สุดตะลึง! นักวิทยาศาสตร์เผยภาพสแกนหายาก จระเข้ยักษ์อายุ 93 ล้านปี พบซากลูกไดโนเสาร์ในท้อง เชื่อถูกฝังและเสียชีวิตอย่างกะทันหัน หลังจากเกิดอุทกภัย

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าซากฟอสซิลจระเข้อายุ 93 ล้านปีในก้อนหินขนาดใหญ่ ณ เซ็นทรัลควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเก็บรักษาไว้ 35% ประกอบด้วยกะโหลกที่ใกล้จะสมบูรณ์และฟันที่น่ากลัว หลังจากตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมโดยใช้เทคนิกนิวเคลียร์ในการสแกนส่วนที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ของกระเพาะอาหารก็ต้องตกตะลึง เนื่องจากจระเข้ดังกล่าวได้กินลูกไดโนเสาร์ตัวหนึ่งก่อนที่มันจะตายได้ไม่นาน

จระเข้ถูกขนานนามว่า Confractosuchus sauroktonos ซึ่งแปลว่า ‘นักฆ่าไดโนเสาร์จระเข้ที่แตก’ และวัดความยาวได้ประมาณ 2 – 2.5 เมตร ส่วนคำว่า ‘แตก’ ของชื่อหมายถึง ความจริงที่ว่ามันถูกค้นพบในก้อนหินขนาดใหญ่ที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จระเข้จะถูกฝังและเสียชีวิตอย่างกะทันหัน หลังจากเกิดอุทกภัย

ภาพจากANSTO/University of New England

ทีมวิจัยและนักโบราณคดีจากพิพิธภัณฑ์ยุคไดโนเสาร์แห่งออสเตรเลียและมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ ได้ใช้การถ่ายภาพนิวเคลียร์และซินโครตรอนขั้นสูงเพื่อยืนยันว่าจระเข้ได้กินลูกไดโนเสาร์ที่อายุน้อยกว่าก่อนที่มันจะตาย โดยตีพิมพ์ผลการวิจัยในวารสาร Godwana Research

ดร.โจเซฟ เบวิตต์ นักวิทยาศาสตร์เครื่องมืออาวุโส ผู้ร่วมวิจัยกล่าวว่า “ซากฟอสซิลถูกพบในก้อนหินขนาดใหญ่ มวลสารมักเกิดขึ้นจากอินทรีย์วัตถุ โดยสันนิษฐานว่าจระเข้จมลงสู่ก้นแม่น้ำ เนื่องจากสภาพแวดล้อมอุดมไปด้วยแร่ธาตุ ในการสแกนครั้งแรกในปี 2015 ผมเห็นกระดูกฝังอยู่ในนั้น ซึ่งดูเหมือนกระดูกไก่ที่มีขอเกี่ยวและคิดทันทีว่าเป็นไดโนเสาร์”

ภาพจากANSTO News

ตามการแถลงข่าวจากองค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งออสเตรเลีย (ANSTO) การสแกนภาพนิวตรอนในช่วงต้นของชิ้นส่วนหินหนึ่งชิ้นจากก้อนหินตรวจพบกระดูกของไดโนเสาร์ตัวเล็กขนาดเท่าไก่ในลำไส้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการระบุสายพันธุ์อย่างเป็นทางการ แต่มีการสันนิษฐานว่าเป็นออร์นิโทพอด (Ornithopod)

การค้นพบนี้นำไปสู่การสแกนความละเอียดสูงเพิ่มเติมโดยใช้ Dingo ซึ่งเป็นเครื่องมือสร้างภาพนิวตรอนเพียงเครื่องเดียวของออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เพื่อสร้างภาพ 2D และ 3D ของวัตถุที่เป็นของแข็งและเผยให้เห็นคุณสมบัติที่ซ่อนอยู่ภายในนั้น ตลอดจนเครื่องเอ็กซ์เรย์ซิงโครตรอนและ Medical Beamline

ดร.โจเซฟกล่าวว่า “การสแกนแบบดิจิตอล 3 มิติจาก Imaging and Medical Beamline เป็นแนวทางในการเตรียมร่างกายของจระเข้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ หากไม่ทราบแน่ชัดว่ากระดูกอยู่ที่ไหน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นยอดเยี่ยมมากในการให้ภาพจระเข้ทั้งหมดและอาหารมื้อสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในท้องคือ ลูกไดโนเสาร์ที่ถูกย่อยบางส่วน เพื่อยืนยันว่าไดโนเสาร์อยู่ในลำไส้ของจระเข้จริง ๆ ทีมงานได้สำรวจอุโมงค์หนอน รากพืช และลักษณะทางธรณีวิทยาที่ขยายระหว่างเศษหิน ดังนั้น เราจึงมีเคมีของหินเป็นหลักฐาน”

ขอบคุณที่มาจาก Mirror Ladbible

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน