นักวิจัยพบฟอสซิลตัวอ่อน – วันที่ 22 ธ.ค. บีบีซี รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ประกาศการค้นพบตัวอ่อนไดโนเสาร์ที่เตรียมฟักออกจากไข่ เหมือนลูกไก่ในสภาพสมบูรณ์ ในเมืองกั้นโจว มณฑลเจียงซี ทางใต้ของจีน

AFP PHOTO / University of Birmingham/Lida Xing” – NO MARKETING – NO ADVERTISING CAMPAIGNS – DISTRIBUTED AS A SERVICE TO CLIENTS

เชื่อว่าตัวอ่อนไดโนเสาร์นี้เป็น โอวิแรปเตอโรซอร์ (oviraptorosaur) หรือไดโนเสาร์เทอโรพอดไร้ฟัน และตั้งชื่อว่า ทารกหยิงเหลียง (Baby Yingliang) นักวิจัยประเมินอายุของตัวอ่อนที่อย่างน้อย 66 ล้านปี

ดร.ฟิออน เว่ยเซิน หม่า นักวิจัย กล่าวว่า “เป็นตัวอ่อนไดโนเสาร์ดีที่สุดเท่าที่ค้นพบในประวัติศาสตร์”

การค้นพบดังกล่าวยังทำให้นักวิจัยเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างไดโนเสาร์กับนกยุคใหม่มากขึ้น ฟอสซิลเผยตัวอ่อนไดโนเสาร์อยู่ในท่าโค้งงอที่เรียกว่า การซ่อนตัว (tucking) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ค้นพบในนกก่อนจะฟักออกมาไม่นาน

“บ่งชี้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวในนกยุคใหม่ตอนแรกมีวิวัฒนาการและมาจากบรรพบุรุษไดโนเสาร์ของพวกมัน” ดร.หม่าบอกกับเอเอฟพี

AFP PHOTO / University of Birmingham/Lida Xing

โอวิแรปเตอโรซอร์ ซึ่งมีความหมายว่า “จิ้งจกขโมยไข่” (egg thief lizards) เป็นไดโนเสาร์มีขน อาศัยอยู่ในเอเชียและอเมริกาเหนือในช่วงปลายยุคครีเทเชียส ระหว่าง 100 ล้านปีถึง 66 ล้านปีก่อน

ศ.สตีฟ บรูแซต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะนักวิจัยด้วย ทวีตข้อความว่าเป็น “ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่น่าทึ่งที่สุดชิ้นหนึ่ง” ที่เขาเคยเห็น และตัวอ่อนใกล้จะฟักแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ม.เคมบริดจ์เตรียมโชว์ฟอสซิล “กิ้งกือยักษ์” ใหญ่สุด อายุ 326 ล้านปี-ยาว 2.7 เมตร

นักวิจัยชิลีตะลึง พบไดโนเสาร์หุ้มเกราะสายพันธุ์ใหม่ มีหางสูงโดดเด่น

ทารกหยิงเหลียงมีความยาวจากหัวจรดหาง 27 เซนติเมตร และอยู่ภายในไข่ยาว 17 เซนติเมตร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติหยิงเหลียงในจีน

ทั้งนี้ ไข่ใบดังกล่าวถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2543 แต่จัดเก็บเป็นเวลา 10 ปี ก่อนนักวิจัยจะให้ความสนใจกับไข่ใบนี้ ตอนที่พิพิธภัณฑ์เริ่มงานก่อสร้างและจัดเรียงฟอสซิลเก่าๆ โดยสงสัยว่าตัวอ่อนอยู่ข้างในหรือไม่

ส่วนหนึ่งของฟอสซิลไดโนเสาร์ยังเป็นหิน และนักวิจัยจะใช้เทคนิคการสแกนขั้นสูงเพื่อสร้างภาพโครงกระดูกทั้งตัวต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน