ทนายอินเดีย ชนะคดีตั๋วรถไฟเกินราคา พนักงานเก็บเพิ่ม 10 บาท เมื่อ 22 ปีก่อน

วันที่ 11 ส.ค. บีบีซี รายงานว่า นายตุงคนาถ จตุรเวท ทนายอินเดีย ชนะคดีตั๋วรถไฟเกินราคาเมื่อเกือบ 22 ปีที่แล้ว หลังถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มอีก 20 รูปี (เกือบ 10 บาท) สำหรับตั๋วรถไฟ 2 ใบ ที่นายจตุรเวทซื้อที่สถานีรถไฟฐานทัพในเมืองมถุรา รัฐอุตตรประเทศ ทางเหนือของประเทศ เมื่อปี 2542

ทนายอินเดีย

นายตุงคนาถ จตุรเวท / BBC

ศาลแผนกคดีผู้บริโภคเมื่อสัปดาห์ที่แล้วพิพากษาเห็นชอบกับนายจตุรเวท และขอให้การรถไฟคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย

“ผมเข้าร่วมการพิจารณาคดีมากกว่า 100 ครั้งในคดีนี้ แต่คุณไม่สามารถเสียแรงและเวลาที่ผมแพ้การต่อสู้คดีนี้ได้” นายจตุรเวทวัย 66 ปี บอกบีบีซี

 

นายจตุรเวทอาศัยอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ในเวลานั้น เดินทางจากเมืองมถุราไปเมืองโมราดาบัด เมื่อพนักงานจองตั๋วเรียกเก็บเงินเกินราคาสำหรับตั๋วสองใบที่นายจตุรเวทซื้อ จึงแจ้งพนักงานคิดเงินเกินราคา แต่นายจตุรเวทไม่ได้รับเงินคืน

ตั๋วรถไฟมีราคาใบละ 35 รูปี (ราว 15 บาท) แต่เมื่อนายจตุรเวทจ่ายเงิน 100 รูปี (ราว 45 บาท) พนักงานตั๋วกลับทอนเงินเพียง 10 รูปี (ราว 5 บาท) โดยเรียกเก็บ 90 รูปี (ราว 40 บาท) ไม่ใช่ 70 รูปี (ราว 30 บาท)

ดังนั้น นายจตุรเวทตัดสินใจยื่นฟ้องดำเนินคดีกับการรถไฟภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (โครัขปุระ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรถไฟอินเดีย และพนักงานจองตั๋วรถไฟในศาลแผนกคดีผู้บริโภคในเมืองมถุรา แต่ใช้เวลาหลายปีเพราะกระบวนการตุลาการในอินเดียดำเนินไปอย่างเชื่องช้า

“การรถไฟยังพยายามยกเลิกคดีนี้ โดยกล่าวว่าการร้องเรียนการรถไฟควรถูกส่งไปศาลแผนกคดีรถไฟ ไม่ใช่ศาลแผนกคดีผู้บริโภค แต่ผมใช้คำพิพากษาของศาลสูงสุดปี 2564 เพื่อพิสูจน์ว่าประเด็นดังกล่าวสามารถได้รับการพิจารณาในศาลแผนกคดีผู้บริโภคได้” นายจตุรเวทระบุ

ทนายอินเดีย

หลังการต่อสู้ที่ยาวนาน คำพิพากษาสั่งให้การรถไฟจ่ายค่าปรับ 15,000 รูปี (บาท) ศาลยังสั่งให้การรถไฟคืนเงิน 20 รูปี ดอกเบี้ยร้อยละ 12 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2542-2565 ศาลยังสั่งว่า หากไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนด 30 วัน อัตราดอกเบี้ยจะถูกปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 15

นายจตุรเวทกล่าวว่า ค่าชดเชยที่เขาได้รับนั้นน้อยนิดและไม่ได้ชดเชยความปวดร้าวทางจิตใจที่เกิดขึ้นจากคดีนี้ นอกจากนี้ ครอบครัวห้ามปรามหลายครั้งในการไล่ตามคดี โดยบอกเป็นการเสียเวลา แต่นายจตุรเวทเดินหน้าต่อไป

 

“เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญ นี่เป็นการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและการต่อต้านทุจริตเสมอ จึงเป็นความคุ้มค่า นอกจากนี้ เนื่องจากผมเป็นทนายความเอง ผมไม่ต้องจ่ายค่าทนายความหรือแบกรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศาล ซึ่งอาจแพงมาก” นายจตุรเวทกล่าว

นายจตุรเวทยังเชื่อว่า ไม่ว่าตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคคลจะเป็นอย่างไร ไม่สามารถหนีจากการกระทำความผิดได้ หากคนพร้อมที่จะตั้งคำถาม และเชื่อด้วยว่า คดีของเขาจะเป็นแรงบันดาลใจแก่คนอื่นๆ ที่ไม่ต้องการยอมแพ้แม้ว่าการต่อสู้จะดูยากเย็น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
รถไฟอินเดีย แล่นทับตายหมู่ 16 แรงงาน เผลอหลับบนรางระหว่างเดินกลับบ้าน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน