ฟอสซิลแมลงชีปะขาว 180 ล้านปี! เผยพฤติกรรม “รวมฝูงผสมพันธุ์” เก่าสุดในโลก

ฟอสซิลแมลงชีปะขาว 180 ล้านปี!ซินหัว รายงานว่าคณะนักวิทยาศาสตร์จีนเปิดเผยการค้นพบฟอสซิล แมลงชีปะขาว อายุ 180 ล้านปี แสดงพฤติกรรม รวมฝูงผสมพันธุ์ (mating-swarm) ซึ่งถือเป็นหลักฐานของพฤติกรรมดังกล่าวในแมลงที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ

คณะนักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน และสถาบันการสำรวจทางธรณีวิทยากว่างซี ระบุในวารสารจีโอโลจีและวารสารฮิสตอริคัล ไบโอโลจี ว่าค้นพบฟอสซิลชั้นใหม่ซึ่งกักเก็บซากแมลงชีปะขาว จำนวน 381 ตัว ในเมืองเฮ่อโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน

ฟอสซิลแมลงชีปะขาว 180 ล้านปี!

Chinese scientists said on Wednesday that they have discovered a new layer of mayfly fossils dating back 180 million years that shows the precious scene of mating-swarm behavior, the earliest known evidence of such behavior in insects. (Xinhua)

นายหวัง โป๋ นักวิจัยจากสถาบัน กล่าวว่าก่อนหน้านี้พบพฤติกรรมรวมฝูงผสมพันธุ์เฉพาะในแมลงชีปะขาวมงกุฎเท่านั้น แต่การค้นพบฟอสซิลข้างต้นเผยให้เห็นว่าพฤติกรรมอันซับซ้อนดังกล่าวปรากฏมานานแล้วในแมลงชีปะขาวดึกดำบรรพ์ ตั้งแต่ยุคจูแรสซิกตอนต้น

นายหวังกล่าวว่า แมลงชีปะขาวยุคปัจจุบันใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตเป็นตัวอ่อนในสภาพแวดล้อมแหล่งน้ำ โดยแมลงชีปะขาวโตเต็มวัยส่วนใหญ่จะมีชีวิตสั้นเพียง 1-2 ชั่วโมงจนถึงไม่กี่วัน ซึ่งช่วงโตเต็มวัยนี้แมลงชีปะขาวตัวผู้จะบินเป็นฝูงใหญ่เพื่อให้ตัวเมียบินมาหาคู่ผสมพันธ์ุ ก่อนตัวเมียจะหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อวางไข่ต่อไป

เผยพฤติกรรม “รวมฝูงผสมพันธุ์” เก่าสุดในโลก

Researchers from the Nanjing Institute of Geology and Palaeontology, Chinese Academy of Sciences (NIGPAS), and the Guangxi Institute of Geological Survey found the new layer, which contains 381 individual mayflies, in the city of Hezhou, south China’s Guangxi Zhuang Autonomous Region. (Xinhua)

ฟอสซิลแมลงชีปะขาว 180 ล้านปี!

Three pieces of fossil surface with mayfly swarms from the Shiti Formation in southern China. All are the same scale and orientation. Credit: NIGPAS








Advertisement
เผยพฤติกรรม “รวมฝูงผสมพันธุ์” เก่าสุดในโลก

Sedimentology (A–D) and taphonomy (E–L) of the fossil-bearing layer from the Shiti Formation in southern China. Credit: NIGPAS

ฟอสซิลแมลงชีปะขาว 180 ล้านปี!

econstruction of the Early Jurassic ecosystem of the Xiwan Basin. Credit: YANG Dinghua

เผยพฤติกรรม “รวมฝูงผสมพันธุ์” เก่าสุดในโลก

A mayfly – “Mating-swarm behavior was previously known only in crown mayflies. However, our finding reveals that such complex behaviors were already well established in stem-group mayflies by the Early Jurassic,” said Wang Bo, a researcher with the NIGPAS. “This finding represents the earliest evidence of mating-swarm behavior in insects,” said Wang. CFP

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน