพศผู้บนเกาะปินตา มีชื่อ “จอร์จผู้โดดเดี่ยว” (Lonesome George) ซึ่งถือเป็นเต่าบกยักษ์ตัวสุดท้ายที่รู้จัก ตายในปี 2555 โดยไม่มีลูกสืบพันธุ์ต่อใดๆ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

พายุยาอาส ซัดถล่มแนวกั้นหลุม “ไข่เต่าตนุ” หาดแหลมไผ่ เน่าหลายสิบฟอง เร่งย้ายที่ฟัก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน