ชาวอินเดียหลายล้านคน ต้องรับมือ คลื่นความร้อน รุนแรง

วันที่ 28 เม.ย. บีบีซี รายงานว่า ชาวอินเดียหลายล้านคนกำลังประสบ คลื่นความร้อน รุนแรงซึ่งทำให้ชีวิตและการดำรงชีวิตผิดแผกไปและไร้การบรรเทา

นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมที กล่าวเมื่อวันพุธที่ 27 เม.ย. ว่า “อุณหภูมิในประเทศสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศ และเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปกติมาก”

กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียพยากรณ์ว่าอุณหภูมิจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น 2-5 องศาเซลเซียส ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของทางตะวันตกเฉียงเหนือและตอนกลางของอินเดียในสัปดาห์นี้ โดยไร้การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังจากนั้น

ขณะที่คลื่นความร้อนเกิดขึ้นปกติในอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเดือนม.ค.และมิ.ย. ฤดูร้อนเริ่มช่วงต้นปีนี้ด้วยอุณหภูมิสูงตั้งแต่เดือนมี.ค.เอง อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในเดือนมี.ค.สูงสุดในรอบ 122 ปี คลื่นความร้อนยังเริ่มเข้ามาในช่วงเดือนมี.ค.

ศูนย์วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คลังสมองอินเดีย ระบุว่า คลื่นความร้อนช่วงต้นปีนี้ส่งผลกระทบต่อ 15 รัฐของอินเดีย รวมถึงรัฐหิมาจัลประเทศ ทางเหนือ ซึ่งขึ้นชื่ออุณหภูมิกำลงดี

สัปดาห์นี้คาดว่า อุณหภูมิในกรุงนิวเดลี เมืองหลวง จะทะลุ 44 องศาเซลเซียส

คลื่นความร้อน

AFP

นเรศ กุมาร นักวิทยาศาสตร์ระดับสูง ที่กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย ระบุว่า คลื่นความร้อนในปัจจุบันมาจากปัจจัยบรรยากาศในท้องถิ่น ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งคือพายุที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งหมายถึงฝนก่อนมรสุมเล็กน้อยในภาคตะวันตกเฉียงเหนือและตอนกลางของอินเดีย

แอนติไซโคลน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูงในบริเวณที่อากาศจม นำไปสู่สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งในหลายพื้นที่ทางตะวันตกของอินเดียในเดือนมี.ค.

ผลกระทบดังกล่าวสามารถมองเห็นได้ เกษตรกรกล่าวว่าอุณหภูมิที่พุ่งสูงขึ้นอย่างไม่คาดคิดส่งผลกระทบต่อการเก็บเกี่ยวข้าวสาลี การพัฒนาที่อาจส่งผลกระทบทั่วโลกเนื่องจากการหยุดชะงักของอุปทานอันเนื่องมาจากสงครามยูเครน

ความร้อนยังก่อเกิดความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ไฟฟ้าดับในหลายรัฐและกลัวว่าจะเกิดปัญหาการขาดแคลนถ่านหิน

นายโมทียังระบุความเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้เพิ่มขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น

ฤดูร้อนมักสร้างความเหนื่อยล้ามาตลอดในหลายพื้นที่ของอินเดีย โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคกลาง และก่อนเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำน้ำเย็นจะเริ่มขายได้เป็นหลายล้านคน คนคิดค้นวิธีจัดการกับความร้อนของตัวเอง ตั้งแต่การทำให้น้ำเย็นในเหยือกดิน ถึงการทามะม่วงดิบบนร่างกายเพื่อปัดเป่าโรคลมแดด

แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนระบุว่า อินเดียกำลังทุบสถิติคลื่นความร้อนเข้มข้นและถี่ขึ้นซึ่งมีระยะเวลานานขึ้นด้วย

ร็อกซี แมธิว คอลล์ นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศที่สถาบันอุตุนิยมวิทยาเขตร้อนแห่งอินเดีย เห็นด้วยว่า ปัจจัยบรรยากาศหลายประการนำไปสู่คลื่นความร้อนในปัจจุบัน แต่สิ่งที่เพิ่มเติมเข้าไปคือภาวะโลกร้อน

“นั่นเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นของคลื่นความร้อน” คอลล์กล่าวและเสริม จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของสภาพอากาศที่รุนแรงน้อยกว่า

คลื่นความร้อน

AFP

ดี ศิวะนันทา ไพ ผู้อำนวยการสถาบันการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศศึกษา ชี้ถึงความท้าทายอื่นๆ ด้วย นอกจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เช่น การเพิ่มขึ้นของประชากร และความเค้นที่เกิดขึ้นกับทรัพยากร ในทางกลับกัน สิ่งนี้นำไปสู่ปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์แย่ลง เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและการใช้การขนส่งที่เพิ่มขึ้น และสภาพอากาศสุดขั้วดังกล่าวตกเป็นภาระของคนจนอย่างไม่เป็นสัดส่วนด้วย

“คนจนมีทรัพยากรน้อยลงในการช่วยทำให้ร่ายกายเย็นลง และมีทางเลือกน้อยลงที่จะอยู่ข้างในร่มและห่างไกลจากความร้อน” ดร.จันทณี สิงห์ นักวิจัยอาวุโส ที่สถาบันอินเดียเพื่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และผู้นำการเขียนวิจัย ที่คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)

แม้จะมีการสนใจกับการตายมากขึ้นเนื่องจากคลื่นความร้อน แต่ดร.สิงห์กล่าวว่า ผู้กำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญว่า สภาพอากาศที่รุนแรงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างไร คลื่นความร้อนสามารถส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพได้ หากอุณหภูมิสูงแม้ในเวลากลางคืน ร่างกายจะไม่มีโอกาสได้พักฟื้น เพิ่มโอกาสเจ็บป่วยและค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น

“วิสัยทัศน์ระยะยาวเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนสำหรับอนาคต สถานที่ในอินเดียบางแห่งที่อุณหภูมิอาจไม่สูงนัก แต่เมื่อรวมกับความชื้นสูง ชีวิตอาจเป็นเรื่องยากมาก” นายคอลล์กล่าว โดยอ้างถึงความจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงอุณหภูมิกระเปาะเปียก ซึ่งเป็นมาตรวัดทางวิทยาศาสตร์ เมื่อความร้อนและความชื้นรวมกัน

คลื่นความร้อน

AFP

นายคอลล์ยังเน้นที่การให้ความสนใจกับพื้นที่ที่ห่างไกล เด็กหลายคนในพื้นที่ชนบทเข้าโรงเรียนในเพิงที่มีหลังคาสังกะสี ซึ่งทนไม่ได้กับความร้อน

ตั้งแต่ปี 2558 ทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลของรัฐต่างๆ ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อบรรเทาผลกระทบจากคลื่นความร้อน เช่น การห้ามการทำงานนอกบ้านในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุด และการออกคำแนะนำที่ทันท่วงที

แต่ดร.สิงห์กล่าวว่า มาตรการเหล่านี้จะสามารถได้ผลได้อย่างสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม เช่น การยกเครื่องกฎหมายแรงงานและเมืองสีเขียว

“อาคารของเราสร้างขึ้นในลักษณะดักจับความร้อนแทนการระบายอากาศ มีนวัตกรรมมากมายในระดับสากลที่เราสามารถเรียนรู้ได้ เรากำลังทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถึงเวลาที่ต้องปรับปรุง เพราะเราต้องอยู่กับความร้อนแรง” ดร.สิงห์กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ซ้ำเติมต่อจากโควิด คลื่นความร้อนแผ่อินเดีย ปรอทแตก 50 องศาเซลเซียส

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน