COP26: วันที่ 5 พ.ย. บีบีซี รายงานว่า ทางการอินโดนีเซียวิพากษ์วิจารณ์ข้อกำหนดของข้อตกลงยุติการตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) ที่ผู้นำโลกมากกว่า 100 ประเทศ เห็นพ้องกัน และมีการประกาศในการประชุมสุดยอดภูมิอากาศ COP26 ในเมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เมื่อวันจันทร์ที่ 1 พ.ย. นับเป็นการประกาศครั้งสำคัญครั้งแรกของการประชุม.

BBC

นางซีตี นูร์บายา บาคาร์ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอินโดนีเซีย โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ทางการอินโดนีเซียไม่สามารถให้คำมั่นสิ่งที่เราไม่สามารถทำได้ การบังคับให้อินโดนีเซียมุ่งมั่นที่จะยุติการตัดไม้ทำลายป่าเป็นศูนย์ภายในปี 2030 ถือเป็นความไม่เหมาะสมและไม่ยุติธรรมอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าประธานาธิบดีโจโก วิโดโด จะลงนามข้อตกลงดังกล่าวไปแล้ว.

นางซีตีกล่าวด้วยว่า อินโดนีเซียต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลของประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชน และกล่าวถึงความจำเป็นในการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อหาทางสร้างถนนสายใหม่ด้วย.

“การพัฒนาครั้งใหญ่ในยุคของประธานาธิบดีโจโควีต้องไม่หยุดเพียงในนามของการปล่อยคาร์บอนหรือในนามของการตัดไม้ทำลายป่า ความมั่งคั่งทางธรรมชาติของอินโดนีเซีย รวมถึงป่าไม้ จะต้องได้รับการจัดการ เพื่อการใช้งานตามหลักการที่ยั่งยืน นอกเหนือจากความเป็นธรรม” นางซีตีกล่าว.

Logging in forest in Nisam Antara, Indonesia’s Aceh province, October 2021. Photo: AFP

ขณะเดียวกัน นายมหินทรา ซีเรการ์ รัฐมนตรีช่วยการต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า การอธิบายว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นว่าจะไม่มีการตัดไม้ทำลายป่าเป็น “เท็จและสร้างความเข้าใจผิด”.

A barge carrying logs is pulled along the Mahakam River, in East Kalimantan, 4 November 2021. Photo: AFP

ข้อตกลงยุติการตัดไม้ทำลายป่าให้คำมั่นที่จะยุติการตัดไม้ทำลายป่าและฟื้นฟูป่าไม้ภายในปี 2030 และครอบคลุมการสมทบทุนจากภาครัฐและเอกชนเกือบ 14,000 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง (ราว 644,000 ล้านบาท).

แม้ว่าอัตราการทำลายป่าชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ป่าผืนใหญ่ของอินโดนีเซียยังลดลงเรื่อยๆ.

เว็บไซต์ติดตามสถานการณ์ป่า Global Forest Watch ระบุว่า ในปี 2544 อินโดนีเซียมีป่าสมบูรณ์ (primary forest) เกือบ 94 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งหมายถึงป่าเขตร้อนที่ยังไม่ถูกแผ้วถางและปลูกใหม่อย่างสมบูรณ์ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา. แต่ในปี 2563 ป่าดังกล่าวลดลงไปอย่างน้อยร้อยละ 10.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

โลกร้อน : ทุกชาติเห็นความสำคัญของป่า แล้วชาติไหนที่สูญพื้นที่ป่ามากติดอันดับโลก

โลกร้อน : ไม่มีไทยใน 105 ชาติ ลงนามยุติการตัดไม้ทำลายป่า ภายในปี 2030 ที่ COP26

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน