ซีเอ็นเอ็น รายงานประมวลอาวุธแสนยานภาพของเกาหลีเหนือในยุคของคิม จองอึน หลังจากเพิ่งยิงทดสอบขีปนาวุธขนาดยักษ์ “ฮวาซอง-15 อวดพัฒนาการที่ก้าวล้ำไปอีกขั้นของแสนยานุภาพในการโจมตีสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางการคาดการณ์ว่า เกาหลีเหนือน่าจะทดสอบจรวดอีกประมาณ 3-4 ครั้งในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ส่วนที่ยิงรัวๆ ออกไปแล้วมีอะไรบ้าง มีรายงานทบทวนดังนี้

North Korean leader Kim Jong Un guides the launch of a Hwasong-12 missile in this undated photo released by North Korea’s Korean Central News Agency (KCNA) on September 16, 2017. KCNA

ฮวาซอง-15
พิสัยการยิง 13,000 กิโลเมตร (8,100 ไมล์)
พิกัดความยาวไม่ทราบแน่ชัด
ประเภท ขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM)

รายละเอียดของขีปนาวุธชนิดนี้ยังไม่เป็นที่ทราบมากนัก เนื่องจากเป็นรุ่นที่เกาหลีเหนือเพิ่งนำมาทดสอบเป็นครั้งแรกเมื่อ 29 พ.ย.2560

เคซีเอ็นเอ สำนักข่าวกระบอกเสียงพรรคคนงานเกาหลีเหนือ อ้างว่า ขีปนาวุธดังกล่าวพุ่งขึ้นได้ความสูง 4,475 ก.ม. และเคลื่อนที่ไปได้ไกลเป็นระยะทางรวมทั้งสิ้น 950 ก.ม. ทั้งยังอ้างว่า เป็นขีปนาวุธที่ติดตั้งหัวรบขนาดใหญ่พิเศษ และมีความสามารถโจมตีได้ทุกพื้นที่ของประเทศสหรัฐอเมริกา

เคซีเอ็นเอระบุอีกว่า ฮวาซอง-15 นั้นมีความก้าวหน้ากว่าฮวาซอง-14 ที่ทดสอบไปเมื่อเดือนก.ค. ปีนี้ ซึ่งความสำเร็จของฮวาซอง-15 ถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นของโครงการพัฒนาแสนยานุภาพด้านขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า ฮวาซอง-15 มีเครื่องยนต์ใหม่ที่เกาหลีเหนือไม่เคยนำมาทดสอบก่อนหน้า โดยพิกัดขนาดของขีปนาวุธนั้นมีขนาดใหญ่กว่ารุ่นก่อนๆ

ไมเคิล ดูอิตสแมน นักวิจัยจากศูนย์เจมส์ มาร์ติน เพื่อยุติการแพร่ขยายอาวุธ (CNS) ของสหรัฐ กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่เป็นแค่จรวดขนาดใหญ่สำหรับเกาหลีเหนือเฉยๆ ฮวาซอง-15 ถือเป็นจรวดขนาดใหญ่ และมีเพียงไม่กี่ชาติในโลกที่มีจรวดใหญ่ขนาดนี้แล้วสามารถใช้งานได้จริง”

+++++++++++

ฮวาซอง-14
พิสัยการยิง 10,400 ก.ม.
พิกัดความยาว 19.5-19.8 เมตร
ประเภท ICBM

หน่วยงานสหรัฐให้รหัสขีปนาวุธชนิดนี้ว่า KN-20 ฮวาซอง-14 เคยเป็นขีปนาวุธที่ทันสมัยที่สุดของเกาหลีเหนือ โดยเกาหลีเหนือเคยกล่าวอ้างว่ามีพิสัยการยิงถึง “ทุกพื้นที่” ของสหรัฐ แต่จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ พบว่า ฮวาซอง-14 น่าจะมีพิสัยการยิงถึงเฉพาะพื้นที่ถึงรัฐฮาวาย รัฐอลาสกา และฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกา

เกาหลีเหนือทดสอบฮวาซอง-14 ครั้งแรกเมื่อเดือนก.ค.ปีนี้ จากการตรวจสอบของหน่วยงานสหรัฐ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น พบว่าพุ่งขึ้นไปสูง 3,700 ก.ม. และไปได้ไกลราว 1,000 ก.ม. ใช้เวลาราว 45 นาที

ฮวาซอง 14

สำนักงานประเมินภัยคุกคามนิวเคลียร์ของสหรัฐ (NTI) ระบุว่า ฮวาซอง-14 น่าจะมีพิสัยการยิงอยู่ที่รา; 10,400 ก.ม.

ส่วนเว็บไซต์มิสเซิล ดีเฟนส์ โปรเจ็คต์ (MDP) ระบุว่า ฮวาซอง-14 ใช้กำลังขับจากเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว แบ่งออกเป็น 2 จังหวะ สามารถติดตั้งหัวรบระเบิดทำลายล้าง และนิวเคลียร์ได้

++++

ฮวาซอง-12
พิสัยการยิง 4,500 ก.ม.
พิกัดความยาว 17.4 ม.
ประเภท ขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยไกล (IRBM)

หน่วยงานสหรัฐให้รหัสขีปนาวุธรุ่นี้ว่า KN-17 พิสัยการยิงของฮวาซอง-12 ส่งผลให้มีความสามารถในการยิงถึงฐานทัพสหรัฐบนเกาะกวมได้ แต่ผลการทดสอบขีปนาวุธชนิดนี้ของเกาหลีเหนือมีอัตราความสำเร็จเพียงร้อยละ 50

ฮวาซอง-12

การทดสอบของเกาหลีเหนือเมื่อเดือนเม.ย.ปีนี้ ฮวาซอง-12 พุ่งไปได้ไกล 60 ก.ม. เพดานบินสูงสุด 189 ก.ม. แต่ต่อมาเกิดอาการส่ายจนควบคุมไม่ได้และพุ่งไปตกในทะลญี่ปุ่น ใช้เวลาบินทั้งสิ้น 9 นาที ส่วนเคซีเอ็นเอ อ้างว่า ฮวาซอง-12 สามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ได้

ฮวาซอง-10 (มูซูดาน)
พิสัยการยิง 3,500 ก.ม.
พิกัดความยาว 11.5 ม.
ประเภท IRBM

มูซูดานเป็นขีปนาวุธต้นแบบของฮวาซอง-12 ดังนั้นพิสัยการยิงของมูซูดานจึงไม่เท่ากับกับฮวาซอง-12 แต่มีความสามารถในการติดตั้งและปล่อยจากรถปล่อยได้ ส่งผลให้การตรวจจับทำได้ยากขึ้น แต่จากการทดสอบของเกาหลีเหนือติดต่อกันนานหลายปี พบว่า มูซูดานนั้นแทบจะไม่สามารถใช้การได้ โดยการทดสอบ 8 ครั้งระหว่างปี 2558-2559 ในจำนวนนี้ ล้มเหลว 7 ครั้ง

++++++

แตโปดอง 3 (อุนฮา 3)
พิสัยการยิง 10,000 ก.ม.
พิกัดความยาว 30 ม.
ประเภท จรวดส่งดาวเทียม (SLV)

อุนฮา 3 ถือเป็นจรวดที่เกาหลีเหนือพัฒนาขึ้นเพื่อไว้ส่งพาหนะไปยังวงโคจรบนอวกาศ ถือเป็นผลพลอยได้จากโครงการพัฒนาขีปนาวุธทางทหาร

สหรัฐและชาติพันธมิตร กล่าวหาเกาหลีเหนือว่าใช้จรวดอุนฮา 3 บังหน้า เพื่อพัฒนาขีปนาวุธไว้ใช้ทางด้านการทหาร แต่เกาหลีเหนือยืนยันว่า โครงการพัฒนาจรวดอุนฮา 3 นั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์


MDP คาดว่า อุนฮา 3 เป็นจรวดส่งดาวเทียมที่มีระบบเครื่องยนต์แบบ 3 จังหวะ สามารถติดตั้งสิ่งของได้หนักไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม และมีพิสัยไกลสุด 15,000 ก.ม. แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่เกาหลีเหนืออาจนำอุนฮา 3 มาใช้เป็น ICBM ในอนาคต

++++++

สกั๊ด
พิสัยการยิง 500 ก.ม.
พิกัดความยาว 12.18 ม.
ประเภท ขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยสั้น (SRBM)

กองทัพเกาหลีเหนือใช้ขีปนาวุธสกั๊ดเป็นหน่วยหลัก โดยพิสัยการยิงมีตั้งแต่ระยะสั้นไปจนถึงปานกลาง ได้รับการพัฒนาต่อมาจากขีปนาวุธของกองทัพอดีตสหภาพโซเวียตในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้สกั๊ดส่วนใหญ่จะติดตั้งหัวรบระเบิดทำลายล้าง แต่หากจำเป็นก็สามารถติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้

และเนื่องด้วยพิกัดความยาวที่ไม่มาก จึงสามารถติดตั้งและปล่อยจากรถปล่อยได้ ทำให้ยากต่อการคาดเดาและตรวจจับ

แต่จากการที่เกาหลีเหนือนำจรวดชนิดนี้มาแสดงในการสวนสนามแสดงแสนยานุภาพ ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าอาจมีพิสัยไกลสูงสุดถึง 1,000 ก.ม. สะท้อนจากที่เกาหลีเหนือเคยยิงสกั๊ดไปตกในทะเลญี่ปุ่น 3 ลูก เมื่อเดือนเม.ย. ปีนี้ ระยะทางประมาณ 1,000 ก.ม.

++++++++++

โนดอง (โรดอง)
พิสัยการยิง 1,500 ก.ม.
พิกัดความยาว 16 ม.
ประเภท ขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยกลาง (MRBM)

จรวดโนดอง นับเป็นขีปนาวุธรุ่นเก่าที่สุดของเกาหลีเหนือ ซึ่งสามารถปล่อยจากฐานยิง และรถปล่อยได้ ทั้งยังติดตั้งหัวรบได้ทั้งแบบระเบิดทำลายล้าง เคมี ชีวภาพ และนิวเคลียร์ มีพิสัยการยิงระหว่าง 1,300-1,500 ก.ม. สามารถยิงทำลายเป้าหมายในประเทศญี่ปุ่นได้บางส่วน แต่ระบบนำวิถีไม่ดี ทำให้มีความแม่นยำต่ำ

In this Saturday, Oct. 10, 2015, photo, medium range Nodong ballistic missiles are paraded in Pyongyang, North Korea during the 70th anniversary celebrations of its ruling party’s creation. (AP Photo/Wong Maye-E)

โนดองจึงเหมาะกับการใช้โจมตีเป้าหมายใหญ่ที่ยากแก่การป้องกัน อาทิ เมืองใหญ่ ท่าเรือ และสนามบิน ซึ่งหากติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยความแม่นยำมากนัก

+++++++++

ขีปนาวุธแบบปล่อยจากเรือดำน้ำ
พิสัยการยิง 1,200 ก.ม.
พิกัดความยาว 9 ม.
ประเภท ขีปนาวุธวิถีโค้งแบบปล่อยจากเรือดำน้ำ (SLBM)

ขีปนาวุธแบบปล่อยจากเรือดำน้ำและรถปล่อยนั้นชดเชยข้อด้อยของ ICBM และ IRBM ด้วยจุดเด่น ยากแก่การตรวจจับและคาดเดาจากดาวเทียม หรือหน่วยข่าวกรองของศัตรู

เกาหลีเหนือมีขีปนาวุธอยู่หลายรุ่นในประเภทนี้ อาทิ พุกกุกซอง-1 (KN-11) ซึ่งถือเป็นขีปนาวุธหลักที่เกาหลีเหนือใช้ในกองเรือดำน้ำ มีพิสัยการยิงประมาณ 1,200 ก.ม.

เกาหลีเหนือเคยทดสอบยิงจรวดชนิดนี้หลายลูกพร้อมกันมาแล้วเมื่อปี 2558 แต่ใช้การทดสอบปล่อยจากฐานยิงบนบก ก่อนจะทดสอบปล่อยจากเรือดำน้ำด้วยรุ่น พุกกุกซอง-2 เมื่อเดือนก.พ. ปีนี้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน