ชาวญี่ปุ่น6คนฟ้องTEPCO – วันที่ 27 ม.ค. เอเอฟพี รายงานว่า ชาวญี่ปุ่น 6 คน จะฟ้องผู้ประกอบการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะของญี่ปุ่น โดยอ้างว่าเป็นมะเร็งไทรอยด์ เนื่องจากได้รับรังสีหลังโรงไฟฟ้าดังกล่าวหลอมละลาย

Photo by Behrouz MEHRI / AFP

โจทก์ 6 คน ที่ตอนนี้มีอายุระหว่าง 17-27 ปี อาศัยอยู่ในจังหวัดฟูกูชิมะตอนเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554

เคนอิจิ อิโด หัวหน้าทนายความ ให้สัมภาษณ์เอเอฟพีว่า โจทก์จะยื่นฟ้องคดีแบบกลุ่มกับผู้ประกอบการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ บริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) เพื่อขอค่าชดเชยทั้งหมด 616 ล้านเยน (ราว 178 ล้านบาท)

เคนอิจิ อิโด (กลาง) Photo by Behrouz MEHRI / AFP

ยังไม่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการได้รับรังสีจากภัยพิบัตินิวเคลียร์และมะเร็งไทรอยด์ ที่ได้รับการยอมรับจากคณะผู้เชี่ยวชาญที่จัดตั้งโดยรัฐบาลระดับภูมิภาค และความเชื่อมโยงที่มีอยู่ดังกล่าวจะกลายเป็นประเด็นสำคัญของคดีหรือไม่

รายงานสหประชาชาติตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วสรุปว่า ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของชาวท้องถิ่น 10 ปีหลังภัยพิบัติดังกล่าว ขณะที่คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ของสหประชาชาติว่าด้วยผลกระทบของการแผ่รังสีปรมาณูสรุปว่า อัตราการตรวจพบของมะเร็งไทรอยด์ที่สูงขึ้นในหมู่เด็กที่ได้รับรังสีมีแนมโน้มเกิดจากการวินิจฉัยที่ดีขึ้น

A United Nations report published last year concluded that the Fukushima nuclear disaster had not harmed the health of local residents Philip FONG AFP/File

แต่ทนายความของโจทก์กล่าวว่า มะเร็งในกลุ่มนี้ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์ โดยอ้างว่ามีความเป็นไปได้สูงที่โรคนี้มีแนวโน้มเกิดจากการได้รับรังสี “โจทก์บางคนประสบปัญหาในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาและการหางานทำ และถึงกับละทิ้งความฝันเพื่ออนาคตของตัวเอง” นายอิโตกล่าว

โจทก์ 6 คน ซึ่งจะยื่นฟ้องต่อศาลแขวงโตเกียว มีอายุระหว่าง 6-16 ปีตอนเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ และได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งไทรอยด์ระหว่างปี 2555-2561 ในจำนวนนี้ 2 คน ต้องตัดต่อมไทรอยด์ออกข้างหนึ่ง ขณะที่อีก 4 คน ต้องตัดต่อมไทรอยด์ออก 2 ข้าง และจำเป็นต้องกินยาฮอร์โมนตลอดชีวิตที่เหลือ

Fukushima No. 1 nuclear power plant | KYODO

ทั้งนี้ การหลอมละลายที่โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะไดอิจิเป็นอุบัติเหตุนิวเคลียร์ร้ายแรงที่สุด ตั้งแต่ภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในสหภาพโซเวียตเมื่อปี 2529 ซึ่งต่อมาตรวจพบมะเร็งไทรอยด์ในคนจำนวนมาก

ภัยพิบัตินิวเคลียร์โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะไดอิจิเมื่อปี 2554 ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น คร่าชีวิตหรือมีผู้สูญหายราว 18,500 คน ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากสึนามิ ขณะที่ผู้อยู่อาศัยหลายหมื่นคนรอบโรงงานฟูกูชิมะได้รับคำสั่งอพยพออกจากบ้าน หรือตัดสินใจอพยพเอง

ส่วนคนงานหลายคนที่ถูกส่งไปที่โรงไฟฟ้าเป็นมะเร็งหลังได้รับรังสี และได้รับค่าชดเชยจากรัฐบาลเนื่องจากกรณีดังกล่าวถือเป็นโรคที่เกิดจากการทำงาน

(FILES) This file photo taken on March 5, 2018 shows a closed gate to prevent people from entering the exclusion zone in Futaba town, Fukushima prefecture, after the devastating 2011 earthquake and tsunami that triggered the Fukushima nuclear disaster. – Five former residents of the last remaining uninhabited town near Japan’s stricken Fukushima nuclear plant returned on January 20, 2022 to live there for the first time since the 2011 disaster. (Photo by Behrouz MEHRI / AFP)

ตั้งแต่ภัยพิบัติครั้งนั้น จังหวัดฟูกูชิมะดำเนินการตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์สำหรับผู้ป่วยราว 380,000 คนที่อายุไม่เกิน 18 ปีหรือต่ำกว่าในช่วงเกิดภัยพิบัติ และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระบุว่า จนถึงเดือนมิ.ย. 2564 มีการตรวจพบผู้ป่วยหรือสงสัยว่าเป็นมะเร็งไทรอยด์ในเด็ก 266 คน

ด้านนายทากาฮิโร ยามาโตะ โฆษก TEPCO ให้สัมภาษณ์เอเอฟพีว่า เมื่อมีการร้องเรียนทางกฎหมายมาถึง เราจะดำเนินการอย่างจริงใจหลังให้ความสนใจในรายละเอียดของข้อเรียกร้องและค่าชดเชย

“เราขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งอีกครั้งที่สร้างปัญหาและความกังวลต่อผู้คนในสังคมวงกว้าง รวมถึงผู้อยู่อาศัยในจังหวัดฟูกูชิมะ เนื่องจากอุบัติเหตุดังกล่าว” โฆษก TEPCO กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ฟูกุชิมะผวาอีก! แผ่นดินไหว 7.3 แม็กนิจูด บาดเจ็บกว่าร้อยคน-ไฟดับเกือบล้านหลัง (คลิป)

เทปโกเผย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ “ฟูกูชิมะ-1” เครื่องกรองเสียหายเกือบทั้งหมด

ภัยพิบัติฟุกุชิมะ : เกิดอะไรขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน