อินโดนีเซียไม่รับ – รอยเตอร์ รายงานวันที่ 28 ธ.ค. ว่า ทางการอินโดนีเซียจะช่วยซ่อมแซมเรือที่เกยตื้นและบรรทุกผู้ลี้ภัยโรฮิงยามากกว่า 100 คนนอกชายฝั่ง แต่จะไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารลี้ภัยในอินโดนีเซีย และให้เรือออกไปสู่น่านน้ำสากล

A boat carries Rohingya people stranded at sea, Indonesia, December 27, 2021, in this still image obtained from a social media video. Aditya Setiawan/via REUTERS THIS IMAGE HAS BEEN SUPPLIED BY A THIRD PARTY. MANDATORY CREDIT.

หลังชาวประมงเห็นเรือกรรเชียงขนาดเล็กลอยอยู่นอกชายฝั่งบีเรเนน ซึ่งเป็นเขตบนเกาะสุมาตราทางตะวันตก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 ธ.ค. โดยมีชาย หญิง และเด็กประมาณ 120 คน หลบหนีออกจากเมียนมา

“โรฮิงยาไม่ได้พลเมืองอินโดนีเซีย เราไม่สามารถรับเข้ามาได้แม้จะเป็นผู้ลี้ภัย นี่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล” ดีอัน ซูร์ยันซยา เจ้าหน้าที่กองทัพเรือท้องถิ่น ระบุ และว่า ทางการจะให้ความช่วยเหลือมนุษยธรรมแก่เรือที่ประสบภัย รวมถึงอาหาร ยารักษาโรค และน้ำ ก่อนจะให้เรือออกไป

 

แม้ว่าสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันอังคารว่า เรือลำดังกล่าวได้รับความเสียหายจากเครื่องยนต์ และควรได้รับอนุญาตลงจอด “UNHCR กังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและชีวิตของผู้ลี้ภัยบนเรือ”

นอกจากนี้ นายบัดรุดดิน ยูนุส ผู้นำชุมชนประมงท้องถิ่น ระบุว่า ผู้ลี้ภัยอยู่ในทะเลเป็นเวลา 28 วันบางคนล้มป่วย และเสียชีวิตหนึ่งราย

ทั้งนี้ อินโดนีเซียไม่ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยผู้ลี้ภัยปี 2494 และถือเป็นประเทศทางผ่านสำหรับผู้ต้องการลี้ภัยไปประเทศที่สาม โดยผู้ลี้ภัยมุสลิมโรฮิงยาจากเมียนมาใช้เวลาหลายปีล่องเรือไปประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย ระหว่างเดือนพ.ย.-เม.ย. เมื่อทะเลมีคลื่นสงบ แต่หลายคนถูกกีดกัน แม้จะมีเสียกเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนนานาชาติ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

โรฮิงยาฟ้องเฟซบุ๊ก 5 ล้านล้านบาท ซัดให้พื้นที่ “เฮตสปีช” โจมตีพวกตน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน