การศึกษาชี้ มลพิษ ในเมืองหลวงอินเดีย ทำให้คนมีอายุสั้นเกือบ 10 ปี

วันที่ 14 มิ.ย. บีบีซี รายงานว่า การศึกษาโดยดัชนีชีวิตคุณภาพอากาศ (Air Quality Life Index) โดยสถาบันวิจัยนโยบายพลังงาน ที่มหาวิทยาลัยชิคาโลก สหรัฐอเมริกา (EPIC) ระบุว่า มลพิษ สามารถทำให้ชีวิตสั้นลงเกือบ 10 ปี ในกรุงเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก และเสริมว่า อายุคาดเฉลี่ยของชาวอินเดียทั้งประเทศจะสั้นลง 5 ปีที่ระดับคุณภาพอากาศในปัจจุบัน

มลพิษ

FILE- REUTERS

รายงานระบุว่า ประชากร 1,300 ล้านคนของอินเดียอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ระดับมลพิษอนุภาคเฉลี่ยต่อปีเกินขีดจำกัดความปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ 5µg/m³ (5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และอากาศไม่ดีคร่าชีวิตนับล้านในอินเดียทุกปี

อากาศที่เต็มไปด้วยหมอกควัน มักจะปกคลุมเมืองต่างๆ ของอินเดียในช่วงฤดูหนาว มีฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายอย่าง PM2.5 ซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่สามารถอุดตันปอดและทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้

 

ผลการศึกษาระบุว่า ประชาชนราว 510 ล้านคนที่อาศัยอยู่ทางเหนือของอินเดีย — เกือบ 40% ของประชากรอินเดีย — จะมีแนวโน้มที่อายุเฉลี่ยลดลง 7.6 ปี ด้วยระดับมลพิษปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม การลดระดับมลพิษลงเหลือเท่ามาตรฐาน WHO จะหมายความว่า ประชาชนราว 240 ล้านคนในรัฐอุตตรประเทศ ทางเหนือของอินเดีย จะมีอายุคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10 ปี

EPIC ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2556 ประชากรโลกราว 44% มาจากอินเดีย ประเทศที่มีมลพิษมากที่สุดเป็นอันดับที่สองของโลกตอนนี้

มลพิษ

AFP

รายงานระบุว่า มากกว่า 63% ของชาวอินเดียอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เกินมาตรฐานคุณภาพอากาศของประเทศ ซึ่งระบุว่า 40µg/m³ (40 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ปลอดภัย แต่ในปี 2562 ความเข้มข้นของฝุ่นละอองเฉลี่ยของอินเดียอยู่ที่ 70.3µg/m³ (70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) สูงสุดในโลก

ไมเคิล กรีนสโตน หนึ่งในผู้เขียนการศึกษา ระบุว่า “นี่จะเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินระดับโลก หากดาวอังคารเข้ามาโลกและพ่นสารที่ทำให้คนทั่วไปบนโลกจะมีอายุคาดเฉลี่ยลดลงมากกว่า 2 ปี สิ่งนี้คล้ายกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายส่วนของโลก ยกเว้นว่าเราเป็นผู้ฉีดพ่นสารดังกล่าว ไม่ใช่ผู้รุกรานจากอวกาศ

EPIC ระบุว่า มลพิษที่เป็นอนุภาคเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อชีวิตมนุษย์ในอินเดียในแง่อายุคาดเฉลี่ย และตั้งแต่ปี 2541 มลพิษที่เป็นอนุภาคนี้เพิ่มขึ้น 61.4% เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตมากกว่าการสูบบุหรี่ซึ่งลดอายุคาดเฉลี่ยราว 2.5 ปี

 

รายงานระบุว่า การเพิ่มขึ้นในมลพิษทางอากาศตลอด 20 ปีที่ผ่านมาในอินเดียมีสาเหตุหลักมาจากอุตสาหกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจ และการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จำนวนยานพาหนะบนถนนของประเทศเพิ่มขึ้นประมาณสี่เท่า

รายงานทราบความพยายามของรัฐบาลในการต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ – โครงการอากาศสะอาดแห่งชาติ (National Clean Air – NCAP) มีเป้าหมายเพื่อลดฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายลง 20 ถึง 30%

“หากอินเดียต้องรักษาการลดลงนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาด้านสุขภาพที่น่าทึ่ง” และเสริมว่า การลดมลพิษลง 25% จะทำให้อายุคาดเฉลี่ยของประเทศเพิ่มขึ้น 1.4 ปี และเพิ่มขึ้น 2.6 ปีสำหรับผู้อยู่อาศัยในกรุงเดลี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
การศึกษาชี้ มลพิษ คร่าชาวอินเดีย 2.3 ล้านคน ในปี 2562

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน