พบอีกกรุสมบัติ “ซานซิงตุย” ขุดจากหลุมบูชายัญ รวมแล้วเกือบ 13,000 ชิ้น!

พบอีกกรุสมบัติ “ซานซิงตุย”ซินหัว รายงานว่าคณะนักโบราณคดีจีนค้นพบกรุเครื่องสัมฤทธิ์ เครื่องทอง และเครื่องหยกสุดวิจิตรงดงาม รวมถึงเครื่องสัมฤทธิ์อย่างน้อย 10 รายการที่ขุดพบครั้งแรกในประวัติศาสตร์อารยธรรมมนุษย์ที่ ซากโบราณซานซิงตุย อันโด่งดัง ในมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

ทีมนักโบราณคดีจากสถาบันวิจัยโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีเสฉวน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยซื่อชวน รวมถึงสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยอื่นๆ ดำเนินการขุดค้นหลุมบูชายัญ 6 หลุม บริเวณโบราณสถานดังกล่าวตั้งแต่ปี 2563

ขุดจากหลุมบูชายัญ รวมแล้วเกือบ 13,000 ชิ้น!

This is a copper mask taken at the “Sacrificial Pit” at No. 8 Sanxingdui Site (photo taken on June 1). Photo by Xinhua News Agency reporter Wang Xi. (Xinhua)

สถาบันวิจัยโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีเสฉวนระบุว่า โบราณวัตถุที่พบใหม่ส่วนใหญ่ขุดขึ้นมาจากหลุมบูชายัญ หมายเลข 7 และหมายเลข 8 ทำให้จำนวนวัตถุที่ค้นพบในหลุมบูชายัญหกหลุมของซากโบราณซานซิงตุย รวมอยู่ที่เกือบ 13,000 รายการแล้ว

จุดเด่นของการค้นพบครั้งนี้อยู่ที่กล่องสัมฤทธิ์บรรจุเครื่องหยกสีเขียวจากหลุมหมายเลข 7 โดยด้านบนและด้านล่างกล่องหุ้มด้วยฝาปิดลายตาข่ายรูปทรงเต่า ด้านข้างประดับด้วยที่พับสัมฤทธิ์ ส่วนหูจับมีรูปร่างคล้ายหัวมังกร และมาพร้อมแถบริ้วสัมฤทธิ์ 2-3 เส้น ซึ่งผลวิเคราะห์วัสดุและอนุภาคขนาดเล็กบ่งชี้ว่าตัวกล่องเคยถูกห่อด้วยผ้าไหม

“หากบอกว่าภาชนะชิ้นนี้ล้ำค่ามากคงไม่เกินจริงนัก เนื่องจากมีรูปร่างโดดเด่น ถูกสร้างสรรค์อย่างประณีต และออกแบบขึ้นอย่างแยบยล แม้เราจะไม่รู้ว่าตัวกล่องใช้ทำอะไร แต่ก็สรุปได้ว่าคนโบราณให้คุณค่ามันมาก” นายหลี่ ไห่เชา ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเสฉวน หัวหน้าการขุดค้นหลุมหมายเลข 7 กล่าว

ขุดจากหลุมบูชายัญ รวมแล้วเกือบ 13,000 ชิ้น!

This is the head portrait of the bronze figure taken at the “Sacrificial Pit” at No. 8 Sanxingdui Ruins (taken on May 31). (Xinhua)

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบเครื่องหยกและเครื่องประดับสัมฤทธิ์ รูปแกะสลัก และระฆังในหลุมหมายเลข 7 ด้วย สำหรับหลุมหมายเลข 8 ที่อยู่ติดกัน เหล่านักโบราณคดีค้นพบสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อาทิ หัวสัมฤทธิ์กับหน้ากากทองคำ รูปปั้นสัมฤทธิ์ที่มีหัวมนุษย์และลำตัวเป็นงู ที่บูชาสัมฤทธิ์ สัตว์ในตำนานขนาดใหญ่ที่ทำจากสัมฤทธิ์ และวัตถุสัมฤทธิ์รูปทรงมังกรที่มีจมูกเป็นหมู

นายจ้าว ฮ่าว รองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง หัวหน้าการขุดค้นหลุมหมายเลข 8 กล่าวว่าประติมากรรมเหล่านี้สลับซับซ้อนและสร้างสรรค์มาก มันร้อยเรียงเรื่องราวโลกแห่งเทพนิยายที่จินตนาการโดยคนโบราณ และสะท้อนความหลากหลายและความสมบูรณ์ของอารยธรรมจีน

คณะนักโบราณคดียังพบเศษเถ้า ฐานสถาปัตยกรรม หลุมบูชายัญขนาดเล็ก และสารพัดโบราณวัตถุทางวัฒนธรรม รวมถึงไผ่ พืชจำพวกกก ถั่วเหลือง ซากวัวควายและหมูป่าที่อาจนำมาบูชายัญรอบบรรดาหลุมบูชาด้วย

ทั้งนี้ ซากโบราณซานซิงตุย ซึ่งถูกเรียกขานว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดการค้นพบทางโบราณคดีอันยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกแห่งศตวรรษที่ 20 ถูกค้นพบช่วงปลายทศวรรษ 1920 ตั้งอยู่บนพื้นที่ 12 ตารางกิโลเมตร ในเมืองกว่างฮั่น ห่างจากนครเฉิงตูราว 60 กิโลเมตร คาดว่าซากโบราณนี้ตกทอดมาจากอาณาจักรสู่เก่าแก่ราว 3,000-4,500 ปี

พบอีกกรุสมบัติ “ซานซิงตุย”

The Sichuan Provincial Institute of Cultural Relics and Archaeology announced the latest archaeological results of the Sanxingdui site in Guanghan City, Sichuan. A total of nearly 13,000 numbered cultural relics have been unearthed from the six “sacrificial pits”. (Xinhua)

พบอีกกรุสมบัติ “ซานซิงตุย”

(Xinhua)

พบอีกกรุสมบัติ “ซานซิงตุย”

(Xinhua)

ขุดจากหลุมบูชายัญ รวมแล้วเกือบ 13,000 ชิ้น!

(Xinhua)

ขุดจากหลุมบูชายัญ รวมแล้วเกือบ 13,000 ชิ้น!

(Xinhua)

ขุดจากหลุมบูชายัญ รวมแล้วเกือบ 13,000 ชิ้น!

This is a bronze head with a gold mask taken at the “Sacrificial Pit” No. 8 of the Sanxingdui Site (photo taken on June 1). (Xinhua)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน